กะเรกะร่อนอินทนนท์ กล้วยไม้ป่าพื้นเมืองที่พบได้ในไทย
กะเรกะร่อนอินทนนท์ มีชื่อท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปเช่น เอื้องกำเบ้อ ผีเสื้อ เอื้องชาด เอื้องดินเนอ เอื้องช้าง เอื้องหงส์ทอง เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ดอก ออกเป็นช่อจากโคนกอ ยาว 60-80 เซนติเมตร จำนวน 5-12 ดอกต่อช่อ กลีบเลี้ยงและกลีบดอก สีเหลืองแกมเขียว มีขีดตามยาวสีน้ำตาลเข้ม กลีบปากสีเหลือง มีประสีน้ำตาลเข้ม
พบตามป่าดิบเขาที่ระดับความสูง 1,000-2,000 เมตร ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ออกจะดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
ใบ : ใบรูปแถบแบบเข็มขัด ปลายสอบ ขนาดใบกว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 50 - 90 ซม.
ดอก : ช่อดอกออกจากโคนต้น ยาว 60 - 80 ซม. จำนวนดอกในช่อ 5 - 12 ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว มีขีดตามยาวสีน้ำตาลเข้ม กลีบปากสีเหลือง มีประสีน้ำตาลเข้ม ดอกบานเต็มที่กว้าง 10 ซม.
ฤดูดอก : พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ทางภาคเหนือและภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ
เขตการกระจายพันธุ์ : พม่า