ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยวิธีแมมโมแกรม
เดี๋ยวนี้การตรวจมะเร็งเต้านมเป็นเรื่องใกล้ตัวและเชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะคงได้ยินบ่อยๆ เพราะเมื่ออายุมากขึ้นก็มักจะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะผู้หญิงในช่วงอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป มีเพียงประมาณร้อยละ 10 ที่พบได้ในอายุ 40 ปี ฉะนั้นการหมั่นสั่งเกตุความผิดปกติของตัวเองก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะหากพบอาการผิดปกติก็จะได้เข้ารับการรักษาได้ทันเวลา แต่หลายคนก็อาจจะกังวลว่าตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยวิธีแมมโมแกรมจะน่ากลัวทำให้ไม่อยากไปพบแพทย์ วันนี้เราจะมาอธิบายว่ามีการตรวจแบบแมมโมแกรมมีขั้นตอนอะไรบ้าง
ขั้นตอนการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยวิธีแมมโมแกรม (Mammogram)
การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยวิธีแมมโมแกรม เป็นการตรวจทางรังสีชนิดพิเศษคล้ายการตรวจเอกซเรย์ มีประสิทธิภาพในการตรวจได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ทำให้การรักษาได้ผลดีและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงจากการเป็นมะเร็งเต้านม การตรวจแมมโมแกรมเป็นวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ดีที่สุดในปัจจุบัน สามารถตรวจพบหินปูนที่มีลักษณะผิดปกติในเต้านม หรือรอยโรคที่มีขนาดเล็กได้ ใช้เวลาตรวจเพียง 30 นาที และไม่ต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนเข้ารับการตรวจอีกด้วย
ใครควรตรวจแมมโมแกรมบ้าง?
- ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ขึ้นไป ควรเริ่มตรวจเป็นประจำทุกปี
- ในกรณีที่บุคคลในครอบครัวมีประวัติสายตรง การป่วยเป็นมะเร็งเต้านมก่อนวัยหมดประจำเดือน ควรเริ่มตรวจเร็วขึ้นตั้งแต่อายุ 30 ปี
- บุคคลที่มีประวัติตรวจยีนผิดปกติ (Gene mutation) ได้แก่ ยีน BRCA1 และ BRCA2 หรือมีญาติสายตรงที่ตรวจพบยีนผิดปกติให้เริ่มตรวจเป็นประจำทุกปีตั้งแต่อายุ 25 ปี
- บุคคลที่มีประวัติฉายแสงบริเวณทรวงอก ขณะอายุ 10-30 ปี ให้เริ่มตรวจเป็นประจำทุกปี หลังจากได้รับการฉายแสงเสร็จสิ้นแล้ว 8 ปี (แต่อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี)
- บุคคลที่คลำพบก้อนเนื้อ มีเลือดออกที่หัวนม หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ที่เต้านม
- บุคคลที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเนื้องอกในเต้านม เพื่อติดตามผลการรักษา
การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยวิธีแมมโมแกรมเป็นการตรวจที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพมากที่สุด และไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลายๆ คนคิด เพราะฉะนั้นหากพบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติก็ต้องรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อเข้าตรวจถ้าพบว่ามีความเสี่ยงจะได้เข้าสู่ขั้นตอนการรักษานั่นเอง