ลำไย หวานฉ่ำ
ลำไย..ผลไม้รสหวานหอม
ลำไย ภาษาอังกฤษ เรียก Longan
ชื่อวิทยาศาสตร์ของลำไย คือ Dimocarpus longan Lour.
ถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย รวมถึงประเทศไทย แหล่งปลูกคือ เชียงใหม่ และลำพูน
สายพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 6 สายพันธุ์ คือ
-ลำไยกะโหลก (ลำไยพันธุ์ดี) เป็นสายพันธุ์ของลำไย แบ่งย่อยเป็นลำไยสีชมพู ลำไยตลับนาค ลำไยเบี้ยวเขียว ลำไยอีแดง ลำไยอีดอ ลำไยอีดำ ลำไยอีแห้ว ลำไยอีเหลือง ลำไยพวงทอง ลำไยเพชรสาครทวาย ลำไยปู่มาตีนโค้ง เป็นต้น ผลใหญ่ เนื้อหนา รสหวาน
-ลำไยกระดูก หรือลำไยพื้นเมือง (ลำไยป่า) เป็นพันธุ์พื้นเมือง มีการอนุรักษ์ไว้ ไม่นิยมปลูกเพราะขายไม่ได้ราคา ผลมีขนาดเล็ก น้ำมาก เนื้อน้อย รสไม่หวาน ปลูกง่าย
-ลำไยกะลา หรือลำไยธรรมดา ผลมีขนาดกลาง เนื้อจะค่อนข้างหนากว่าลำไยกระดูก เนื้อกรอบ บาง มีน้ำมาก ให้ผลค่อนข้างดก
-ลำไยสายน้ำผึ้ง จะคล้ายลำไยธรรมดา เนื้อมีสีเหลืองอ่อน รสดี อร่อย กลิ่นหมอ กรอบ เมล็ดมีขนาดเล็ก
-ลำไยเถา หรือลำไยเครือ (ลำไยชลบุรี) เป็นลำไยไม้ต้นรอเลื้อย ต้นไม่มีแก่นแข็ง จึงพันกับหลักยึดได้ ผลเล็ก เม็ดโตกว่าลำไยบ้าน เนื้อบาง เนื้อน้อย มีกลิ่นฉุนคล้ายกำมะถัน นิยมปลูกไว้ประดับมากกว่าไว้รับประทาน ชอบขึ้นตามป่าเขาที่มีไม้ใหญ่
-ลำไยขาว พันธุ์นี้หายาก เป็นพันธุ์โบราณ เชื่อว่าเคยสูญพันธุ์ไปแล้วจากประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2554 มีการตอนเพื่อขยายพันธุ์อีกครั้ง ผลจะเล็กกว่าลำไยทั่วไป เปลือกสีน้ำตาลอ่อนจนเกือบขาว เนื้อมีสีขาวใส เมล็ดลีบ รสค่อนข้างหวาน
ประโยชน์ของลำไย
นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของลำไยขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 60 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย
-คาร์โบไฮเดรต 15.14 กรัม
-กากใยอาหาร 1.1 กรัม
-ไขมัน 0.12 กรัม
-โปรตีน 1.31 กรัม
-วิตามินบี 1 0.031 มิลลิกรัม
-วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม
-วิตามินบี3 0.3 มิลลิกรัม
-วิตามินซี 84 มิลลิกรัม
-ธาตุแคลเซียม 1 มิลลิกรัม
-ธาตุเหล็ก 0.13 มิลลิกรัม
-ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม
-ธาตุแมงกานีส 0.052 มิลลิกรัม
-ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม
-ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม
-ธาตุสังกะสี 0.05 มิลลิกรัม
สรรพคุณของลำไย
ใบ บรรเทาอาการไข้หวัด รักษาโรคมาลาเรีย รักษาโรคริดสีดวงทวาร รักษาแผลหนอง
ดอก สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่วในไต
ผลลำไย บำรุงม้าม บำรุงเลือดลม บำรุงหัวใจ บำรุงร่างกาย รักษาอาการนอนไม่หลับ อาการอ่อนเพลีย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็งได้ เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ลดการเสื่อมของข้อเข่า บำรุงประสาทและสมอง ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยลดอาการปวดจากข้ออักเสบ นอนหลับสบาย และช่วยให้เจริญอาหาร กินข้าวได้มากขึ้น เหมาะสำหรับคนที่ร่างกายซูบผอม ต้องการเพิ่มน้ำหนักตัว
เมล็ด รักษาแผลเน่าเปื่อย ลดอาการคัน ขับปัสสาวะ แก้ปวด รักษาแผลอักเสบ รักษาแผลหนอง ช่วยสมานแผล รักษากลากเกลื้อน
เปลือก ของลำต้นช่วยรักษาอาการท้องร่วง แก้อ่อนเพลีย รักษาแผลน้ำร้อนลวก
ราก รักษาอาการตกขาว ช่วยขับพยาธิ
สรรพคุณของลำไย เช่น บำรุงกำลัง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผล บำรุงผิวพรรณ เป็นต้น
โทษของลำไย
หากรับประทานลำไยมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการร้อนใน หรือ แผลในช่องปาก และ ตาแฉะน้ำตาไหล ดังนั้น ควรรับประทานแต่พอดี
ผู้ที่มีอาการเจ็บคออยู่แล้ว มีอาการไอมีเสมหะ มีหนองเป็นแผลอักเสบ ไม่ควรรับประทาน เพราะ การปลอกลำไยรับประทาน จะทำให้เนื้อลำไยด้านใน สัมพัสกับเปลือกด้านนอก ซึ่งอาจจะมีเชื้อโรคต่างๆอยู่ จึงเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ ในระบบทางเดินหายใจ และ ทางเดินอาหาร
อ้างอิงจาก: https://fongza.com/ลำไย/
https://th.wikipedia.org/wiki/ลำไย
ภาพโดย 澍 龙 จาก Pixabay
ภาพโดย Darno Bege จาก Pixabay