ญี่ปุ่น: แบคทีเรียในลำไส้ อาจอยู่เบื้องหลังการเสียชีวิตจากโควิด-19 ในอัตราที่ต่ำ
ญี่ปุ่น: แบคทีเรียในลำไส้ อาจอยู่เบื้องหลังการเสียชีวิตจากโควิด-19 ในอัตราที่ต่ำ
14 มกราคม 2022
ผลการศึกษาวิจัย ที่มหาวิทยาลัยนาโกย่า นำโดยทีมนักวิจัยพบว่า แบคทีเรียในลำไส้จำนวนมหาศาลที่รู้จักกันในการยับยั้งการจับของ coronavirus กับเซลล์ตัวรับของมนุษย์ มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทในอัตราการเสียชีวิตจาก COVID-19 ที่ต่ำ ซึ่งพบได้ในเอเชียและยุโรปเหนือ
นักวิทยาศาสตร์หลายคน คาดการณ์ว่าอาจมีปัจจัยมาจาก X-factor เมื่อพูดถึงอัตราการเสียชีวิตที่ต่ำจาก COVID-19 ในเอเชีย รวมถึงญี่ปุ่น และบางประเทศในยุโรปเหนือ เช่น ฟินแลนด์ ความแตกต่างทางพันธุกรรมและภูมิคุ้มกัน ตลอดจนการใช้วัคซีนบีซีจีในวัยเด็กเพื่อป้องกันวัณโรค มักถูกอ้างถึงว่าเป็นสาเหตุที่เป็นไปได้
การศึกษาในหลอดทดลองโดยมหาวิทยาลัยการแพทย์ ประจำจังหวัดเกียวโต ยังแสดงให้เห็นว่าสารประกอบในชาเขียว ที่เรียกว่าคาเทชิน ช่วยลดการติดเชื้อของ coronavirus ได้อย่างมีนัยสำคัญ
เป็นที่ทราบกันดีว่าตัวกลายพันธุ์โอไมครอนที่แพร่ระบาดได้เร็ว ทำให้เกิดผลที่ร้ายแรงน้อยกว่าตัวเดลต้า และอัตราการตายได้ลดลงเทียบได้กับไข้หวัดใหญ่ไม่มากก็น้อย
แต่อัตราการเสียชีวิตจากโควิด-19 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอายุ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ โรคอ้วน โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ และประวัติการติดเชื้อทางเดินหายใจ แม้ว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 จะสามารถควบคุมความเป็นไปได้ของการเจ็บป่วยที่รุนแรงและการเสียชีวิต
เพื่อให้กระจ่างถึงปัจจัยลึกลับที่อาจอยู่เบื้องหลังอัตราการเสียชีวิตที่ต่ำ ในบางประเทศ นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนาโกย่าได้วิเคราะห์ข้อมูลดิบการจัดลำดับของจุลินทรีย์ในลำไส้ ในอาสาสมัครสุขภาพดี 953 คน ใน 10 ประเทศ จากฐานข้อมูลสาธารณะ
ทีมงานวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของแบคทีเรียในลำไส้กับอัตราการเสียชีวิตของโควิด-19 โดยใช้โมเดล Machine Learning ชั้นสูงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ซึ่งยังไม่มีวัคซีนให้บริการโดยทั่วไป วิเคราะห์แบคทีเรียในลำไส้ที่สำคัญ 30 ตัว และพบว่าคนที่มีคอลลินเซลลา (collinsella) จำนวนน้อยที่สุด เป็นปัจจัยทำนายสูงสุด ในอัตราการเสียชีวิตที่สูงจากโควิด-19 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติสูง อย่างเห็นได้ชัด
จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ได้จัดหมวดหมู่ข้อมูลออกเป็นระบบนิเวศของแบคทีเรียในลำไส้ 5 ประเภท ที่เรียกว่า enterotypes โดยพิจารณาจากความคล้ายคลึงกันขององค์ประกอบของจุลินทรีย์
พวกเขาเปรียบเทียบกับอัตราการเสียชีวิตใน 10 ประเทศ และพบว่าระดับของคอลลินเซลลามีความสัมพันธ์เชิงลบกับการตาย
