หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

นักกฎหมายแจงชัด กสทช. ไม่มีอำนาจอนุมัติควบรวมทรู-ดีแทค แต่ให้กำหนดมาตรการเฉพาะ

กระทู้รอขึ้นแสดง
ทำให้ธุรกิจของคุณค้นหาเจอบน Google
เหมาะสำหรับกระทู้ธุรกิจ โฆษณา ประชาสัมพันธ์ SEO
สนับสนุนค่าเซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์ 300 บาท เพื่อขึ้นแสดงกระทู้นี้
(กรณีที่มี link อยู่ในกระทู้ จะเปลี่ยนเป็น Do Follow หลังจากชำระเงิน จำนวน 1 link)
ระยะเวลาแสดงกระทู้ขั้นต่ำ 1 ปี โดยสามารถแก้ไขกระทู้ได้
(หลังครบ 1 ปีแล้ว ทางเว็บจะไม่ลบกระทู้ออก นอกจากเหตุสุดวิสัย)
สแกน QR Code เพื่อชำระเงิน
(ผ่านแอพพลิเคชั่นธนาคารต่างๆ)
หลังชำระค่าโฆษณาแล้วทางเว็บจะขึ้นกระทู้ให้ภายใน 24 ชั่วโมง
ทางเว็บไม่สามารถรับโฆษณาที่ผิดกฏหมาย, การพนัน, ขายตรง, ฯ
โพสท์โดย miller89

ข่าวการควบรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทคยังคงได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง โดยประเด็นหนึ่งที่วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ก็คือ อำนาจของกสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ในการพิจารณาและอนุมัติการควบรวมครั้งนี้

 

ล่าสุด นายรุจิระ บุนนาค ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย และอนุญาโตตุลาการ สำนักระงับข้อพิพาท สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ได้ให้ความเห็นผ่านคอลัมน์ “กฎกติกาธุรกิจ” แนวหน้าออนไลน์ ไว้ค่อนข้างชัดเจน สรุปได้ ดังนี้

 

การกำกับดูแลของกสทช. ในประเด็นนี้ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นประกาศของกสทช. อยู่ 2 ฉบับ คือ

 

  1. ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549

 

ประกาศฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ควบคุมการเข้าซื้อหรือถือหุ้น หรือการเข้าซื้อสินทรัพย์ของผู้รับอนุญาตรายอื่น เพื่อให้มีอำนาจในการ Take Over ครอบงำ ควบคุมกิจการของผู้รับอนุญาตรายอื่น ส่งผลให้ กสทช. ต้องมีอำนาจในการอนุญาต รวมถึงกำหนดมาตรการเฉพาะ เพราะเป็นกรณีที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการแข่งขันในกิจการโทรคมมนาคม ซึ่งเป็นกรณีที่เรียกว่า Share หรือ Asset Acquisition

 

(ยกตัวอย่าง กรณีของเอไอเอสเข้าซื้อกิจการ 3 BB)

 

  1. ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2561

 

ประกาศฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ควบคุมในกรณีที่ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้าไปมีอำนาจ Take Over หรือควบคุมผู้รับใบอนุญาตอีกฝ่าย แต่เป็นการควบรวมกันและเกิดเป็นบริษัทใหม่ (A+B = C) ซึ่งส่งผลที่แตกต่างกันต่อการแข่งขัน เป็นกรณีที่เรียกว่า Amalgamation กฎหมายจึงไม่ได้กำหนดให้ กสทช. มีอำนาจอนุญาตหรือไม่อนุญาต แต่ยังคงมีอำนาจในการกำหนดมาตรการเฉพาะเพื่อประโยชน์สาธารณะ

 

ตัวอย่างของกรณีคือ การควบรวมระหว่าง TOT และ CAT เป็น NT ที่เป็นการรวมธุรกิจระหว่างผู้รับใบอนุญาตหรือองค์กรของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ เพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศ หรือเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้ผู้รับใบอนุญาตรายงานต่อเลขาธิการ กสทช. ภายใน 7 วัน หลังการดำเนินการ

 

 

นอกจากนี้ ในรายงานการศึกษาวิจัยทางวิชาการ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการร่วมกันวิเคราะห์โดยคณะอาจารย์ทางด้านนิติศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยในหลายด้าน ได้กล่าวถึงประเด็นสำคัญว่า ปัจจุบัน (มิถุนายน 2565) คณะกรรมการ กสทช. ยังไม่มีอำนาจตามกฎหมายในการอนุญาตให้เกิดการรวมธุรกิจได้ แต่ประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2561 กำหนดให้ใช้มาตรการเฉพาะสำหรับผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้อง มาบังคับใช้เพื่อป้องกันความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ

