1 มิ.ย. ปรับมาตรการรับมือโควิด-19 ของไทย
ตั้งแต่ 20 พ.ค. ให้ผ่อนปรนกิจการ/กิจกรรมต่าง ๆ ตามมติของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ที่เป็นมาตรการด้านสาธารณสุขชุดใหม่
ก่อน 1 ก.ค. นี้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ต้องการรองรับการประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น เพื่อปรับระบบการทำงานใหม่
การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่ 1 มิ.ย. นี้เป็นต้นไป ภายใต้มาตรการ "5 เลิก 2 ยืด 1 เปิด"
เลิกรายงานยอดผู้ติดเชื้อรายวัน โดยปกติจะรายสถานการณ์โควิด-19 ของไทยที่ปกติจะแจ้ง "จำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน" เปลี่ยนเป็น "จำนวนผู้ป่วยรายวัน" เน้นผู้ป่วยที่มีอาการและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
เลิกตรวจ ATK ปชช. ทั่วไป การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ที่ต้องทำใน รพ. เท่านั้น เพราะจะถูกยกเลิกการรายงานผลต่อสาธารณะ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ยังคงควรตรวจ ATK ทุกสัปดาห์เป็นประจำอยู่
- พนักงานสถานบริการ
- ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ดูแลเด็กเล็ก
- บริษัทสถานประกอบ : ไม่ต้องตรวจประจำสัปดาห์แล้ว
- ประชาชนทั่วไป : ให้ตรวจ ATK เฉพาะกลุ่ม (เกิดอาการป่วย เช่น ไข้ ไอ น้ำมูกไหล เจ็บคอ หอบเหนื่อย)
เลิกกักตัวกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง จากเดิมต้องกักตัว 5 วัน และสังเกตุอาการตัวเองต่ออีก 5 วัน เปลี่ยนเป็นให้สังเกตอาการตัวเองทั้ง 10 วัน ไม่ต้องกักตัว และให้ตรวจ ATK เมื่อมีอาการป่วยระบบทางเดินหายใจ กำหนดจากศบค.
สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง หมายถึง
- ผู้ที่ไม่สวมหน้ากาก หรือไม่ได้ใส่ชุด PPE ตามมาตรฐานตลอดช่วงเวลาที่มีการสัมผัสผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อโควิด-19
- ผู้ที่ใกล้ชิด พูดคุยกับผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในระยะ 2 เมตร นานกว่า 5 นาที หรือถูกไอตามรดจากผู้ป่วย ตั้งแต่ 2-3 วันก่อนเริ่มมีอาการป่วย หรือขณะมีอาการ
- ผู้ที่อยู่ในสถานที่ปิด ไม่มีอากาศถ่ายเทมากนัก ร่วมกับผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อโควิด-19 นานกว่า 30 นาที
ศบค. ระบุว่า ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงสามารถไปทำงานได้ แต่ให้แยกพื้นที่กับผู้อื่น, งดไปสถานที่สาธารณะ, งดร่วมกิจกรรมกับคนจำนวนมาก และงดใช้ขนส่งสาธารณะที่หนาแน่น
เลิกพื้นที่ควบคุมทั้งแผ่นดิน โดยศบค. ประกาศปรับพื้นที่โซนสีใหม่ตั้งแต่ 1 มิ.ย. โดยยกเลิกพื้นที่ควบคุมทุกประเภท แล้วเหลือเพียง 3 สีเท่านั้น
- พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) 0 จังหวัด
- พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) 0 จังหวัด
- พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) 0 จังหวัด
- พื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) 46 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ กําแพงเพชร ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา ชัยภูมิ ชุมพร ตรัง ตาก นครนายก นครปฐม นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ บึงกาฬ ปราจีนบุรี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา พะเยา พัทลุง พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยะลา ร้อยเอ็ด ระนอง ราชบุรี ลพบุรี เลย ลําพูน ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี หนองคาย หนองบัวลําภู อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และอุบลราชธานี
- พื้นที่เฝ้าระวัง (สีเขียว) 14 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท พิจิตร อ่างทอง น่าน มหาสารคาม ยโสธร นครพนม ลำปาง อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ ตราด สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ และอุดรธานี
- พื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว (สีฟ้า) 17 จังหวัด ได้แก่ กทม. กระบี่ กาญจนบุรี จันทบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ เชียงราย นครราชสีมา นนทบุรี นราธิวาส ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระยอง และสงขลา
การกำหนดโซนสีต่าง ๆ ของ 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย มีผลต่อการกำหนดมาตรการด้านสาธารณสุข ข้อห้าม ข้อแนะนำ ในการดำเนินกิจการ/กิจกรรมของแต่ละพื้นที่
เลิกกักตัวคนเข้าประเทศ และชาวไทยไม่ต้องลงทะเบียน Thailand Pass ส่วนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติยังต้องลงทะเบียนตามเดิม
เปิดสถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ อาบอบนวด แต่อนุญาตเฉพาะในพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว (สีฟ้า) และพื้นที่เฝ้าระวัง (สีเขียว) รวม 31 จังหวัด ภายใต้ข้อปฏิบัติ ดังนี้
- จำกัดเวลาในการขายและบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เกิน 00.00 น.
- งดบริการเครื่องดื่มที่มีการใช้แก้วร่วมกัน
- งดกิจกรรมส่งเสริมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- พนักงานของสถานบริการ (พนักงาน นักร้อง นักดนตรี และบุคคลที่เกี่ยวข้อง) ต้องฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นแล้ว และต้องตรวจ ATK ทุก 7 วัน
- พนักงานที่ให้บริการคลุกคลีและสัมผัสใกล้ชิดกับลูกค้า ต้องสวมหน้ากาก เช่น อาบอบนวด
- ประชาชนผู้รับบริการ ต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นแล้ว
- ประชาชนกลุ่มเสี่ยง 608 (ผู้สูงอายุ 60 ปึขึ้นไป สตรีมีครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัว 8 โรคเสี่ยง) แนะนำให้งดหรือหลีกเลี่ยงการใช้บริการ
- สถานบริการที่เปิดให้บริการ ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. ก่อน
ยืดเวลาถอดหน้ากากอนามัยต่อไป ยังไม่มีกฎหมายบังคับในใส่หน้ากากอนามัย ทุกคนสามารถประเมินความเสี่ยงได้เอง
ยืดอายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต่ออีก 2 เดือน (1 มิ.ย.-31 ก.ค.) "กฎหมายพิเศษ" รอบที่ 18 โฆษก ศบค. โดย นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน มีเหตุผล "เพื่อให้สอดรับกับการก้าวเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น"
แม้มาตรการป้องกันโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จะค่อย ๆ ได้รับการผ่อนคลายลงตามลำดับ ต้องปฏิบัติการมาตราการร่วมกันเพื่อป้องกันความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ
อ้างอิงจาก:
https://www.bbc.com/thai/thailand-61642967
https://www.bangkokbiznews.com/news/1007277

















