หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

พบโครงกระดูกที่ขุดในถ้ำ Liang Tebo แสดงให้เห็นว่าการแพทย์ยุคหินล้ำสมัยเกินคาด ตัดขาได้ไม่ติดเชื้อ 31,000 ปีก่อน

โพสท์โดย Man

พบโครงกระดูกที่ขุดในถ้ำ Liang Teboแสดงให้เห็นว่าการแพทย์ยุคหินล้ำสมัยเกินคาด ตัดขาได้ไม่ติดเชื้อ 31,000 ปีก่อน

😁“มนุษย์เมื่อสามหมื่นปีก่อนทำเรื่องที่น่าเหลือเชื่อ ทั้งยังอาจจะมีระบบดูแลพยาบาลผู้ป่วยและผู้พิการในชุมชนที่ดี จนทำให้คนที่ขาขาดไปแล้วข้างหนึ่ง สามารถดำรงชีวิตในเขตป่าเขาที่สูงชันและรกทึบต่อไปได้”

🧝ทีมนักโบราณคดีชาวอินโดนีเซียและออสเตรเลีย ขุดพบโครงกระดูกของมนุษย์ยุคหินเก่าที่มีอายุกว่าสามหมื่นปีในถ้ำบนเกาะบอร์เนียว โดยโครงกระดูกนี้มีร่องรอยของการผ่าตัดทางการแพทย์ที่น่าทึ่งปรากฏอยู่

👉🏿โครงกระดูกมีร่องรอยการถูกตัดขาท่อนล่างด้านซ้ายออก

ผลวิเคราะห์โครงกระดูกที่ขุดพบในถ้ำ Liang Tebo เมื่อปี 2020 ในเขตจังหวัดกาลิมันตันตะวันออกของอินโดนีเซีย ชี้ว่าโครงกระดูกดังกล่าวเป็นร่างของชายหนุ่มหรือหญิงสาวอายุประมาณ 19-21 ปี โดยเขาหรือเธอมีร่องรอยการถูกตัดขาท่อนล่างด้านซ้ายออก

สิ่งที่น่าประหลาดใจก็คือ รอยตัดกระดูกขาในแนวเฉียงดูเรียบเสมอและประณีตอย่างยิ่ง ปราศจากร่องรอยการติดเชื้อซึ่งมักจะเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดในยุคโบราณ ทั้งยังมีการเติบโตของเซลล์กระดูกใหม่โดยรอบ ซึ่งชี้ว่าคนผู้นี้เคยถูกตัดขาด้วยแพทย์ยุคหินที่มีทักษะการผ่าตัดสูง เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยบางอย่างที่เกิดขึ้นในวัยเด็กหรือวัยรุ่นตอนต้น

🌀รายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature ระบุว่า ผลการตรวจสอบถ่านไม้ในชั้นดินที่ฝังร่างโครงกระดูกด้วยเทคนิคคาร์บอนกัมมันตรังสี รวมทั้งผลตรวจวัดการสลายตัวของไอโซโทปยูเรเนียมในฟัน และสารเคมีที่หลงเหลือในเคลือบฟัน ชี้ว่าคนผู้นี้เคยมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคหินเก่าเมื่อราว 31,000 ปีก่อน และการตัดขาของเขาหรือเธออาจเป็นการผ่าตัดรักษาทางการแพทย์ครั้งแรก ๆ ของโลกที่ประสบความสำเร็จ

🧙ศาสตราจารย์ แม็กซิเม ออแบรต์ หนึ่งในทีมผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยกริฟฟิธของออสเตรเลียบอกว่า การค้นพบในครั้งนี้พลิกโฉมความเข้าใจเกี่ยวกับการแพทย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์อย่างมาก

🦍“มนุษย์ยุคหินมีความรู้เรื่องกายวิภาคดีกว่าที่เราคิดกันไว้ การที่คนผู้นี้รอดชีวิตจากการถูกตัดขาในวัยเด็กมาได้และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แสดงว่าผู้ทำการผ่าตัดในยุคนั้นต้องมีเครื่องมือหินที่มีประสิทธิภาพ ทั้งต้องรู้จักวิธีห้ามเลือด รวมทั้งอาจจะใช้ยาสมุนไพรที่หาได้ในป่าฝนของเกาะบอร์เนียว เพื่อนำมาฆ่าเชื้อและระงับความเจ็บปวดได้ด้วย”

🌀ในอดีตนักวิทยาศาสตร์และนักโบราณคดีเชื่อกันว่า มนุษย์ยุคหินไม่สามารถจะรักษาโรคด้วยวิธีทางการแพทย์ที่ซับซ้อน เช่นการผ่าตัดหรือตัดแขนขาของผู้ป่วยออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่เกษตรกรรมและการตั้งหลักแหล่งถาวรยังไม่เกิดขึ้น

👉🏿ก่อนหน้านี้หลักฐานเก่าแก่ที่สุดของการตัดแขนขาด้วยเหตุผลทางการแพทย์ ได้แก่ร่องรอยการตัดแขนบริเวณข้อศอกลงมา ซึ่งปรากฏบนโครงกระดูกอายุ 7,000 ปี ของชายชราผู้หนึ่งที่ขุดพบในฝรั่งเศส

