อีก 300 ปี ต้นไม้จะหมดโลก?! 13 เรื่องที่เราไม่เคยรู้เกี่ยวกับ "ต้นไม้" บนโลกของเรา
ต้นไม้มีประโยชน์มากมาย หนึ่งในนั้นคือ เป็นแหล่งผลิตอากาศ หรืออ็อกซิเจน ที่จำเป็นในการหายใจของมนุษย์และสัตว์ โดยในเวลากลางวัน ต้นไม้จะดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ที่เป็นก๊าซของเสียจากตัวคนและสัตว์
1. สาหร่ายเป็นพืชที่ให้อ๊อกซิเจนมากที่สุดในโลก มันยังใช้ในการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นการลดโลกร้อนได้อีกด้วย เช่น สาหร่ายใบมะกรูด (Halmeda) สาหร่ายพวกนี้จะปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมามันเป็นผลพลอยได้ของกระบวนการสังเคราะห์แสง ปริมาณก๊าซออกซิเจนที่มันปล่อยออกมา สูงกว่าปริมาณที่ต้นไม้และพืชบนดินอื่นๆปล่อยมารวมกันเสียอีก แม้สาหร่ายจะมีขนาดเล็กแต่กลับเป็นผู้ผลิตออกซิเจนได้ถึง 73-87% ของออกซิเจนที่มีอยู่บนผิวโลก
สาหร่ายใบมะกรูด (Halmeda)
2. มีพืชที่คายออกซิเจนในเวลากลางคืน (Cam plant) มีพืชชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่ม CAM Plant (Crassulacean Acid Metabolism Plant) ที่ปล่อยก๊าซออกซิเจนในเวลากลางคืน มันเป็นพืชที่ทนแล้งและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และปล่อยก๊าซออกซิเจนในเวลากลางคืน เป็นพืชจะมีปากใบ (Stomata) ซึ่งปากใบจะเปิดในเวลากลางวันเพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
และปล่อยก๊าซออกซิเจน พืชทั่วไปจะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงและสร้างอาหารแก่พืชอย่างน้ำตาล เป็นต้น และในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพวกมันจะปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมา ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการสังเคราะห์แสง เช่นต้นไม้พวก ต้นลิ้นมังกร (Sansevieria Trifasciata)
ต้นลิ้นมังกร
3. ปลูกต้นไม้ในห้องนอนตอนกลางคืนอันตราย?? ไม่จริง...ปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่พืชส่วนใหญ่สร้างขึ้นในเวลากลางคืนนั้น มีปริมาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับที่มนุษย์และสัตว์เลี้ยงปล่อยออกมาแล้ว การที่เรานอนร่วมห้องกับคนอีกคนหนึ่ง หรือหมาแมวอีกตัวนึงนั้น ยังส่งผลต่อสุขภาพ เพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และแย่งก๊าซออกซิเจนได้มากกว่าปลูกต้นไม้ไว้ในห้องนอนมากนัก
4. ต้นไม้ที่ยังมีชีวิตยืนยาวอยู่ที่อายุมากที่สุดในโลก คือต้นสนบริสเติลโคน (bristlecone pine) ทางตะวันออกของรัฐแคลิฟอร์เนีย มีข้อมูลว่ามีอายุมากถึง 5,070 ปี ในปี 2021 โดยเจริญเติบโตจากดินที่เป็นหินปูนพื้นที่รกร้าง ยืนหยัดท่ามกลางแรงลมและสภาพอากาศอุณหภูมิสูงมากๆ ลำต้นบิดงอก็เพื่อให้อยู่รอดได้นาน แม้ว่าต้นไม้เหล่านี้จะยืนยงคงทนในสภาวะแวดล้อมทุรกันดารมากๆได้
5. ส่วนของไทยก็จะเป็น ต้นตะเคียนทองพันปี ที่ จ.นครราชสีมา อยู่ในพื้นที่อุทยานทับลาน อ.เสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา มีตะเคียนทองที่อายุยืนยาวกว่า 1,000 ปี ลำต้นมีเส้นรอบวงมากกว่า 12 เมตร สูงกว่า 50 เมตร ถือได้ว่าเป็นต้นตะเคียนทองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
6. ปัจจุบันพบว่าโลกเรามีต้นไม้ราวๆ 3.04 ล้านล้านต้น หรือเทียบสัดส่วนได้ว่า มีต้นไม้ 422 ต้นต่อประชากรโลก 1 คน ซึ่งมีจำนวนที่ลดลง 45% นับตั้งแต่เริ่มมีอารยธรรมมนุษย์ เหตุหลักเพราะกิจกรรมต่างๆของมนุษย์นี่แหละ ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้จำนวนต้นไม้ลดลง ส่วนใหญ่เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า การใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ การบริหารจัดการป่า สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้โลกสูญเสียต้นไม้ปีละ 15,000 ล้านต้น ขณะที่มีการปลูกต้นไม้เพิ่มเพียงปีละ 5,000 ล้านต้น
