ปลาดุกแปลกๆปลาดุกไฟไฟ้าแอฟริกา มีความสำคัญนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย
เราเคยเห็นแต่..ปลาดุกธรรมดาหรือปลาดุกยักษ์...แต่มันก็ยังมีปลาดุกไฟฟ้ามาอีกเหมือนกัน เราเคยได้ยินแต่ว่ามี ปลาไหลไฟฟ้า แต่ตอนนี้มีปลาดุกชนิดหนึ่ง
ซึ่งเป็นปลาดุกแอฟริกาแต่มันมีคุณลักษณะพิเศษคือ มีไฟฟ้าในตัวเองเลย กลายเป็นที่มาของชื่อว่าปลาดุกไฟฟ้าแอฟริกา
มาดูรายละเอียดของปลาดุกไฟฟ้าแอฟริกากันเลยนะครับ
ปลาดุกไฟฟ้าแอฟริกา
(อังกฤษ: African electric catfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Malapterurus electricus) ปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนังชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาดุกไฟฟ้า (Malapteruridae)
ข้อมูลเบื้องต้น ปลาดุกไฟฟ้าแอฟริกา, สถานะการอนุรักษ์ ...
ลักษณะ
มีรูปร่างอ้วนป้อม ลำตัวยาว ลำตัวสีน้ำตาลหรือสีเขียวมะกอกมีลวดลายสีดำคล้ำกระจายอยู่ทั่วลำตัว ใต้ท้องสีขาว ครีบทั้งหมดสั้น ส่วนหัวมีลักษณะมนกลม
ช่องปากกว้าง ตามีขนาดเล็กมาก มีหนวดสามคู่อยู่รอบปากใช้สำหรับสัมผัสหาอาหาร ส่วนหางมีลายสีขาวคล้ายรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวอยู่กลางครีบหาง และมีแถบสีดำสลับขวาพาดอยู่บริเวณคอดหางเห็นได้ชัดเจน
ความสามารถ
สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้สูงถึง 300 โวลต์ เพื่อป้องกันตัวและหาอาหาร พฤติกรรมเป็นปลาที่เคลื่อนไหวได้ช้าและมักจะกบดานอยู่นิ่ง ๆ ใต้พื้นท้องน้ำ มักหลบซ่อนอยู่ในโพรงไม้ใต้น้ำหรือตามกอสาหร่าย ขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร พบเฉพาะในทวีปแอฟริกา ถูกใช้เป็นอาหารบริโภคในท้องถิ่นมาเป็นเวลาช้านาน และยังมีความสำคัญนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีก
ซึ่งปลาดุกไฟฟ้าปากใหญ่จะพบมีขายในตลาดปลาสวยงามมากกว่าปลาดุกไฟฟ้าปากเล็ก (M. microstoma) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ว่าในสถานที่เลี้ยงจริง ๆ จะเติบโตได้ช้ากว่าปลาดุกไฟฟ้าปากเล็กมาก และมีขนาดเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร เท่านั้น
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย และ Google