🧙ทีมนักโบราณคดีชาวอินโดนีเซียและออสเตรเลีย ขณะทำการขุดค้นในถ้ำบนเกาะบอร์เนียว

👉🏿ทีมผู้วิจัยกล่าวสรุปว่า “การตัดแขนขาเพื่อรักษาชีวิตในยุคที่ยังไม่มียาปฏิชีวนะนั้น เสี่ยงที่จะล้มเหลวและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากการเสียเลือดมาก เกิดภาวะช็อก หรือติดเชื้อรุนแรง แต่กรณีล่าสุดที่เราค้นพบกลับไม่เป็นเช่นนั้น”

👉🏾เป็นยังไงบ้างครับน่าทึ่งแล้วตะลึงผสมความมหัศจรรย์ จริงๆนะเลยครับสำหรับมนุษย์ยุคโบราณที่มีวิวัฒนาการ..ทางการแพทย์ยุคหินล้ำสมัยเกินคาด... ตัดขาได้ไม่ติดเชื้อ 31,000 ปีก่อน

สาระข้อมูลเพิ่มเติม
👉🏾สังคมของมนุษย์ยุคหินเก่าตอนกลาง และยุคหินเก่าตอนปลายมีระยะเวลาที่สั้น ปรากฏอารยธรรมเกิดขึ้นในทวีปยุโรป แอฟริกาและเอเชีย สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนยุคหินเก่าตอนกลางส่วนมากคล้ายกับยุคหินเก่าตอนต้น แต่ก็พบว่าคนยุคหินเก่าตอนกลางบางแห่งมีพัฒนาการมากขึ้น

มีการพบหลักฐานแสดงว่า คนยุคหินเก่าในช่วงปลายมีความสามารถในการจับสัตว์น้ำได้ดี และมีการคมนาคมทางน้ำเกิดขึ้นแล้ว เทคโนโลยีของยุคหินเก่าตอนปลายจะมีขนาดเล็กกว่ายุคหินเก่าตอนต้นและประโยชน์ใช้สอยดีขึ้นกว่าเดิม คนยุคหินเก่าตอนกลางจะมีวัฒนธรรมแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่บนภูเขา ตามถ้ำ หรือเพิงผา ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่บนพื้นราบ ริมน้ำหรือชายทะเล

🦍วิวัฒนาการของมนุษย์

กะโหลกศีรษะของ Homo heidelbergensis
ดูบทความหลักที่: วิวัฒนาการของมนุษย์
วิวัฒนาการของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการทางชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเกิดของมนุษย์ที่เป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน

ภูมิศาสตร์ดึกดำบรรพ์และสภาพภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของช่วงเวลายุคหินยาวนานถึงสองยุคทางธรณีวิทยาที่รู้จักกันคือ สมัยไพลโอซีน (Pliocene) และ สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene) ทั้งสองยุคนี้ได้ประสบการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศที่สำคัญที่มีผลต่อสังคมมนุษย์ ในช่วงระหว่างสมัยไพลโอซีน ทวีปยังคงเลื่อนตัวอาจจะเป็นระยะไกลเท่าที่เป็นไปได้คือ 250 กิโลเมตรจากตำแหน่งที่ตั้งเดิมของพวกเขาไปอยู่ในตำแหน่งเพียง 70 กิโลเมตรจากตำแหน่งที่ตั้งปัจจุบันของพวกเขา ทวีปอเมริกาใต้กลายเป็นที่เชื่อมโยงไปยังทวีปอเมริกาเหนือผ่านคอคอดปานามา

👉🏿 เห็นอย่างนี้..มนุษย์ยุคปัจจุบันนี้รู้สึกอายๆ..เลยนะครับ แสดงว่ามนุษย์ยุคโบราณเขาคงจะมีความคิดที่สร้างสรรค์และทันสมัยมากๆนะครับถึงสามารถกล้าตัดขาตัดแขน คนได้โดยที่ไม่ติดเชื้อเยี่ยมจริงๆครับ🦍

โพสท์โดย:เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมบทความใหม่โดย man
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย BBC และ YouTube
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Man's profile


โพสท์โดย: Man
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: นายคำโดย คูชมไผ่
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เฉินหลงเผยถึงค่าตัว สามารถซื้อบ้านได้ทั้งหลัง! ย้อนเล่าช่วงชีวิตที่เสียดายที่สุด
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
'ไทเลอร์ ติณณภพ' ลูกชาย 'ธานินทร์' ดาวเด่นยุค 80 สู่พระเอกยุคใหม่"วิธีใช้รีโมทแอร์ในโหมดต่าง ๆ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า
กระทู้อื่นๆในบอร์ด รวมสาระบทความแบ่งปั่นกัน
สาเหตุของการฝันร้าย และ วิธีแก้ไขไม่ให้ฝันร้าย10 ข้อผิดพลาดเรื่องรถ เมื่อพาสาวออกเดทCraco เมืองโบราณที่ถูกภัยพิบัติถล่มเมืองซ้ำๆจนกลายเป็นเมืองร้างประวัติที่มาของขนมชั้น ขนมโบราณที่มีความสำคัญในงานพิธีมงคลต่างๆ
ตั้งกระทู้ใหม่