กระจ่าง เหตุที่สไปรท์เปลี่ยนจากขวดเขียวเป็นใส รสชาติเดียวกันแต่มีจุดต่างกัน
เมื่อ บ. เดอะโคคา-โคล่า คัมปะนี ประกาศ เปลี่ยน ขวดพลาสติกสีเขียวในเครื่องดื่ม “สไปรท์” มาใช้ขวดพลาสติก PET แบบใสแทน นับเป็นการเดินหมากก้าวสำคัญของแผน รีไซเคิลขวดพลาสติกครั้งสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในขณะที่หลายๆ แบรนด์ พยายามทำขวด PET สีๆ เพื่อความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ บางยี่ห้อใส่สีมันตั้งแต่ น้ำ ขวด ฉลาก ซึ่งส่งผลให้การรีไซเคิลยากขึ้นมาก
.
โดยปกติ ขวด PET จะถูกนำไปรีไซเคิลสองทางคือ ทำเป็นเส้นใยโพลิเอสเตอร์สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ หรือ นำไปรีไซเคิลเป็นขวดใหม่อีกครั้ง(ใช้ที่ต่างประเทศ) ซึ่งการนำไปใช้ทั้งสองแบบ มันควรจะไม่มีสีผสมอยู่เลย
.
เส้นใยโพลิเอสเตอร์ถ้ามีสีอยู่ก่อนก็ย้อมสีใหม่ได้ยาก
ขวดรีไซเคิลถ้ามีสีอยู่ก่อน สีก็จะหม่นๆ ไม่น่าใช้
ดังนั้นพลาสติกที่ไม่ใส่สีอะไรเลยจะนำไปใช้ต่อง่ายที่สุด (และราคาดีที่สุดด้วย)
.
พอมีขวด PET สีขึ้นมาในตลาด จึงต้องหาทางใปใหม่ให้พวกมัน ซึ่งตอนนี้ทางไปที่ว่าคือ สายรัดของ ซึ่งปกติจะใช้พลาสติก PP
แต่อย่างว่า สายรัดของไม่ได้ใช้กันเยอะขนาดนั้น ไม่พอที่จะรองรับปริมาณขวดที่บริโภคกันหลักหมื่นหลักแสนขวดต่อวัน ทำให้ราคา PET สี ต่ำมากๆ ต่ำจนแทบไม่มีใครรับซื้อให้เสียพื้นที่ร้าน
.
ต้องขอชื่นชม บ.โคคาโคล่า ที่กล้าตัดสินใจเปลี่ยนสีที่ใช้มาตั้งแต่ปี 1961 ในครั้งนี้ เพื่อให้การรีไซเคิลง่ายขึ้นมาก
.
ยุคนี้การดีไซน์ด้วยหลักการตลาดอย่างเดียวอาจจะไม่พอแล้ว ต้องคำนึงถึงหลักการหมุนเวียนทรัพยากรด้วย
.
สรุป ขวดเขียวรีไซเคิลยาก เลยเปลี่ยนเป็นขาวใสซาเล้งเลยไม่ค่อยอยากจะรับ รถชาติดั้งเดิม ย้ำไม่ใช่คนละสูตร สูตรเดิมครับ เปลี่ยนขวดเฉยๆ
จุดต่างกัน คือตรงนีัแหละ.....ราคาในเว็บไซต์ของผู้เล่นรายใหญ่ของวงการรับซื้อของเก่าอย่าง "วงษ์พาณิชย์" พบว่าพลาสติก PET แบบใสมีราคาต่ำกว่า PET สี ค่อนข้างเยอะ .....
-ขวดน้ำ PET ใส ราคา 6 บาท/กิโลกรัม
-ขวดน้ำ PET สีเขียว ราคา 1 บาท/กิโลกรัม
-ขวดน้ำ PET ใส (สกรีน) ราคา 0.50 บาท/กิโลกรัม ราคา ณ พฤศจิกายน 2562