ในกรณีที่อัตราการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ต่ำ เช่น ในเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และฟินแลนด์ พบว่า enterotype ที่มีปริมาณคอลลินเซลลาสูงที่สุด มีอิทธิพลเหนือกว่า โดยคิดเป็น 34% ถึง 61% ของทั้งหมด ในเบลเยียม อังกฤษ อิตาลี และสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตสูง enterotypes ที่มี collinsella ต่ำที่สุด 2 ระดับมีความโดดเด่น และมีเพียง 4% ถึง 18% เท่านั้นที่มี enterotype ที่มีจำนวนมากที่สุด ประเทศอื่น ๆ ที่ตรวจสอบ ได้แก่ แคนาดา เยอรมนี และเม็กซิโก
“ไม่ได้บอกว่าแบคทีเรียในลำไส้เพียงอย่างเดียวสามารถรักษา COVID-19 ได้” มาซาอากิ ฮิรายามะ หัวหน้านักวิจัยของการศึกษาวิจัย ซึ่งเป็นรองศาสตราจารย์แห่ง Graduate School of Medicine ของมหาวิทยาลัยกล่าว
"จุดประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือเพื่อดูว่าเราสามารถพัฒนาวิธีการรักษาได้หรือไม่ถ้าเราสามารถพบสิ่งที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย X อย่างน้อยหนึ่งอย่าง"
Hirayama กล่าวว่า collinsella เปลี่ยนกรดน้ำดีในลำไส้ (gut’s bile acids) ให้เป็นกรด ursodeoxycholic ซึ่งทราบกันดีว่าสามารถยับยั้งการยึดติดของ coronavirus กับเซลล์ตัวรับและยับยั้งการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน ที่อาจเป็นอันตรายถึงตาย ที่เรียกว่าพายุไซโตไคน์ (cytokine storm)
การศึกษานี้ผ่านการตรวจสอบโดยนักวิจัยอื่น ๆ อย่างเต็มรูปแบบและได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Plos One ด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ของสหรัฐฯ เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนาโกย่า กล่าวว่าปัจจัยที่หลากหลาย เช่น อายุและความเครียด อาจส่งผลต่อจุลินทรีย์ในลำไส้ แต่คาดว่าเอนเทอโรไทป์ จะได้รับผลกระทบจากการบริโภคอาหาร และไม่เกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับเชื้อชาติหรือเพศ
ฮิรายามะกล่าวว่า ยังไม่ชัดเจนว่าอัตราการตายสูงขึ้นสำหรับผู้ได้รับวัคซีน แต่มีระดับคอลลินเซลลาต่ำกว่าหรือไม่? แต่จากผลการศึกษา เขาได้เริ่มทำการวิจัยร่วมกับแพทย์ด้านยาระบบทางเดินหายใจแล้ว เพื่อดูว่าสารที่ผลิตโดยแบคทีเรียในลำไส้นี้มีบทบาทหรือไม่ ที่ทำให้ผู้ป่วยบางรายป่วยหนักในขณะที่คนอื่นๆ ไม่่เป็นเช่นนั้น
“กรณีร้ายแรงของโรคได้ลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากการฉีดวัคซีน ดังนั้นผมไม่คิดว่าเราจำเป็นต้องกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับระดับคอลลินเซลลาที่ต่ำในคนญี่ปุ่นบางคน” เขากล่าว
“อันที่จริง คนญี่ปุ่นและชาวเอเชียส่วนใหญ่มีบิฟิโดแบคทีเรีย (bifidobacteria) และคอลลินเซลลา (collinsella) ในระดับสูง"
ที่มา: https://www.japantimes.co.jp/news/2022/01/14/national/intestinal-bacteria-covid19-mortality-rates/