7. พื้นที่ที่มีต้นไม้หนาแน่นที่สุดอยู่ในบริเวณตอนล่างของขั้วโลกเหนือในแถบรัสเซียสแกนดิเนเวียและอเมริกาเหนือ และผืนป่าที่กว้างใหญ่ที่สุดอยู่ในบริเวณเขตโซนร้อนที่มีต้นไม้มากถึง 43% ของทั้งโลก
8. แล้วก่อนมีมนุษย์ โลกมีต้นไม้อยู่กี่ต้น จริงแล้วมีข้อมูลว่าโลกมีต้นไม้ประมาณ 6 ล้านล้านต้นหรือประมาณสองเท่าของจำนวนต้นไม้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก่อนรุ่งอรุณจะก่อเกิดมนุษย์และอารยธรรมต่างๆตามมา นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ประเมินว่าป่าไม้ในโลกกินเนื้อที่ประมาณ 6 พันล้านเฮกตาร์ แต่ทุกวันนี้ เหลือเพียงเศษเสี้ยวของพื้นที่ โดยป่าไม้ในโลกนี้มีพื้นที่เพียง 3 พันล้านเฮกตาร์
9. มีต้นไม้เหลืออยู่บนโลกกี่เปอร์เซ็นต์? คร่าวๆ ประมาณ 50% เมื่อเทียบกับสมัยที่ไม่มีอารยธรรมมนุษย์ จำนวนต้นไม้ในโลกลดลงครึ่งหนึ่ง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เพียง 30% ของแผ่นดินโลก อย่างไรก็ตาม อัตราการตัดไม้ทำลายป่าที่น่าตกใจในส่วนต่างๆ ของโลกอาจทำให้ตัวเลขนี้ลดลง ในปี 2019 เพียงปีเดียว โลกสูญเสียต้นไม้ปกคลุมไปเกือบ 11.9 ล้านเฮกตาร์ในเขตร้อน และอีก 3.8 ล้านเฮกตาร์ในป่าดิบชื้นเขตร้อนนอกจากการตัดไม้ทำลายป่าแล้ว ปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น ไฟป่า ยังส่งผลต่อจำนวนต้นไม้ทั้งหมดในโลกอีกด้วย
10. แล้วมีการปลูกต้นไม้กี่ต้นในปี 2562 มีการปลูกต้นไม้ประมาณ 7 พันล้านต้น การปลูกต้นไม้เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นธีมหลักในปี 2019 โดยหลายองค์กรที่เกี่ยงข้อง เฉพาะในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว มีการปลูกต้นไม้มากกว่า 5 ล้านต้นต่อปีในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติในพื้นที่ 18,000 เอเคอร์
11. และประเทศอย่างเอธิโอเปียเกือบสร้างสถิติโลกกินเนสส์ด้วยโครงการปลูกต้นไม้ 4 พันล้านต้น เมื่อพวกเขาพยายามปลูกต้นไม้ 200 ล้านต้นในหนึ่งวัน ในเวลากว่า 12 ชั่วโมงเล็กน้อย ประเทศรายงานว่ามีการปลูกต้นไม้ 353,633,660 ต้น ซึ่งมากกว่าเป้าหมาย 100 ล้านต้น
12. ผลสำรวจเผย โลกใกล้จะหมดต้นไม้ใน 300 ปี ทีมนักวิจัยที่นำโดยผู้เชี่ยวชาญจากYale School of Forestry and Environmental Studies ได้มีการสำรวจสำมะโนต้นไม้ที่ครอบคลุมที่สุดเท่าที่เคยมีมา นักวิจัยประหลาดใจที่พบว่าโลกมีต้นไม้มากกว่า 3 ล้านล้านต้น แต่จำนวนนั้นลดลงอย่างรวดเร็ว
13. ค้นพบพืชที่ทนทานที่สุดในโลก มีอายุถึง 32,000 ปี และอาจอยู่รอดบนดาวอังคาร นักวิทยาศาสตร์ในเยอรมนี คิดว่า พวกเขาได้ระบุพืช 2 ประเภทที่มีความทนทานมากพอที่จะอยู่รอดได้บนดาวอังคาร พืชที่พวกเขาเลือกอันดับต้น ๆ คือ ไลเคน และไซยาโนแบคทีเรีย ที่นำมาจากสวิตเซอร์แลนด์ และแอนตาร์กติกา คาดว่า พืชเหล่านี้เป็นสายพันธุ์แรก ๆ ที่อยู่บนโลก โดยนักวิจัย ได้สร้างสภาพบนดาวเคราะห์สีแดง รวมถึงการแผ่รังสีที่ร้อนแรงจากดวงอาทิตย์, อุณหภูมิที่ผันผวน, ความแห้งแล้ง และความกดอากาศที่ต่ำ เพื่อทดสอบว่า พืชที่อยู่ในยุคก่อกำเนิดโลกที่มีความทนทานแข็งแกร่งเหล่านี้จะอยู่รอดหรือไม่ ผลปรากฏว่า พืชสายพันธุ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่เพียงแต่อยู่รอดเท่านั้น แต่ยังเติบโตได้ มีการสังเคราะห์แสง และเกิดกิจกรรมของพืชขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำด้วย