ผีเสื้อเหยี่ยวบอนเขียว..ดูแล้วไม่เหมือนผีเสื้อ แค่ชื่อก็แปลก สุดยอดของการพรางตัวและเป็นศัตรูพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจ
ผีเสื้อเหยี่ยวบอนเขียว..ดูแล้วมันก็ไม่เหมือนผีเสื้อ แม้แต่ชื่อก็ดูแปลกๆสุดยอดของการพรางตัวและศัตรูพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจ
ผีเสื้อแปลกๆดูแล้วมันไม่เหมือนผีเสื้อเลยครับเราเห็นผีเสื้อเราจะนึกถึงผีเสื้อที่มีลายสวยงามสดใสแต่ผีเสื้อบางพันธุ์ก็ดูแล้วมันไม่เหมือนผีเสื้อเลยกับกลายเป็นไปในทางน่ากลัวมากกว่าโดยเฉพาะผีเสื้อกลางคืนหรือตัวอย่างผีเสื้อที่ผมจะนำเสนอนี้ ผีเสื้อเหยี่ยวบอนเขียว
ผีเสื้อเหยี่ยวบอนเขียว (อังกฤษ: Pergesa acteus) ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Pergesa acteus (Cramer, 1779) เป็นสมาชิกในวงศ์สฟิงยิดี้ (Sphingidae) หรือผีเสื้อเหยี่ยว และ ผีเสื้อกะโหลก (hawk moths, sphinxes)
พบได้ทั่วไป มีเขตแพร่กระจายอยู่ทางตอนใต้และตะวันเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย จากรายงานการค้นพบในอินเดีย ศรีลังกา เนปาล เวียดนาม ตะวันออกและทางใต้ของจีน ทางใต้ของญี่ปุ่น ไต้หวัน มะละกา ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย (เพนนินซูลา) อินโดนีเซีย (สุมาตรา, จาวา, ซูลาเวซี) และไทย เป็นต้น
ตัวเต็มวัยมีลักษณะของส่วนหัวเรียว ลำตัวอ้วน และเรียวแหลมไปทางด้านท้อง ปีกคู่หน้ายาวแคบ พื้นปีกเป็นสีน้ำตาลพาดด้วยแถบเฉียงสีเขียวที่มีเส้นขอบสีดำหนาด้านบนบริเวณปลายปีก
โดยมีปีกคู่หลังเล็กและสั้นกว่าปีกคู่หน้า ส่วนของปลายปีกกว้าง พื้นปีกเป็นสีน้ำตาล ในระยะตัวหนอนมี 5 ระยะ แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ เริ่มแรกลำตัวมีสีเขียว พบรอยแต้มบริเวณด้านข้างคล้ายดวงตา (eyes- spots) ตั้งแต่ปล้องที่ 2-5 และมีส่วนของรยางค์ที่ยืนออกมาจากปล้องท้องส่วนท้ายคล้ายส่วนหาง (tail horn)
ต่อมาเมื่อพัฒนา จนเข้าสู่ปลายระยะที่ 5 ตัวหนอนจะมีสีน้ำตาลแดง รอยแต้มบริเวณด้านข้างคล้ายดวงตามีขนาดใหญ่ขึ้น ส่วนของรยางค์ส่วนท้ายหดสั้น และกินอาหารปริมาณน้อยลง เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ระยะดักแด้ (pupation)
ผีเสื้อเหยี่ยวบอนเขียว ศัตรูพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากในระยะตัวหนอน มีพืชอาหารที่หลากหลาย ได้แก่ พืชวงศ์บอน (Araceae) เช่น สกุล Alocasia Amorphophallus Arisaem, Caladium, Colocasia, Dieffenbachia วงศ์ต้นส้มกุ้ง (Begoniaceae) เช่น สกุล Begonia วงศ์ผักปลาบ (Commelinaceae) เช่น สกุล Commelina วงศ์กะตังใบ (Leeaceae) สกุล Leea, Cissus รวมถึงวงศ์องุ่น (Vitidaceae) เช่น สกุล Vitis เป็นต้น
วิวัฒนาการของผีเสื้อเหยี่ยวบอนเขียว..การพรางตัว (camouflage)
การพรางตัว (camouflage)
การพรางตัว (camouflage) ตัวหนอนช่วงปลายระยะที่ 5 ก่อนเข้าสู่ระยะดักแด้ มีสีน้ำตาลแดง จะมีลักษณะภายนอกและสีที่คล้ายคลึงกับพืชอาหาร เช่น พืชในสกุลใบส้มกุ้ง(Begonia) ดังแสดงในภาพ ซึ่งปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างพืชอาหารและหนอนผีเสื้อ ส่งผลให้ตัวหนอนสามารถหลบหลีกสัตว์ผู้ล่า และ เพิ่มโอกาสการอยู่รอดในธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
การเลียนแบบ (mimicry)
การเลียนแบบ (mimicry)
การเลียนแบบ (mimicry) เพื่อป้องกันตัวจากสัตว์ผู้ล่า โดยอาศัยหลักการ เลียนรูปร่างหรือลักษณะของสิ่งมีชีวิตต้นแบบ (model) ซึ่งมักจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอันตราย หรือมีรสชาติที่ไม่พึงประสงค์สำหรับสัตว์ผู้ล่า กรณีหนอนผีเสื้อเหยี่ยวบอนเขียว จะมีลักษณะของแต้มที่คล้ายคลึงกับดวงตา (eyes- spots) ทำให้สัตว์ผู้ล่าเข้าใจว่าอาจเป็นดวงตาของผู้ล่าอื่นๆ เช่น งู นก อีกทั้งบริเวณแต้มดังกล่าวยังลวงสัตว์ผู้ล่าให้เข้าใจว่าเป็นส่วนหัว เป็นต้น
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย และ google