หมอริท วอนหน่วยงานรัฐทำหน้าที่ของตัวเอง แก้ปัญหาให้ถูกจุด อย่าผลักภาระให้หน่วยงานอาสา
ถือเป็นคนที่ตั้งโครงการช่วยผู้ป่วยโควิดจากความรู้ทางการแพทย์ที่ตัวเองมี แต่ก็ส่งเสียงให้ถึงหน่วยงานต่างๆ ด้วยด้วยว่าอาสาทุกคน ตั้งใจมาทำเพื่อช่วยให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤติโควิดเท่านั้น ไม่ได้มาทำหน้าที่แทนรัฐ หน่วยงานต่างๆ ควรทำหน้าที่ของตัวเองให้เต็มที่ก่อน อันไหนเกินกำลังจริง ทางทีมงานอาสาต่างๆ ก็จะคอยช่วยเหลือให้ โดยเจ้าตัวชี้แจงผ่านทวิตเตอร์เอาไว้ดังนี้
เริ่มนะครับ
1.#หมอริทช่วยโควิด เป็นโครงการอาสา ไม่ได้รับเงินการทำงานจากรัฐเลย โดยเรายินดีช่วยรัฐโดยไม่เรียกร้องเงิน แต่เรียกร้องให้รัฐดูแลผู้ป่วยอย่างทั่วถึง ซึ่งระหว่างที่ท่านเพิ่มกำลังการดูแล เรายินดีช่วยครับ เมื่อไหร่ที่ท่านดูแลทั่วถึง เราจะหยุดครับ
— Ritz Rueangritz S. (@MhorRitz) August 26, 2021
หยุดผลักภาระ เราช่วยท่าน ท่านก็ต้องช่วยในระบบการทำงานด้วย ไม่ใช่เห็นว่าเราช่วยได้ดี ทำอะไรเองได้หมด แล้วก็ผลักมาให้เราทำเลย
เดี๋ยวจะมาลิสต์เป็นข้อๆ ท่านก็ส่งคนมาอ่านละกัน เสนอไปหมดแล้ว ยังเห็นเงียบๆ ก็จะแจ้งให้ประชาชนทราบเลยละกันนะครับ เค้าจะได้เข้าใจบริบท
เริ่มนะครับ
1.#หมอริทช่วยโควิด เป็นโครงการอาสา ไม่ได้รับเงินการทำงานจากรัฐเลย โดยเรายินดีช่วยรัฐโดยไม่เรียกร้องเงิน แต่เรียกร้องให้รัฐดูแลผู้ป่วยอย่างทั่วถึง ซึ่งระหว่างที่ท่านเพิ่มกำลังการดูแล เรายินดีช่วยครับ เมื่อไหร่ที่ท่านดูแลทั่วถึง เราจะหยุดครับ
2.ข้อมูล ณ 18/8/64 #หมอริทช่วยโควิด รับเคสใหม่ได้เฉลี่ย 200 เคส/หน่วย/วัน แต่หน่วยงานภายใต้รัฐใน กทม. รับเคสใหม่ได้ 9 เคส/หน่วย/วัน (รวม 240 PCU = 2,000 เคสต่อวัน) ซึ่งยังน้อยกว่าจำนวนเคสรายงานใหม่ต่อวัน โดยมองว่า ถ้าลดการทำงานที่ไม่จำเป็นบางอย่างลง จะทำให้รับเคสได้มากขึ้น?
3.แต่โดยรวมแล้ว ภาคประชาสังคม/จิตอาสา (ไม่ใช่เฉพาะ #หมอริทช่วยโควิด ) ได้เข้ามามีส่วนช่วยสำคัญให้ประเทศไทยผ่านวิกฤติโควิดนี้ไปได้ (ซึ่งท่านทราบสัดส่วนตัวเลขการดูแลเคสอยู่แล้ว ประมาณเกือบครึ่งต่อครึ่ง จริงหรือไม่?)
4.คนไข้ที่ติดต่อผ่านช่องทางของรัฐ ต้องรอการรักษาที่ค่อนข้างนาน ตั้งแต่ 3 วัน - 14 วัน หรือ จนหายแล้ว จริงหรือไม่? (คนที่พบปัญหานี้ สามารถมาช่วยยืนยันได้)
5.รัฐมีหน่วยจ่ายยาฟาวิ โดยจ่ายเป็นคอร์ส 3-5 วัน แล้วไม่ดูแลเคสต่อให้ครบ 14 วัน สุดท้ายคนไข้ตกเป็นภาระของใคร? ที่แน่ๆส่วนนึงก็มา #หมอริทช่วยโควิด แล้วทำเพื่ออะไร? เข้าถึงเคสได้ทั้งทีก็ทำให้จบกระบวนการเลยไหม? ใช้งบประมาณอย่างไม่มีประสิทธิภาพหรือไม่?
