ติวเข้มชุดปฏิบัติการต้าน IUU ลุยทันที แยกน้ำดี น้ำเสีย ไร้ Double Standard ไม่เว้นเจ้าหน้าที่รัฐ
ติวเข้มชุดปฏิบัติการต้าน IUU ลุยทันที
แยกน้ำดี น้ำเสีย ไร้ Double Standard ไม่เว้นเจ้าหน้าที่รัฐ
อย่ายอมแพ้ ตราบเท่าที่ยังมีความหวัง แต่อย่าหวังจนเกินเหตุผล เพราะนั่นสะท้อนให้เห็นถึง ความปรารถนามากกว่าการพินิจพิจารณา.....สภาวะของทรัพยากรประมงทะเลในปัจจุบันอยู่ในภาวะวิกฤติ สัตว์ทะเลส าคัญของโลกได้ถูกน าไปใช้ประโยชน์ จนเกินขนาดหรือเกินกำลังที่ธรรมชาติจะผลิตขึ้นทดแทนใหม่ได้ทันกับการใช้ประโยชน์ และบางชนิดได้ถูกใช้ไปจนเกือบสูญพันธุ์ แต่ตรงข้ามการลงแรงประมง (fishing effort) กลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาการเสื่อมโทรมของทรัพยากรเป็นเพราะการทำการประมงที่ขาดวินัย
ขาดระเบียบแบบแผนและขาดการจัดการที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมเพียงพอ มีการท าการประมงที่ฝ่าฝืนกฎหมายและกฎข้อบังคับด้านการประมงในทุกอาณาเขตทางทะเล ซึ่งประชาคมโลกได้ให้ความสนใจอย่างยิ่งและได้มีการ
นำไปบรรจุไว้ในสาระการประชุมระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ประเทศต่างๆ จึงหลีกเลี่ยงมิได้ที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมแต่อย่างไรก็ดี แม้ว่าประเทศสมาชิก FAO ต่าง ๆ จะได้มีการยอมรับและนำไป จรรยาบรรณปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นแล้วก็ตาม แต่มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ทำการประมงอย่างรับผิดชอบ ยังคงมีชาวประมงบางกลุ่มที่ไม่เคารพและไม่ยึดถือกฎระเบียบในการท าการประมง รวมทั้งกฎระเบียบที่ปรากฏอยู่ในจรรยาบรรณและในตราสารระหว่างประเทศอื่นๆ (International Instruments) บางรายไม่เคยรายงานผลการจับสัตว์น้ำหรือรายงานไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง หรือรายงานเท็จ เจ้าของเรือประมงบางรายได้สับเปลี่ยนธงเรือของตน โดยเฉพาะในประเทศที่ไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะควบคุมการทำการประมงอย่างเพียงพอ การท าการประมงโดยขาดความรับผิดชอบในลักษณะดังกล่าวนี้ มีผลบั่นทอนโดยตรงต่อความพยายามในการบริหารจัดการประมงอย่างถูกต้อง
จากปัญหา IUU Fishing นี้ทำให้สหภาพยุโรปประกาศให้ใบเหลือง เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 กับประเทศไทย ซึ่งใบเหลืองนี้เป็นการประกาศเตือนให้
ประเทศไทยเร่งแก้ไขปัญหา IUU Fishing ซึ่งในอนาคตสหภาพยุโรปอาจอ้าง GATT Article XX (g) เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่อาจหมดไปได้ ในการกีดกันสินค้าประมงของไทยที่มาจากการประมง IUU
โดยการห้ามน าเข้าสินค้าประมงและสินค้ าในห่วงโซ่อุตสาหกรรมประมงทั้งหมดของประเทศไทย ซึ่งเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี ซึ่งเป็นมาตรการที่องค์กรการค้าโลกอนุญาตให้สามารถใช้ได้โดยไม่ผิดกฎกติกา
การค้าโลก ทั้งนี้ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้ใบเหลืองจากสหภาพยุโรปก็ตามแต่เพื่อความมั่งคั่งและยั่งยืนในทรัพยากรประมงและอุตสาหกรรมประมงของประเทศไทยก็ควรจะเอาจริงเอาจังกับการแก้ไขปัญหา
หลังจากสหภาพยุโรปประกาศปลดใบเหลือง IUU ให้กับประเทศไทย โดยรัฐบาลได้ดำเนินนโยบายในการยกระดับให้ประเทศไทยเป็นผู้นำต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal Unreported and Unregulated Fishing : IUU) ในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงเป็นประเทศปลอดการประมง IUU ทั้งระบบ (IUU-Free) ซึ่งสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานบังคับ รวมถึงการค้ามนุษย์ในภาคประมง ตามที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานคณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวังการทำประมงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อขับเคลื่อนนโยบายข้างต้นให้บรรลุเป้าหมาย โดยบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมศุลกากร และกระทรวงแรงงาน
ในการนี้ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. จึงได้สั่งการให้ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ/ผู้อำนวยการ ศพดส.ตร. และ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ/ รองผู้อำนวยการ ศพดส.ตร./รองประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ให้ดำเนินการตรวจสอบและปราบปรามกรณีดังกล่าว รวมทั้งจัดให้มีการฝึกอบรมความรู้ทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประมง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายในการแก้ไขปัญหาการประมง สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2565 ร่วมกับนายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง จัดประชุมเพื่อชี้แจงกฎหมายเกี่ยวกับการประมง และการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการด้านการประมงฯ และเจ้าหน้าที่สืบสวน ศพดส.