กฏหมาย CAATSA คืออะไร และไทยมีโอกาสจัดหาอาวุธจากรัสเซียได้หรือไม่?
กฏหมาย CAATSA คืออะไร และไทยมีโอกาสจัดหาอาวุธจากรัสเซียได้หรือไม่?
CAATSA ย่อมาจาก Countering America's Adversaries Through Sanctions Act หรือพระราชบัญญัติการต่อต้านศัตรูของอเมริกาผ่านการคว่ำบาตร โดยมีสามประเทศที่อยู่ในกฎหมายนี้ก็คืออิหร่าน เกาหลีเหนือ และรัสเซีย โดยออกแบบมาเพื่อต่อต้านและคว่ำบาตรโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน การแทรกแทรงยุโรปตะวันออกและซีเรียด้วยกำลังทหารของรัสเซีย และการละเมิดมติของสหประชาชาติในการการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือ
กฎหมายนี้มีรายละเอียดเยอะมาก มีเป็นร้อยมาตรา แต่สารสำคัญที่เกี่ยวกับประเด็นนี้จริง ๆ อยู่ที่มาตรา 231 ที่กำหนดให้ลงโทษหรือคว่ำบาตรประเทศที่จัดหาอาวุธจากทั้งสามชาติ เนื่องจากถือเป็นการสนับสนุนศัตรูของอเมริกา ในกรณีของอิหร่านและเกาหลีเหนือนั้นไม่เท่าไหร่ เพราะมีการส่งออกอาวุธค่อนข้างน้อย แต่สำหรับรัสเซียนั้นถือได้ว่ากระทบมากทีเดียว โดยการคว่ำบาตรนั้นก็คือการที่อเมริกาจะไม่ขายอาวุธหรือไม่ออกให้ หรือไม่อนุญาตให้ใช้ระบบการเงินของสหรัฐในการทำธุรกรรมต่าง ๆ รวมถึงห้ามบริษัทของสหรัฐอเมริกาทำธุรกิจกับบุคคลหรือหน่วยงานหรือประเทศที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายนั้น ๆ
ข้อมูลจาก ThaiArmedForce.com
ประเทศไหนบ้างที่จัดหาอาวุธจากรัสเซีย แต่ถูกสหรัฐใช้กฏหมายดังกล่าวคว่ำบาตร
อินโดนีเซีย ทางกองทัพอากาศอินโดนีเซียได้จัดหา SU-35 11 ลำ ซึ่งอินโดนีเซียมี Su-27 และ Su-30 เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่สหรัฐใช้กฏหมายดัง CAATSA เล่นงาน จนทำให้อินโดนีเซียจัดหา F-16 รุ่นใหม่แทน ไม่ก็ Eurofighter
เวียดนาม ซึ่งเวียดนามเป็นพันธมิตรเก่าแก่ของรัสเซีย ตั้งแต่สมัยรัสเซียเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ซึ่งเวียดนามมีอาวุธยุทโธปกรณ์จากรัสเซียหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินรบ จรวดหลายลำกล้อง , จรวด SRBM , จรวดป้องกันอากาศยาน , เรือดำน้ำ
ไทย ซึ่งรัสเซียพยายามรุกตลาดในประเทศไทยของเราค่อนข้างเยอะพอสมควร ตั้งแต่คสช.ยึดอำนาจเมื่อปี 2557 ซึ่งไทยเรานั้นใช้อาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐแทบจะเยอะที่สุด เมื่อเทียบเท่าจากเพื่อนบ้านในอาเซียน แต่ละชิ้น แต่ละอันนั้นเตรียมทยอยปลดประจำการ ตัวอย่างนั้น ที่เป็นไปได้คือ รถถัง M41 , M48A5 , ฮ.chinook(ซึ่งตอนนี้ปลดประจำการแล้ว แต่ไทยจัดหา MI-17 หลายลำ) , F-16 ADF(ถ้าหากไทยไม่จัดหา Gripen มาเพิ่มเติมอีก อาจจะจัดหา Mig-35 แทน แม้ไทยใช้ระบบของตะวันตกก็ตาม) และอีกหลายๆชิ้น กองทัพบกไทยก็ได้จัดหารถถัง T-84 oplot จากยูเครน 49 คัน เพื่อมาทดแทนรถถังเก่าจากสหรัฐฯแล้ว แต่แค่ 1 กรมเท่านั้น เพราะการส่งที่ล่าช้า(เนื่องจากยูเครนเผชิญปัญหาเศรษฐกิจ , การสู้รบกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนฝั่งตะวันออกของยูเครน(โดเนตสค์ , ลูกานสค์ , ชานเมืองของคาร์คอฟบางส่วน)ที่สนับสนุนรัสเซีย , รัสเซียยึดไครเมีย) ทำให้ไทยนั้นจัดหารถถัง VT-4 จากจีนตามไปด้วย อนาคตไทยอาจจะจัดหา T-90ms จากรัสเซียก็เป็นได้ เพราะเทคโนโลยีใกล้เคียงกับ VT-4 และ oplot นั้นเอง
ทางกองทัพเรือไทยนั้นก็ได้ลงนามในการสร้างเรือฟริเกตรัสเซียเมื่อปี 2562 แต่ตอนนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆในการสร้างเรือดังกล่าว คาดว่าอาจจะต่อเรือในปี 2565 หรือ 2566 และก็ได้จัดหา AK-306 เพื่อติดตั้งบนเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง
ซึ่งมี 2 เหล่าที่จัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์จากรัสเซีย เช่น กองทัพบก , กองทัพเรือ
กองทัพอากาศไทย มีเพียงเหล่าเดียวเท่านั้นที่ไม่เคยจัดหาอาวุธยุโธปกรณ์จากรัสเซียเลยสักชิ้น ซึ่งไทยเกือบจะจัดหา Su-30 แต่ไทยเลือก Gripen ไปแล้ว แต่ไม่แน่ถ้าหากกองทัพอากาศไทยสู้ราคา F-35 ไม่ไหว ซึ่ง Su-35 , Mig-35 อาจจะเป็นคำตอบที่ดี แม้ต้องแลกกับอะไหล่ , อาวุธที่สามารถบาลานซ์เข้ากันได้ , เรื่องของระบบที่ต้องเริ่มจาก 0 ไม่ก็สร้างกองบินใหม่ที่ต้องรองรับระบบของรัสเซียโดยตรง F-15 ยิ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะปิดสายการผลิตไปแล้ว แม้ตอนนี้จะมีอะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุง
คำถามว่า สหรัฐฯจะใช้กฏหมาย CAATSA เล่นงานไทยหรือไม่
คำตอบ สหรัฐฯเป็นพันธมิตรไทยที่นานมาก จึงไม่กล้าหือ และอีกอย่างไทยจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์หลายประเทศเพื่อคานแจากจีน รัสเซีย สหรัฐฯ ตะวันตก คงไม่มีปัญหาอย่างแน่นอน