6.ATK บอกว่าให้เข้าระบบ HI ได้ แต่ถ้าอาการแย่ลง แล้วต้องการเตียง ท่านก็บอกว่าเข้า รพ. ได้เลย แต่ในความเป็นจริง รพ. ไหนรับบ้าง? สุดท้ายก็รอ PCR กันหมดไหม? จะตายแล้วยังรอ PCR? เพราะ รพ. เขามีปัญหาการเบิกไหม? ขอคำสั่งเด็ดขาดและชัดเจนเลยได้ไหม?
7.ดูแลคนไข้ช่วยเหลือกันกับภาครัฐ ท่านมีฐานข้อมูลให้เช็คการดูแลซ้ำซ้อนไหม? ตรงนี้สำคัญนะ ภาษีประชาชนทั้งนั้นนะครับ
1 คนไข้ ต่อ 1 การดูแลก็พอแล้ว
8.ระบบจัดหาเตียงอยู่ไหน? ทีมอาสามีแพทย์มาช่วยดูแล HI ให้แล้ว ประเมินความเสี่ยงให้แล้ว พออาการแย่ลง ต้องการเตียง แล้วยังไง ให้ส่งทางไหน ไปที่ไหน? หน่วยงานไหนรับช่วงต่อ? เบอร์กลางของท่านโทรติดจริงๆหรือไม่?
9.เรื่องเตียง ก็ไม่เพียงพอ อันนี้เข้าใจ รัฐกำลังขยายเพิ่มเตียงอยู่ ก็ต้องจัดคนไข้ไปเอาเตียงตามความรุนแรง เลยต้องให้ออกซิเจนที่บ้านไปก่อน แล้วหน่วยงานไหนดูแลเรื่องออกซิเจนที่บ้าน? ตอนนี้มีแต่ขอความช่วยเหลือจากทีมอาสาด้วยกัน
10.การประชาสัมพันธ์ ความรู้ ความเข้าใจ เพียงพอไหม?
- กักตัวครบ 14 วัน ไม่ต้องตรวจซ้ำ ไปทำงานได้เลย
- คนไข้ไม่ต้อง xrays ปอดทุกคน
- ยาฟาวิ ทานตามข้อบ่งชี้ ไม่ต้องทานทุกคนก็หายได้
เป็นต้น
11.ภาคแรงงาน นายจ้าง ยังต้องการใบรับรองแพทย์เสมอ มีระบบให้ไหม? เอา ATK/PCR กับชื่อหน่วยงานที่ดูแลไปออกใบรับรองเลยได้ไหม? แค่หมอมาช่วยตรวจยังไม่พอ ยังต้องแบ่งหมอช่วยเขียนใบรับรองแพทย์อีก มันจะทันไหม?
12.ตอนนี้ ภาคประชาสังคม/อาสา สร้างเครือข่ายกันเอง หาเตียง หาออกซิเจน หา PCR หา x-rays หายา หาอาหาร เค้าทำกันเรียบร้อยแล้ว มาดู แล้วขอบคุณและให้เครดิตเค้าก็พอ
13.โควิดครั้งนี้ มันคือวิกฤติ ทุกคนเข้าใจ วันที่รัฐรับมือไม่ไหว ประชาชนพร้อมช่วย แค่ยอมรับในกำลังความสามารถ แล้วช่วยกัน ไม่ต้องอาย
ขอบคุณครับ
ปล. ยังไม่รวมเรื่องการจัดการระยะยาว เช่น วัคซีนนะครับ ซึ่งสุดท้ายมันก็คือเรื่องเดียวกัน
เรื่อง ใบรับรองแพทย์
ตอนนี้เป็นระบบเขียนมือนะครับ
— Ritz Rueangritz S. (@MhorRitz) August 21, 2021
คนไข้ 4,000 คน หมอเขียน 1 คน เขียนไม่ไหวนะครับ
ใครต้องการความครบถ้วนสมบูรณ์ทุกขั้นตอนการดูแล รบกวน 1330 หรือหน่วยงานรัฐที่มีระบบที่เพียบพร้อม ใครรอได้ก็รอหน่อย#หมอริทช่วยโควิด
ยินดีช่วยคนไม่มีทางเลือก ไม่ใช่คนต้องการทางลัด pic.twitter.com/LZLAo7I1Cc