สัตว์โลกน่ารัก “บีเวอร์” นักสร้างเขื่อนในธรรมชาติ!!
บีเวอร์ (Beaver) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodent) ปัจจุบันมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ บีเวอร์อเมริกาเหนือ (North Ameirca Beaver) ชื่อวิทยาศาสตร์ Castor canadensis พบในเขตอบอุ่นของทวีปอเมริกาเหนือ และบีเวอร์ยูเรเซีย (Eurasia Beaver) ชื่อวิทยาศาสตร์ Castor fiber พบได้ในยุโรปไปจนถึงรัสเซีย
บีเวอร์เป็นสัตว์ฟันแทะที่มีขนาดใหญ่เกือบที่สุด คือมีความยาวจากหัวถึงปลายลำตัวถึง 80-120 เซนติเมตร เมื่อยืนสี่ขาจะสูงประมาณ 30-60 เซนติเมตร หางใหญ่และยาวเพื่อช่วยในการว่ายน้ำ น้ำหนักตั้งแต่ 16-27 กิโลกรัม ขนมีสีน้ำตาลหรือเทา รูปร่างค่อนข้างกลม หัวใหญ่ ลำคอแข็งแรง ขาหน้าคล่องแคล่ว พวกมันสามารถวิ่งได้คล่องแคล่ว อาจจะถึง 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เท้าหลังยังผังพืด ช่วยใหมันว่ายน้ำได้ดี บีเวอร์ว่ายน้ำได้เร็วถึง 8 กิโลแมตรต่อชั่วโม รวมถึงยังสามารถดำน้ำได้ติดต่อกันถึง 15 นาทีโดยไม่ต้องโผล่ขึ้นเหนือ
บีเวอร์เป็นสัตว์กินพืช พวกมันกินพืชได้แทบทุกส่วนตั้งแต่กิ่ง เปลือก ผลและเมล็ด กรามของพวกมันแข็งแรงมากเพื่อช่วยให้สามารถบดเคี้ยวเนื้อไม้ได้ พวกมันมักจะนอนกลางวันและออกหากินในเวลากลางคืน บีเวอร์ไม่จำศีลในฤดูหนาว แต่จะใช้วิธีสะสมอาหารไว้ในตัวให้มากที่สุดก่อนถึงฤดูหนาว และจะพยายามอยู่นิ่ง ๆ เพื่อลดการใช้พลังงานลง
บีเวอร์ได้ชื่อว่าเป็น “นักสร้าง” พวกมันจะขุดโพรงใต้ต้นไม้ใกล้แหล่งน้ำเป็นที่อยู่อาศัย และจะ “สร้างเขื่อน” โดยใช้ฟันของมันแทะต้นไม้จนล้ม และใช้ขาหน้าช่วยในการเคลื่อนย้ายท่อนไม้ กิ่งไม้ใบหญ้า โคลน เพื่อสร้างเขื่อนเปลี่ยนทางน้ำให้ล้อมรอบโพรงที่อยู่ของมันเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์อื่นบุกรุกเข้ามาได้ง่าย ระดับน้ำภายในเขื่อนจะสูงประมาณ 60-90 เซนติเมตรขึ้นไปเพื่อที่ว่าในฤดูหนาว ระดับของชั้นน้ำที่จะกลายเป็นน้ำแข็งจะไม่ถึงระดับทางเข้าออกโพรงของพวกมันเสียเอง เขื่อนที่บิเวอร์สร้างมีตั้งแต่ขนาด 10 เมตร ไปจนถึงยาวที่สุดถึง 500 เมตร และมีความคงทนสามารถอยู่ได้หลายปี
บีเวอร์มักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 8-10 ตัว ซึ่งจะช่วยกันหาอาหาร สร้างและซ๋อมเขื่อน รวมถึงเลี้ยงลูกด้วยกัน บีเวอร์จะเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 1.5-3 ปี พวกมันมักจะจับคู่กับตัวเดิม โดยมักจะผสมพันธุ์กันในฤดูหนาว ตัวเมียใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 3 เดือน แต่ละครอกจะมีประมาณ 1-4 ตัว ลูกอ่อนบีเวอร์จะมีขนและลืมตาได้ตั้งแต่เกิด พวกมันจะอยู่กับพ่อแม่จนกระทั่งโตเต็มวัยพร้อมจะออกหากินได้เองแล้วจึงจะแยกตัวออกจากรังไปสร้างรังของตัวเองใกล้ ๆ กับรังเดิม บีเวอร์เป็นสัตว์ฟันแทะที่อายุยืน พวกมันอาจจะมีอายุขัยได้ถึง 10-20 ปี
