"ฟองน้ำทะเล" สัตว์ทะเล ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก สืบพันธุ์ด้วยอสุจิ
ฟองน้ำ เป็นสปีชีส์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก รองจาก Cyanobacteria (2.8 พันล้านปี) มีอายุมายาวนาน 580 ล้านปี
ฟองน้ำเป็นสัตว์ทะเล สัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกฟองน้ำ ที่หลายๆคนเข้าใจผิดคิดว่า มันเป็นพืชชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ ฟองน้ำเป็นสัตว์ที่ไม่มีอวัยวะภายใน ไม่มีแขน และไม่มีหัว พวกมันยังมีความสามารถในการสร้างอวัยวะใหม่ขึ้นทดแทนส่วนที่ถูกตัดหรือหายไป
ฟองน้ำเป็นสัตว์ในไฟลัมพอริเฟอรา ( Porifera ) เป็นเคลดฐานของสัตว์ ในฐานะเป็นเคลดพี่น้องกับยูเมทาซัว ฟองน้ำเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่ร่างกายเต็มไปด้วยรูและช่องทางสำหรับให้น้ำไหลเวียนเข้าไป โดยประกอบด้วยเมโซฮิลที่คล้ายวุ้นขนาบด้วยชั้นเซลล์บาง ๆ สองชั้น สาขาของสัตววิทยาที่ศึกษาฟองน้ำเรียกว่า spongiology
ฟองน้ำมีเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถแปลงไปเป็นเซลล์ประเภทอื่นได้ และมักจะย้ายที่ไปมาระหว่างชั้นเซลล์หลักและเมโซฮิลในกระบวนการการแปลง ฟองน้ำไม่มีระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร หรือระบบไหลเวียน
แต่ฟองน้ำเหล่านี้ใช้น้ำที่ไหลเวียนเข้าออกนั้นเป็นแหล่งอาหารและออกซิเจน และใช้ขับถ่ายของเสีย ฟองน้ำเป็นสัตว์กลุ่มแรกที่แยกสายวิวัฒนาการออกจากบรรพบุรุษร่วมของสัตว์ทุกชนิด จึงทำให้ฟองน้ำเป็นกลุ่มพี่น้องกับสัตว์อื่น ๆ ทุกชนิด
ผนังลำตัวประกอบด้วยการเรียงตัวของเซลล์ 2 ชั้นหลัก
1.ชั้นเซลล์ผิวด้านนอกหรือพินาโคเดิร์ม (Pinacoderm) ประกอบขึ้นจากเซลล์พินาโคไซท์ (Pinacocyte) เปรียบเสมือนผิวหนังชั้นนอกของสัตว์
2.ชั้นเซลล์ผิวด้านในหรือโคเอโนเดิร์ม (Choanoderm) ประกอบขึ้นจากเซลล์โคเอโนไซท์ (Choanocyte) หรือ เซลล์ปลอกคอ (Collar Cell)
3.และแฟลเจลลัม (Flagellum) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายแส้โบกสบัด เพื่อเร่งการไหลเวียนของน้ำและดักจับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเป็นอาหาร
ในระหว่างเนื้อเยื่อทั้ง 2 ชั้น มี “เมเซนไคม์” (Mesenchyme) อยู่กึ่งกลาง มีลักษณะคล้ายวุ้นที่ประกอบขึ้นจากเซลล์ชนิดพิเศษที่เรียกว่า “อะมีโบไซต์” (Amoebocyte) ซึ่งสามารถเคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆ ตามที่ต้องการได้
แบบไม่อาศัยเพศ
สืบพันธุ์โดยการแตกหน่อด้วยการสร้างเจมมูล (gemmule) การสร้างเจมมูลจะเกิดในฟองน้ำที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด เมื่อพบสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสมเช่นอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป หรือแห้งแล้งเกินไป กลุ่มเซลล์อาร์คีโอไซต์ ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์อะมีโบไซต์ ซึ่งหลังจากนั้นจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้วจึงสร้างหรือขวากมาห่อหุ้มไว้จนกลายเป็นเจมมูล ซึ่งทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี ถึงแม้ฟองน้ำตัวแม่จะตายไป เจมมูลจะยังคงดำรงชีวิตอยู่ได้ เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมแล้ว เจมมูลจะรวมกลุ่มกันจนกลายเป็นฟองน้ำตัวใหม่ต่อไป
แบบอาศัยเพศ
ฟองน้ำจะสร้างอสุจิและไข่จากเซลล์อาร์คีโอไซต์ ซึ่งอยู่ในชั้น Mesohyl กระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศนั้นจะเกิดขึ้นในตัวของฟองน้ำ เมื่ออสุจิเพศผู้ผสมกับไข่เพศเมียได้จากไซโกต เจริญเติบโตจนเป็นตัวอ่อนที่ขนเซลล์รอบตัวแล้ว ตัวอ่อนจะเคลื่อนตัวออกจากตัวแม่ผ่านทางออสคูลัม เพื่อว่ายน้ำไปเกาะตามหินและสืบพันธุ์ฟองน้ำตัวใหม่ต่อ ๆ ไป
พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดอย่างกว้างขวางทั้งในทวีปยุโรป, เอเชีย และออสเตรเลีย และมีแนวโน้มว่าจะอยู่จำแนกออกเป็นชนิดใหม่
ในประเทศไทยเคยรายงานพบที่ทะเลน้อย ส่วนหนึ่งของทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา รวมทั้งบ่อบัวภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม มีสีเขียวเนื่องจากมีสาหร่ายเซลล์เดียวอาศัยอยู่ด้วย ในระยะที่ยังเป็นวัยอ่อนหรือเป็นเจมมูลจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหลโดยมีเปลือกเคลือบ เมื่อสภาวะเหมาะสมจะแตกตัวเป็นก้อนกลม ๆ ใส ๆ เกาะไปกับวัสดุประเภทต่าง ๆ ใต้น้ำ เช่น กิ่งก้านของพืชน้ำ หรือก้อนหิน เมื่อถึงวัยเจริญเต็มที่จะแตกแขนงคล้ายเขากวาง หรือปะการังเขากวาง
กินอาหารแบบกรองกินแพลงก์ตอนหรือแบคทีเรียที่ล่องลอยในกระแสน้ำ เจริญเติบโตได้ดีในที่ ๆ มีแสงสว่าง แต่ไม่ใช่แสงจ้าหรือแสงแดดโดยตรง สามารถนำมาเพาะเลี้ยงได้ในตู้ปลาหรือที่เลี้ยง แต่ทว่าเลี้ยงให้รอดได้ค่อนข้างยาก
นอกจากนี้แล้วสาหร่ายสีเขียวในฟองน้ำน้ำจืดชนิดนี้ สามารถสกัดออกมาเป็นสารขัดหน้าช่วยรักษาสิวได้
อ้างอิงจาก: https://th.wikipedia.org/wiki/Spongilla_lacustris
https://th.wikipedia.org/wiki/ฟองน้ำ