ชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย "เมืองแม่หม้าย" ที่มีอยู่จริง !!!
ในอินเดีย เมื่อมีผู้ชายสักคนเสียชีวิตลง ภรรยาหม้ายของเขามีทางเลือกอยู่ 3 ทาง
ทางแรกคือ กระโดดเข้ากองไฟไปพร้อม ๆ ศพสามี
ทางที่สองตกเป็นภรรยาของพี่ชายน้องชายสามีต่อ หากว่าครอบครัวสามียินยอม
และสุดท้ายคือมีชีวิตอยู่โดยถูกกีดกัน ถูกตัดขาดและถูกรังเกียจจากครอบครัวและสังคม
ในทัศนะของชาวอินเดียส่วนใหญ่ชีวิตหญิงหม้ายไม่มีคุณค่าใดๆเพราะชีวิตของพวกเธอเป็นของสามี และเป็นตลอดไปแม้ว่าเขาจะไม่มีชีวิตอยู่แล้วก็ตาม
ในอินเดียการเป็นแม่หม้ายเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ถือเป็นการสูญเสียชีวิตและโอกาสทางสังคมของพวกเธอไปตลอดกาล เมื่อไม่มีที่ยืนในสังคม การมาอยู่รวมกันในเมืองแม่หม้ายจึงเป็นสิ่งที่พวกเธอเลือกทำ
"ชีวิตหลังการสูญเสียสามีคือสิ่งที่เลวร้ายที่สุดสำหรับผู้หญิงในอินเดีย สังคมที่จัดผู้หญิงไว้ในสถานะสมบัติของผู้ชาย"
หญิงหม้ายคือกาลกิณี หากบ้านไหนมีเธออยู่ในบ้านด้วย ไม่ช้าไม่นานจะมีคนในบ้านเคราะห์ร้ายหรือเสียชีวิตเพิ่ม ต้องขับไล่เธอออกไปเพื่อปกป้องคนในบ้าน
บางครอบครัวรีบไล่ส่งสะใภ้หม้ายออกจากบ้านทันทีเพราะกลัวว่าสมบัติของลูกชายตนเองที่เสียชีวิตไปนั้นจะตกเป็นของลูกสะใภ้
ความเชื่อและวิธีปฏิบัติต่อแม่หม้ายในอินเดีย ที่ตัดขาดและรังเกียจพวกเธอ เมื่อถูกไล่ออกจากบ้าน เมืองนาบัดวิป และเมืองอื่นๆก็เป็นเหมือนเกาะเล็ก ๆ ที่เหล่าหญิงหม้ายเดินทางไปเพื่อเอาชีวิตรอด
นาบัดวิป ได้ชื่อว่าเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ ผู้คนเดินทางมาที่เมืองนี้เพื่อศึกษาศาสนา ซึมซับความศักดิ์สิทธิ์ ไปจนถึงเป็นสถานที่สุดท้ายของชีวิต
คนอีกกลุ่มหนึ่งที่มุ่งหน้ามาที่นี่คือ แม่หม้ายจากอินเดีย บังคลาเทศและเนปาล กว่า 300 กว่าปีที่นาบัดวิปเป็นแหล่งพักพิงสุดท้ายของผู้หญิงกลุ่มนี้ จนได้ชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองแม่หม้าย
แม่หม้ายที่มาอยู่ในเมืองนี้หาเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างทำงานเล็กๆน้อยๆ ขอทาน จนไปถึงขายบริการทางเพศ
พวกเธอต้องห่มส่าหรีสีขาวผ้าเนื้อหยาบเพื่อเป็นการแสดงความอาลัยต่อสามีที่จากไปแล้ว
ต้องโกนหัวและห้ามสวมเครื่องประดับ เพราะสามีตายแล้ว พวกเธอไม่ควรแต่งเสริมเติมสวยใด ๆ ทั้งสิ้น
งดกินเนื้อสัตว์ อาหารร้อนและกระเทียม ที่เชื่อว่าสร้างความต้องการทางเพศ เพราะต้องซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อสามีที่ตายไปแล้วเพียงคนเดียวเท่านั้น
ห้ามเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองหรือพิธีมงคลใด ๆ ทั้งสิ้น บ้านไหนที่มีหญิงหม้ายอาศัยอยู่ในบ้าน หากมีงานมงคล ก็จะกักบริเวณเธอไว้จนกว่าพิธีจะเสร็จสิ้น
สถานภาพของผู้หญิงอินเดียถูกกำหนดด้วยความเชื่อเก่าแก่โบราณที่ยึดถือและสืบทอดมาถึงปัจจุบัน
โครงสร้างสังคมที่วางผู้ชายไว้สูงส่งประดุจเทวดา ผู้หญิงเป็นเพียงสมบัติหรือข้าวของ แนวทางการปฏิบัติต่อหญิงหม้ายเต็มไปด้วยการกดขี่และ ครอบงำ
Santi Ranjan Dave, นักประวัติศาสตร์ ระบุว่ากฏและการปลูกฝังความเชื่อเหล่านี้มาจากการที่สมัยก่อนอินเดียเป็นสังคมชายเป็นใหญ่ กฏทุกอย่างถูกตั้งโดยผู้ปกครองบ้านเมืองที่เป็นชาย พวกเขาไม่อยากให้ผู้หญิงที่สามีตาย มีความสุขอีก ไม่อยากให้ยังดูดี เพราะจะได้ไม่สามารถมีสามีใหม่ได้
ขอบคุณคลิปจาก youtube channel : รอบโลก by กรุณา บัวคำศรี (embed)
อ้างอิงจาก: https://youtu.be/inPPnppGEgU