คุณรู้หรือไม..สิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไม่ใช่ “วาฬ” แต่มันคือ “เห็ด”
เห็ดคือชีวอินทรีย์ ชนิดหนึ่งบางที สิ่งที่เราอาจจะว่าเห็ดเป็นชีวอินทรีย์เล็กที่สุด อ่อนแอเปราะบาง อย่างเช่นเห็ด..รา เราคิดว่าเป็นพืชหรือสิ่งมีชีวิตในสกุลต่ำสุดของวัฏจักร
แต่คุณหารู้ไม่ว่า สิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไม่ใช่ “วาฬ” แต่มันคือ “เห็ด”
😄มันจะจริงหรือไม่จริง...เดี๋ยวเรามาอ่านรายละเอียดกันเลยดีกว่านะครับ
สิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก หลายคนคงคิดถึง วาฬสีน้ำเงิน ที่โตเต็มที่แล้ว ซึ่งมีความยาวถึง 33.5 เมตร และหนักราว 200 ตัน แต่อย่าลืมว่าสิ่งมีชีวิตก็รวมถึงพืชด้วย
ซึ่งจากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ที่รัฐออริกอน ในสหรัฐฯ
พบเห็ดขนาดมหึมา ที่ทำลายสถิติวาฬสีน้ำเงินได้ แบบขาดลอย จนได้ชื่อว่า “เป็นสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก”
เห็ดขนาดมหึมา ดังกล่าวคือ อาร์มิลลาเรีย ออสโตเย (Armillaria Ostoyae) เป็นเห็ดในตระกูล อาร์มิลลาเรีย หรือที่ชาวอเมริกันเรียกว่า “เห็ดน้ำผึ้ง” ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2531 ในพื้นที่ป่าบลูเมาเท่น ในรัฐออริกอน ปัจจุบันมันเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ที่ใต้พื้นดิน
และมีไรโซมเชื่อมโยงกันเหมือนใยแมงมุม จนครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 6,032 ไร่ หรือเท่ากับสนามฟุตบอล 1,665 สนาม และคาดว่าจะมีน้ำหนักประมาณ 7,500 ถึง 35,000 ตัน จึงไม่แปลกที่ทำให้มันกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก
นักวิทยาศาสตร์ที่ตรวจสอบยังไม่แน่ใจว่า อายุของเห็ดเท่าไหร่กันแน่ แต่หากใช้อัตราการเติบโตในแต่ละปี มาใช้คำนวณจะได้อายุของเห็ดสูงถึง 2,400 ปี อย่างไรก็ตามมีความเป็นไปได้เช่นกันที่ว่าเห็ดต้นนี้จะมีอายุเก่าแก่ถึง 8,650 ปี ซึ่งทำให้มันได้ชื่อว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่อีกต่างหาก
เห็ดนี้เป็นเหมือนโรคที่กัดกินต้นไม้ มันสามารถสูบชีวิตของต้นไม้ต่าง ๆ กว่า 600 ชนิด โดยเมื่อมันเข้าไปในต้นไม้ เส้นใยสีขาวจะแตกแขนงชอนไชไปเพื่อดูดน้ำและสารอาหารจากต้นไม้จนตาย ซึ่งพวกมันสามารถทนทานต่อสารกำจัดเชื้อราโดยทั่วไป ทั้งยังสามารถอยู่เฉย ๆ ใต้พื้นดินได้เป็นเวลานานหลาย 10 ปี โดยไม่ต้องมีอาหารแต่อย่างใด
ข้อมูลเพิ่มเติมความรู้เรื่องเห็ด
เห็ด (mushroom) คือชีวอินทรีย์ (living organism) จัดอยู่ในอาณาจักรฟันไจ (fungi kingdom) มีหลากหลายรูปพรรณสัณฐาน จัดจำแนกอยู่ใน 'ไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา (phylum Basidiomycota)' กับ 'ไฟลัมอะการิโคไมโคทา (phylum
คำว่า 'เห็ด' หรือ 'ดอกเห็ด' คือส่วนโครงสร้างสืบพันธุ์ของฟันไจใหญ่ ประกอบด้วย ก้าน (stipe) และ หมวก (pileus) ใต้หมวกอาจเป็น ครีบ (lamella) หรือเป็นท่อ (tube) อันเป็นที่เกิด 'สปอร์ (spore)' ซึ่งสปอร์นขนาดเล็กมากคือจุลขนาดต้องใช้กล้องจุลทรรศ์ช่วยให้มองเห็น
ปัจจุบันได้มีการจำแนก 'เห็ด' แล้วกว่า 30,000 ชนิด มีทั้งที่เป็น 'เห็ดกินได้' 'เห็ดกินไม่ได้' 'เห็ดพิษ' บางชนิดกินแล้วเกิดประสาทหลอน บางชนิดกินแล้วถึงแก่ชีวิต
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย และ google YouTube