เมล็ดกาแฟ "ขี้อีเห็น" แพงกว่ากาแฟ "ขี้ชะมด" มีรสชาติดีเป็นหลายเท่า
อีเห็น หรือ กระเห็น เป็นสกุลของสัตว์กินเนื้อสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Paradoxurus ในวงศ์ชะมดและอีเห็น (Viverridae)
อีเห็น มีความแตกต่างจากชะมด (Viverra spp.) ซึ่งเป็นสัตว์อีกสกุลในวงศ์นี้ คือ อุ้งตีนมีลักษณะเหมาะสมสำหรับการปีนป่าย โดยเฉพาะนิ้วที่ 3 และ 4 ของตีนหลังบางส่วนมีพังผืดเชื่อมติดกัน อุ้งตีนแยกออกเป็น 4 ส่วน อีเห็นจะมีนิ้วตีนทั้งหมดที่อุ้งตีนข้างละ 5 นิ้ว มีเล็บคมยาวไว้ปีนป่าย ขนาดอุ้งตีนของอีเห็นจะเล็กกว่าชะมด เพราะอีเห็นจะปีนป่ายต้นไม้หากินมากกว่าชะมด ที่หากินตามพื้นดิน แต่ทั้ง 2 สกุลนี้ เมื่อลงพื้นดิน โดยเฉพาะดินที่อ่อนนุ่ม จะฝากรอยเท้าทิ้งเอาไว้ให้สังเกตเห็นได้ง่าย
อีกทั้ง อีเห็นจะเป็นสัตว์กินพืชและผลไม้มากกว่าชะมด ขณะที่ชะมดจะกินสัตว์ต่าง ๆ เช่น กบ หรือเขียด หรือปลา เป็นอาหารมากกว่าพืช
อีเห็น เป็นสัตว์ที่กระจายพันธุ์ทั้งแต่เอเชียใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และหมู่เกาะต่าง ๆ นอกจากนี้แล้วในบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย หรือ เวียดนาม มีการเลี้ยงอีเห็นในสกุลนี้ให้กินเมล็ดกาแฟ เมื่อถ่ายมูลออกมาแล้ว เมล็ดกาแฟจะไม่ถูกย่อยสลาย จะออกมาเป็นเมล็ดเหมือนเดิม จากนั้นจะนำไปล้างและคั่วเป็นกาแฟสำหรับจำหน่าย ซึ่งกาแฟลักษณะนี้เรียกว่า "กาแฟขี้ชะมด" เป็นกาแฟที่มีรสชาติกลมกล่อม หอมหวาน อร่อยกว่ากาแฟทั่วไป จึงมีราคาขายที่แพงกว่ากาแฟปกติทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากในระบบย่อยอาหารของอีเห็นมีเอนไซม์ที่ทำให้เมล็ดกาแฟมีรสชาติที่หอมหวาน
ปัจจุบัน อินโดนีเซียซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกาแฟชนิดนี้ที่เกาะสุมาตรา ที่ประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า Kape Almid ประเทศทิมอร์เรียกว่า Kafe’-Laku และที่ประเทศเวียตนามเรียก Weasel Coffee
สำหรับประเทศไทย สัตวแพทย์ และผู้ทำธุรกิจกาแฟชนิดนี้ว่าเป็นการเรียกที่ไม่ถูกต้องมาโดยตลอด และยังมีความเข้าใจที่ คลาดเคลื่อน ระหว่างชะมดและอีเห็น แม้แต่ในเอกสารอ้างอิงทางวิชาการบางฉบับ ยังให้คำจำกัดความที่ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องคือ ต้องเรียกว่ากาแฟอีเห็น เพราะมาจากสัตว์ที่ชื่ออีเห็น สำหรับตัวชะมดนั้นคือสัตว์กินเนื้อที่นำไขที่ได้ไปใช้ประโยชน์คือชะมดเช็ด
กาแฟมีรสขมน้อย กว่ากาแฟปกติ พบว่าการย่อยเมล็ดกาแฟของชะมดต้องผ่านเอนไซด์และแบคทีเรีย กรดแลกติก ซึ่งมีลักษณะเดียวกับกรรมวิธีการหมักกาแฟแบบเปียก สันนิษฐานว่าการผลิตกาแฟ ทั้งสองวิธีน่าจะให้กาแฟ ที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตามพบว่าการล้างเมล็ดกาแฟไม่สามารถลดจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายได้อบ่างมีนัย สำคัญทางสถิติ และการเลี้ยงชะมด ในประเทศไทย มีลักษณะเป็นฟาร์มท่ามกลางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมที่ดีทำให้กาแฟที่ผลิตได้สะอาดปลอดภัยในการบริโภค