ตร. ได้มีความรู้ความเข้าใจถึงตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความเป็นมาของปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขปัญหา เพื่อยกระดับการต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทยการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) เป็นปัญหาระดับโลกซึ่งรัฐบาลได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง โดยออกพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ ประเทศไทยในฐานะส่วนหนึ่งของประชาคมโลกจึงมีความรับผิดชอบ 4 ด้าน ประกอบด้วย
1) ความรับผิดชอบในฐานะรัฐเจ้าของธงเรือ (Flag State)
2) ความรับผิดชอบในฐานะรัฐเจ้าของท่าเทียบเรือ (Port State)
3) ความรับผิดชอบในฐานะรัฐชายฝั่ง (Coastal State)
4) ความรับผิดชอบในฐานะรัฐเจ้าของตลาด (Market State)
ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องจัดการประชุมเพิ่มความเชี่ยวชาญให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ เช่น ที่มาและเนื้อหาของกฎหมาย กระบวนการทำงานควบคุมตรวจสอบเรือประมง ขนถ่ายสัตว์น้ำ และการนำเข้าส่งออกสินค้าประมง ตลอดจนกระบวนการดำเนินคดีต่าง ๆ
พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า “การทำงานครั้งนี้เป็นการยกระดับประสิทธิภาพการทำงานด้านการตรวจติดตาม ควบคุม เฝ้าระวัง เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำการต่อต้านประมง IUU ในภูมิภาค และปลอดการทำประมง IUU ทั้งระบบ นอกจากนั้นยังมีความเชื่อมโยงกับการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ที่มีความสลับซับซ้อน มีเครือข่ายข้ามชาติ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติจึงต้องมีความรอบรู้ในกฎหมายต่าง ๆ อย่างสัมพันธ์กัน เพราะการกระทำความผิดในปัจจุบันไม่อาจบังคับใช้ได้โดยกฎหมายใดกฎหมายหนึ่ง และเพื่อให้เห็นผลการทำงานเป็นรูปธรรมในระยะเวลาอันรวดเร็ว จึงได้แบ่งการทำงานเป็น 4 ชุดปฏิบัติการ ประกอบด้วย
1) ชุดปฏิบัติการด้านการตรวจสอบเพิ่มประสิทธิภาพด่านตรวจประมง มี รศ.ธนพร ศรียากูล กรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ เป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติการ และมีพล.ต.ต.ไพโรจน์ กุจิรพันธ์ ผบก.อธ. เป็นรองหัวหน้าชุด ทำหน้าที่ตรวจสอบการกระทำความผิดตามกฎหมาย และเสนอแนะแนวทางปฏิบัติต่อหน่วยงานต่าง ๆ ในการตรวจติดตาม ควบคุม เฝ้าระวัง ของด่านตรวจประมงทุกแห่ง
2) ชุดปฏิบัติการด้านการตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์แจ้งเข้าออกเรือประมง (PIPO) มี พล.ต.ต.พนัญชัย ชื่นใจธรรม รอง ผบช.ภาค 1 เป็นหัวหน้าชุด ทำหน้าที่ตรวจสอบการกระทำความผิดตามกฎหมาย และเสนอแนะแนวทางปฏิบัติต่อหน่วยงานต่าง ๆ ในการตรวจติดตาม ควบคุม เฝ้าระวัง ของศูนย์แจ้งเข้าออกเรือประมง (PIPO) ทุกแห่ง
3) ชุดปฏิบัติการด้านการตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจกลางทะเล มี ผู้แทนศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) เป็นหัวหน้าชุด และ พ.ต.อ.ชณพล วันขวัญ รอง ผบก.รน. เป็นรองหัวหน้าชุด ทำหน้าที่ตรวจสอบการกระทำความผิดตามกฎหมายในพื้นที่ทะเลทั้งเขตชายฝั่งและนอกเขตชายฝั่ง
4) ชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว มี พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง รอง ผบช.สตม. เป็นหัวหน้าชุด และ พล.ต.ต.สุทธิพงษ์ เพชรรัตน์ ผบก.บ.ตร. เป็นรองหัวหน้าชุด ทำหน้าที่ตรวจสอบการกระทำความผิดตามกฎหมายกรณีเร่งด่วน และสนับสนุนการปฏิบัติงานให้กับชุดปฏิบัติการที่ 1 - 3
พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กล่าวว่าได้ย้ำ“ให้ทุกชุดปฏิบัติการทำงานให้เต็มกำลังความสามารถ บนพื้นฐานของการอำนวยความยุติธรรม นั่นคือ ว่ากันตามพยานหลักฐาน ตรงไปตรงมา ไม่มี Double Standard ยึดกฎหมายอย่างเคร่งครัด และไม่มีละเว้นให้กับเจ้าหน้าที่ เพราะถ้าเราละเว้นให้กับเจ้าหน้าที่ พี่น้องชาวประมงก็จะมีความรู้สึกว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม
ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมไม่ต้องการเห็น และผมเชื่อมั่นเสมอว่า การทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ไม่เลือกปฏิบัติ จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นและศรัทธาในการทำงานของชาวประมงที่มีต่อภาครัฐ ถ้าเราสามารถทำได้เช่นนี้ เราจะแยกน้ำเสีย
ออกจากน้ำดีได้ ผู้กระทำผิดก็ต้องถูกบังคับใช้กฎหมาย ส่วนผู้ที่ปฏิบัติดีภาครัฐก็ต้องดูแลสนับสนุน อำนวยความสะดวกในการทำประมงให้เต็มที่เช่นเดียวกัน..ถอยหลังเพียงก้าวเดียว ทะเลนั้นก็ดูกว้าง นภางค์ก็แลสดใส