 

ความเห็นทางวิชาการดังกล่าว สรุปให้เข้าใจได้ง่ายได้ว่า กสทช. ไม่มีอำนาจอนุญาตหรือไม่อนุญาตการควบรวมทรู-ดีแทค แต่มีอำนาจในการกำหนดมาตรการเฉพาะเพื่อควบคุมได้

 

ดังนั้น ทั้งหมดจึงสรุปได้ว่า การควบรวมกิจการทรู-ดีแทค เป็น Amalgamation คือ สองบริษัทรวมกันเกิดเป็นบริษัทใหม่ (A+B = C) ไม่ใช่เป็นการเข้าซื้อหุ้นหรือถือหุ้นหรือเข้าซื้อสินทรัพย์กัน ตรงตามประกาศ กสทช. พ.ศ. 2561 ซึ่ง กสทช. ไม่มีอำนาจอนุญาต มีแต่เพียงอำนาจกำหนดมาตรการเฉพาะเพื่อประโยชน์สาธารณะ

 

ผู้เขียนยังได้ทิ้งท้ายข้อเขียนไว้ด้วยว่า การควบรวมกิจการทางโทรคมนาคม จะเกิดการผูกขาด และทำให้ไม่เกิดการแข่งขันจริงหรือไม่ ควรพิจารณาถึงสภาพของธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นโทรคมนาคมในระดับสากล ที่ปัจจุบันไม่ได้เน้นที่เสียงหรือการส่งข้อมูลที่เป็น Data แต่ปัจจุบันเป็น OTT (Over the Top) ที่หลอมรวมสื่อ ไม่ว่าจะเป็นสตรีมมิ่ง ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วีดีโอผ่านอินเตอร์เนต ซึ่งคู่แข่งตัวจริงอาจไม่ใช่คู่แข่งรายใหญ่ในประเทศแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงคู่แข่งในต่างประเทศอีกด้วย สิ่งที่สำคัญ คือ เปิดมุมมองให้รอบด้าน และพิจารณาว่า ประชาชนผู้ใช้บริการจากโทรศัพท์มือถือ จะได้รับประโยชน์อย่างไร

โพสท์โดย: miller89
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
miller89's profile


โพสท์โดย: miller89
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ความเป็นมาของงาน " Met Gala "สุดเศร้าหนุ่มนักแคสเกมจบชีวิต เพราะผู้หญิงที่รัก ยอมให้หมดตัวแม้ไม่ได้กินของโปรดของตัวเองโปรดระวัง! เลี่ยงให้ไกล ต้นไม้ที่มีรังนก..เพราะมันแฝงด้วยอันตรายบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตอาวุธ รายใหญ่ที่สุดของประเทศไทยข้าราชการราชวงศ์ชิงออกเยี่ยม: ภาพที่น่าตกตะลึงของผู้แบกเกี้ยวแม่ให้ลูกอัดคลิปบอกลาพ่อ ก่อนใช้ปืนยิงลูกดับจีนประกาศ พบรอยเท้าไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก!อาหารป่าหายาก 4 ชนิด บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์เมืองนี้แดดออก 21 ชั่วโมง ก็ยังหนาว"ธรรมาภิบาล AI "ความร่วมมือใหม่"จีน-ฝรั่งเศส"ห้างสรรพสินค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในเขตจังหวัดภาคอีสานของไทยแต่งงานครบ 12 วัน เพิ่งรู้ ว่าภรรยานั้น เป็น ผู้ชาย
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
" กระเป๋าซองขนม " จาก Balenciaga"ธรรมาภิบาล AI "ความร่วมมือใหม่"จีน-ฝรั่งเศส"ภาพยนตร์ชุดจากประเทศไทย ที่ทำเงินสูงมากที่สุดตลอดกาลยอดเขาในประเทศไทย ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลมากถึง 2 กิโลเมตรตำรวจไทยจับแก๊งปลอมตัวเป็นตำรวจ ลักพาตัวนักท่องเที่ยวจีนรีดไถเงินบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตอาวุธ รายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด Variety
ทำไมพ่อแม่ถึงเลือกโรงเรียนที่ดีที่สุดให้กับลูกยืดอายุให้สุขภาพยืนยาวขึ้นดูแลสุขภาพด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์พลังแห่งการรักและยอมรับตัวเอง
ตั้งกระทู้ใหม่