ตำนานของ “ช้างเอราวัณ” สัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
รู้ไว้ใช่ว่า ตำนานของ “ช้างเอราวัณ” สัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
แต่อยากจะชวนคุยกันเล่น ๆ เกี่ยวกับตราสัญลักษณ์ของกรูงเทพมหานครอย่าง “ช้างเอราวัณ” กันแบบเล่น ๆ เพลิน ๆ ดีกว่า
ช้างเอราวัณ (Erawan) หรือชื่ออื่น ๆ เช่น ไอราวต ไอราวณ ไอราวัต ไอราวัณ เป็นช้างพาหนะของพระอินทร์ ซึ่งมีตำนานเกี่ยวกับกำเนิดของช้างเอราวัณนั้นมีหลายทาง บางแห่งว่า ช้างเอราวัณเกิดจากการกวนเกษียรสมุทร พระอิศวรได้ประทานช้างเอราวัณให้กับพระอินทร์ใช้เป็นช้างทรง แต่บางแห่งก็เล่าว่า ช้างเอราวัณนั้นเป็นเทพบุตรองค์หนึ่งในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อพระอินทร์จะเสด็จไปที่ใด เทพบุตรองค์นี้จะจำแลงกายเป็นช้างเผือก บางครั้งจึงเรียกว่า “เอราวัณเทพบุตร” แต่บางแห่งก็ว่า ช้างเอราวัณแต่เดิมเป็นช้างคู่ใจของมฑมานพ เมื่อมฆมานพมาเกิดบนสวรรค์เป็นพระอินทร์ ช้างเชือกนั้นจึงได้ตามขึ้นมาเป็นช้างทรงของพระอินทร์
ตามตำนานระบุว่า ช้างเอราวัณเป็นช้างเผือกยักษ์ มีความสูง 1,200,000 วา (ประมาณ 2400 กิโลเมตร ทะลุชั้นบรรยากาศโลกไปเล) มี 33 เคียร (แต่งานศิลปะไทยมักจะทำเพียง 3 เศียรเพื่อความสะดวก) แต่ละเศียรมีงา 7 งา งาแต่ละข้างยาว 4 ล้านวา บนงาแต่ละงามีสระบัว 7 สระ แต่ละสระมีดอกบัว 7 ดอก แต่ละดอกมีกลีบ 7 กลีบ 7 เกสร แต่ละเกสรมีปราสาทอยู่ 7 หลัง ปราสาทแต่ละหลังมี 7 ชั้น แต่ละขั้นมี 7 หอง แต่ละห้องมี 7 บัลลังก์ บัลลังก์แต่ละบัลลังก์มีเทพธิดาสถิต 7 องค์ เทพธิดาแต่ละองค์มีบริวาร 7 นาง บริวารแต่ละนางมีทาสี 7 ทาสี อ่านแล้วงงดีไหมเพราะมันหลายเจ็ดเหลือเกิน สรุปให้แล้วกันว่า บนช้างเอราวัณมีเทพธิดาทั้งหมด 33 x 7^8 = 190,248,432 นาง (ประมาณ 3 เท่าของประชากรประเทศไทย) และรวมเทพธิดา บริวารและทาสีแล้วก็จะเป็น 13,331,669,031นาง หรือเกือบ 2 เท่าของประชากรทั้งโลก!!!!
ช้างเอราวัณเป็นช้างทรงของพระอินทร์ ในยามสงบ พระอินทร์จะทรงช้างเอราวัณไปทั่วทั้งสวรรค์และโลกมนุษย์เพื่อดูแลทุกข์สุขของชาวโลก และในยามสงคราม พระอินทร์ก็จะทรงช้างเอราวัณออกศึกเพือกำราบเหล่าอสูร ช้างเอราวัณัยังมีความเกี่ยวข้องกับลมฟ้าอากาศ โดยบันดาลให้เกิดฝนตกต้องตามฤดูกาล และถือว่าเป็นเจ้าแห่งช้าง และถือเป็นสัญลักษณ์ของพระอินทร์
สำหรับตราสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึ่งนำมาจากแบบที่สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นต้นแบบ เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2516 ซึ่งที่มาของการใช้เลือกใช้ตรานี้น่าจะมาจากสร้อยนามของกรุงเทพฯ “รัตนโกสินทร์” ซึ่งหมายถึง “แก้วของพระอินทร์” และอาจจะสื่อถึงการที่พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณเพื่อสอดส่องดูแลทุกข์สุขของชาวโลก ซึ่งตรงกับหน้าที่ของกรุงเทพมหานครก็ได้
ป,ล. คำว่า “เอราวัณ” นี้ ท่าน ม.ร.ว..คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นที่มาของคำว่า Elephant ซึ่งหมายถึงช้างในภาษาอังกฤษด้วย
อ้างอิงจาก: เรื่อง https://www.pra9wat.com/ตำนาน-ความเชื่อ-เสริมดวง/เทพ-เทวดา-เทพเจ้า/ช้างเอราวัณ-ช้างเผือกสา/