9 โรคที่มากับโรคที่มากับหน้าร้อน
เชื่อว่าหลายท่านรับรู้ได้ถึงอากาศร้อนระอุที่มักมีสัญญาณเตือนว่าฤดูร้อนเริ่มต้นขึ้นแล้ว แต่ร้อน ๆ แบบนี้คงไม่มีเพียงแค่อากาศที่ร้อนเท่านั้น เนื่องจากว่า อากาศที่ร้อนขึ้นส่งผลให้เกิดความแห้งแล้ง ซึ่งอากาศแบบนี้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะเชื้อโรคที่มากับแบคทีเรีย และนี่จะเป็นต้นสายปลายเหตุของโรคทั้ง9 ด้วย
- โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
โรคนี้เกิดจากการดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารที่มีเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย โปรโตซัว พยาธิปนเปื้อนทำให้เกิดการถ่ายอุจจาระเหลว ปนเลือด หรือมูกเมือก โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันเป็นโรคที่พบบ่อย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีสุขอนามัยที่ไม่ดีผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะถ่ายอุจจาระเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงนักและมักจะหายได้เอง ส่วนใหญ่ก็จะพบได้ในหน้าร้อนและอากาศร้อนทำให้น้ำดื่มและอาหารเสียได้ง่ายทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียและเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันนั่นเอง
2.โรคอาหารเป็นพิษ
โรคอาหารเป็นพิษสามารถติดต่อกันโดยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ มักพบได้ในอาหารที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ ที่มีอยู่ในทั้งเนื้อสัตว์ ไข่ อาหารกระป๋อง อาหารทะเล นมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ หรืออาหารที่ปรุงไว้นานๆ ซึ่งคนที่ได้รับเชื้อเข้าไปมักมีไข้ ปวดท้อง ซึ่งเชื้อที่ได้รับทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะอาหารและลำไส้จึงทำให้มีอาการปวดท้อง ปวดเมื่อย คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วงหรือมีการติดเชื้อจากอวัยวะอื่น ๆ เช่น ข้อกระดูก ถุงน้ำดี หัวใจ ปอด ไต เยื่อหุ้มสมอง ไปจนถึงโลหิตเป็นพิษ ซึ่งหากเกิดในทารก- เด็กเล็ก- ผู้สูงอายุ มีโอกาสทำให้เสียชีวิตได้
3.โรคบิด
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรืออะมีบาที่สามารถติดต่อได้ทั้งผ่านการรับประทานผักดิบ รับประทานอาหาร น้ำดื่ม ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ หากติดเชื้อมักมีไข้ ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระบ่อย และอากาจทำใหอุจจาระเป็นเลือด
4.อหิวาตกโรค
เกิดจากเชื้ออหิวาตกโรค ซึ่งเป็นเชื่อแบคทีเรียที่มีต่อน้ำดื่มและ อาหารที่มีเชื้อปะปนอยู่ และถ้าหากติดเชื้อจากโรคนี้จะทำให้เราถ่ายอุจจาระครั้งละมาก ๆ โดยที่ไม่มีอาการปวดท้องแต่อย่างใด อาการจะขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว มีความกระหายน้ำ อ่อนเพลีย ปัสสาวะน้อย ชีพจรเต้นเร็ว ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการช็อกและหมดสติจากการสูญเสียน้ำ และในบางกรณีอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
- ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย
เป็นอีกหนึ่งโรคที่สามารถติดต่อได้จากอาหาร และน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ ซึ่งโรคไทฟอยด์ทำให้ผู้ป่วยมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเบื่ออาหาร และอาจท้องผูกได้ นอกจากนี้เชื้ออาจปนออกมาพร้อมกับอุจจาระและปัสสาวะเป็นครั้งคราว ทำให้ผู้ที่ได้รับเชื้อเป็นพาหะนำโรค
