ช้าง LGBT!! ผลสำรวจพบว่า 46% ของ ช้างเอเชียที่เลี้ยงไว้นั้น รักร่วมเพศ
ช้าง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่ในวงศ์ Elephantidae ปัจจุบันรับรองว่ามีอยู่ 3 สปีชีส์ คือ ช้างแอฟริกา, ช้างป่าแอฟริกา และช้างเอเชีย วงศ์ Elephantidae
เป็นวงศ์เดียวที่ยังไม่สูญพันธุ์ในอันดับ Proboscidea สมาชิกที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น มาสโตดอน (mastodon) วงศ์ Elephantidae ยังมีกลุ่มที่บัดนี้สูญพันธุ์ไปแล้วหลายกลุ่ม รวมทั้งช้างแมมมอธและช้างงาตรง ช้างแอฟริกามีหูขนาดใหญ่กว่าและหลังเว้า
ส่วนช้างเอเชียมีหูขนาดเล็กกว่าและมีหลังนูนหรือราบ ลักษณะเด่นของช้างทุกชนิดได้แก่ งวงยาว หูกางขนาดใหญ่ ขาใหญ่ และผิวหนังที่หนาแต่ละเอียดอ่อน งวงใช้สำหรับการหายใจ หยิบจับอาหารและน้ำเข้าปา และคว้าวัตถุ งาซึ่งดัดแปลงมาจากฟันตัด
ใช้เป็นทั้งอาวุธและเครื่องมือสำหรับเคลื่อนย้ายวัตถุและขุดดิน หูกางขนาดใหญ่ช่วยในการคงอุณหภูมิกายให้คงที่ เช่นเดียวกับใช้ในการสื่อสาร ขาใหญ่เหมือนเสารองรับน้ำหนักตัว ช้างเป็นสัตว์บกขนาดใหญ่สุดเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ช้างกระจัดกระจายอยู่ทั่วแอฟริกาใต้สะฮารา เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบได้ในที่อยู่อาศัยหลากหลาย ทั้งสะวันนา ป่า ทะเลทรายและที่ลุ่มชื้นแฉะ ช้างเป็นสัตว์กินพืช และอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำเมื่อสามารถเข้าถึงได้ ช้างถือเป็นสิ่งมีชีวิตหลัก
เนื่องจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สัตว์อื่นมักรักษาระยะห่างจากช้าง โดยมีข้อยกเว้นคือสัตว์นักล่าช้าง เช่น สิงโต เสือโคร่ง ไฮยีนาและหมาป่าทุกชนิด ซึ่งปกติมักเลือกช้างอ่อนเป็นเป้าหมายเท่านั้น ช้างมีสังคมฟิชชัน–ฟิวชัน หมายความว่า
กลุ่มครอบครัวหลายกลุ่มมารวมกันเข้าสังคม ช้างเพศเมีย (ช้างพัง) มักอาศัยอยู่เป็นกลุ่มครอบครัว ซึ่งอาจประกอบด้วยช้างเพศเมียหนึ่งตัวและลูกช้างหรือช้างเพศเมียหลายตัวที่มีความเกี่ยวดองกันกับลูก ๆ โดยไม่มีช้างเพศผู้ (ช้างพลาย) กลุ่มนี้มีช้างพังที่ปกติอายุมากที่สุดเป็นหัวหน้า
เพศผู้จะเริ่มต้นการเกี้ยวพาราสีและเพศเมียจะเพิกเฉยต่อมันเป็นเวลาหลายนาที จากนั้นช้างเพศผู้จะหยุดและเริ่มเกี้ยวอีกครั้ง ช้างจะแสดงท่าทางความรักใคร่ อย่างเช่น การดุนด้วยจมูก การคล้องงวง และการวางงวงของตนไว้ในปากของอีกฝ่ายหนึ่ง
การแสดงการเกี้ยวพาราสีอาจกินเวลานาน 20-30 นาที และไม่จำเป็นที่ว่าเพศผู้จะได้ผสมพันธุ์กับเพศเมียเสมอไปแม้ว่าเพศผู้จะแสดงการเร้าอารมณ์เพศเมียก็ตาม และช้างเพศเมียเองก็ไม่ได้เป็นฝ่ายอยู่เฉยในการเกี้ยวพาราสีเช่นกัน และใช้ท่าทางเดียวกับเพศผู้ด้วย
ช้างแอฟริกาเช่นเดียวกับช้างเอเชียเพศผู้ยังมีความสัมพันธ์กับเพศเดียวกันอีกด้วย ซึ่งจะมีการแสดงพฤติกรรมออกเช่นเดียวกับการเกี้ยวพาราสีต่างเพศ ช้างเพศผู้ตัวหนึ่งจะยื่นงวงออกไปตามหลังของอีกตัวหนึ่งและตามด้วยงาเพื่อแสดงเจตนาที่จะมีความสัมพันธ์
ไม่เหมือนกับความสัมพันธ์แบบต่างเพศ ซึ่งมักจะเป็นเพียงชั่วคราวตามธรรมชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างช้างเพศผู้ด้วยกันนั้นจะกลายมาเป็น "มิตรภาพ"
ซึ่งประกอบด้วยช้างเพศผู้ที่มีอายุมากกว่าตัวหนึ่งกับบริวารตัวที่อ่อนกว่าอีกหนึ่งหรือสองตัว ความสัมพันธ์ในเพศเดียวกันนั้นเป็นเรื่องปกติและพบได้บ่อยในช้างทั้งสองเพศ โดยช้างเอเชียที่เลี้ยงไว้พบว่ามีความสัมพันธ์ทางเพศกว่า 46% เป็นกิจกรรมระหว่างเพศเดียวกัน
อ้างอิงจาก: https://th.wikipedia.org/wiki/ช้างเอเชีย
https://th.wikipedia.org/wiki/ช้างเอเชีย