ศัตรูตามธรรมชาติของบีเวอร์ได้แก่บรรดาสัตว์นักล่า เช่น โคโยตี สุนัขป่า หมี ฯลฯ และแน่ยิ่งกว่าแน่เสียอีกว่าศัตรูตัวร้ายสุดของพวกมันก็คือ “มนุษย์” ที่ล่าบีเวอร์ทั้งเพื่อเป็นอาหาร ไขมัน หรือขน รวมถึงการรุกล้ำถิ่นที่อยู่ ก็ทำให้ประชากรของบีเวอร์ลดลงจากในอดีตพอสมควร แม้ว่าพวกมันจะยังคงจัดอยู่ในประเภทสัตว์ที่มีความเสี่ยงต่ำในการสูญพันธุ์อยู่ก็ตาม
ลักษณะ
บีเวอร์เป็นสัตว์จำพวกฟันแทะชนิดหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือแม้ว่าจะมีเพียงสองสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกันในปัจจุบันก็ตามแต่บีเวอร์มีประวัติฟอสซิลที่ยาวนานมากในบริเวณซีกโลกเหนือซึ่งเริ่มต้นในสมัยอีโอซีนและมีสายพันธุ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วเช่น Trogontherium ในทวีปยุโรปและ Castoroides ในทวีปอเมริกาเหนือ
บีเวอร์นั้นมีความเกี่ยวข้องกับกระรอกเนื่องจากพวกมันมีโครงสร้างบางอย่างที่คล้ายกันเช่นกะโหลกศีรษะและกระดูกขากรรไกรล่าง พวกมันเป็นหนูที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองและยังมีความสัมพันธุ์ใกล้ชิดกับคาปิบาราที่เป็นหนูขนาดใหญ่ที่ในโลกซึ่งอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้
บีเวอร์มีรูปร่างคล้ายหนูขนาดใหญ่มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีน้ำตาลเข้มหางของมันมีสีดำหรือเทา พวกมันมีพังพืดที่เท้า พวกมันมีสายตาที่ไม่ค่อยดีแต่มีความรู้สึกกระตือรือร้นและมีการได้กลิ่นและการสัมผัสที่ดีเยี่ยม โดยปกติแล้วบีเวอร์นั้นจะเจริญเติบโตตลอดชีวิตของพวกมัน โดยพวกมันจะมีความสูงราว30 เซนติเมตรและยาวประมาณ 75 เซนติเมตรและบีเวอร์ตัวเต็มวัยจะมีน้ำหนักประมาณ 16 - 25 กิโลกรัม เพศเมียจะมีขนาดใหญ่หรือใหญ่กว่าเพศผู้ที่มีช่วงอายุเท่ากันซึ่งนั้นเป็นเรื่องปกติในหมู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม บีเวอร์นั้นมีอายุยืนยาวได้ถึง 24 ปี
หางของบีเวอร์มีลักษณะเป็นวงรีแบนเหมือนใบพายขนาดใหญ่และปกคลุมด้วยเกล็ดที่มีลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยมสีดำ ฟันของบีเวอร์จะเติบโตตลอดจึงทำให้พวกมันต้องมาลับฟันของมันกับต้นไม้ ฟันหน้าสี่ซี่ของบีเวอร์มีสีส้มและมีความคงทนต่อกรดมากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ขนของบีเวอร์นั้นจะมี2ชั้นโดยจะมีชั้นที่อ่อนนุ่มซึ่งจะช่วนกันน้ำและชั้นที่หยาบแข็งกระด้างซึ่งจะช่วนให้ความอบอุ่น
ชมคลิปวีดีโอเพิ่มเติม👇👇
อ้างอิงจาก: https://a-z-animals.com/animals/beaver/
และ https://www.nationalgeographic.com/animals/mammals/facts/beaver และ วิกิพีเดีย และ ยูทูป