6.โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ
ส่วนใหญ่มักเกิดกับสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นำาหะนำโรคมาสู้คน มักพบได้จากสุนัขและแมว การแพร่กระจายของเชื้ออาจมาจากการ ถูกกัด เลีย บริเวณที่มีแผลถลอก หรือแม้แต่น้ำลายสัตว์ ที่มีเชื้อเข้าตา ปาก จมูก ในรายที่ถูกกัดให้รีบทำการล้างแผลด้วยสบู่หรือน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้งแล้วรีบไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันและแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ควบคุมโรคในพื้นที่ทันที ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการภายในตั้งแต่15-60วัน หรือมากกว่า6เดือนก็มี ซึ่งปัจจุบันนี้โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำยังไม่มียาในการรักษา ซึ่งอาจเสียชีวิตลงได้เพียงแค่2-7 วันหลังจากที่แสดงอาการ
7.โรคระบบทางเดินหายใจ
สำหรับโรคระบบทางเดินหายใจในช่วงฤดูร้อนมักมีผลทำให้มีผู้ป่วยสูงขึ้น เนื่องจากร่างกายปรับสภาพตามไม่ทัน บางวันอากาศดี บางวันก็แสนจะอบอ้าว แน่นอนว่าร่างกายที่ถูกใช้งานทุกวัน ๆ ทำให้ต้องสูญเสียภูมิคุ้มกันไปบ้าง ซึ่งระยะเริ่มต้นของโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจก็มี ไข้หวัด ไอ หลอดลมอักเสบ จาม หายใจหอบเหนื่อย ปอดอักเสบรวมไปถึงปอดติดเชื้อ จะพบได้ในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่และเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ของโรคติดเชื้อในเด็ก
8.โรคลมแดดหรือ ฮีตสโตรก
ถือเป็นอาการของโรคที่พบได้บ่อย ๆ ทั้งจากคนและสัตว์ ในช่วงหน้าร้อน อยู่ในที่อากาศไม่ถ่ายเทหรือบางช่วงที่ต้องไปกิจกรรมกลางแจ้งทีมี่แดดจัด ๆ ก็ทำให้ร่างกายมีปรับอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ หากไม่ได้หยุกพักหรืออยู่ในที่ร่มเลยก็อาจส่งผลต่อระบบภายในได้ เช่น หัวใจทำงานผิดปกติ มีอาการปวดศีรษะ กล้ามเนื้อมีการหดเกร็ง
บางรายที่ปล่อยให้อาการไม่ดีขึ้นก็หมดสติไปในพื้นที่หรือเสียชีวิตลงในที่สุด
9.โรคไข้เลือดออก
ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากไวรัสเดงกี เป็นไวรัสที่ขยายอยู่ในยุง ซึ่งยุงจะเป็นสัตว์ที่มักเพิ่มจำนวนในช่วงอากาศที่ร้อนหรือพื้นที่ที่มีความอบอุ่นผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นอาจเกิดโรคแทรกซ้อน ในกลุ่มเสี่ยงคือ เด็ก -ผู้สูงอายุ- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ มีโรคปอด ตับ ไต - โรคอ้วน
ดังนั้นสิ่งที่ควรทำเป็นที่สุดคือการหลีกเลี่ยงโรคภัยไข้เจ็บในช่วงหน้าร้อนด้วยการ เลือกรับประทานอาหารที่ผ่านการทำให้สุก100% รับประทานอาหารที่ปรุงเสร็จทันทีไม่รับประทานอาหารที่ปรุงทิ้งไว้นาน ไม่รับประทานอาหารที่มีแมลงวัน แมลงหวี่ตอม และใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกันกับผู้อื่นเสมอก็จะช่วยให้ลดการติดเชื้อหรือสะสมเชื้อจนเกิดอันตรายแก่ตนเองและผู้อื่น
Reference:
- 1. กองระบาดวิทยา/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรคhttps://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=17604&deptcode=
- 2. วารสารเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม - มิถุนายน 2560
- https://www.drugs.com/pregnancy/rabies-vaccine-human-diploid-cell.html
อ้างอิงจาก: pixabay