ความตายของมาเรียม กับความหวังที่มีลมหายใจ
เมื่อปี 2560 ในกลุ่มผู้สนใจประเด็นเรื่องการอนุรักษ์ หลังจากสื่อสังคมออนไลน์เผยแพร่วิดีโอลูกพะยูน และข้อมูลการรับอาสาสมัครดูแลลูกพะยูนตัวดังกล่าว จนมียอดคนสมัครถล่มทลาย
จากรายงานสัตว์ทะเลหายาก พ.ศ. 2560 สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่ง และป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่าปี 2559 พบพะยูนในประเทศไทย 221 ตัว มากสุดอยู่ที่ จ.ตรัง 154 ตัว โดยประชากรพะยูนจะอยู่ในบริเวณที่มีแหล่งหญ้าทะเลชุก
"มาเรียม" หรือ "อีเรียม" ตามชื่อเรียกของชาวบ้านในพื้นที่ เป็นลูกพะยูนเพศเมีย อายุประมาณ 6 เดือน ที่เข้าเกยตื้นเมื่อวันที่ 26 เม.ย.2562 ที่ จ.กระบี่ ชาวบ้านจึงแจ้งเจ้าหน้าที่ให้เข้าช่วยเหลือ จนตอนนี้กลายเป็นขวัญใจของเจ้าหน้าที่และผู้ได้สัมผัสกับความน่ารักของมัน
ดร.ก้องเกียรติ กิตติวัฒนวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามัน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบีบีซีไทยฟังว่า ตอนที่มาเรียมเข้าเกยตื้น เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่ายังแข็งแรง จึงพยายามผลักดันกลับสู่ทะเล เพราะหากเป็นลูกพะยูนที่ยังไม่หย่านมแล้วพลัดหลงโดยบังเอิญ แม่พะยูนอาจจะยังคงว่ายวนเวียนอยู่ใกล้ ๆ
หลังใช้ความพยายามผลักดันกลับถึงสามครั้ง มาเรียมยังคงว่ายกลับเข้ามายังจุดเดิม โดยมักว่ายอยู่ใต้ท้องเรือ ซึ่งมีลักษณะเสมือนท้องของแม่ เจ้าหน้าที่จึงประเมินว่าโอกาสที่มาเรียมจะได้เจอกับแม่คงมีน้อย อีกทั้งบริเวณนั้นมีเรือสัญจรอยู่มาก โอกาสที่มาเรียมจะได้รับอันตรายจากการชนก็สูงตาม การหาพื้นที่ดูแลแห่งใหม่จึงเป็นแผนงานในเวลานั้น
"ลูกพะยูนวัยนี้ยังต้องอยู่กับแม่ จนอายุเกือบ 2 ปี แนวทางแรกต้องมาเลี้ยงในบ่อเลี้ยง แต่มันจะเศร้ามากเลยนะ ที่พะยูนตัวหนึ่งต้องอยู่ในบ่อเลี้ยงไปตลอดชีวิต เราไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น เราเลยพยายามหาพื้นที่ปลอดภัย เพื่อเป็นแม่นมให้เขา"
ดร.ก้องเกียรติ เล่าว่า พื้นที่ที่จะย้ายมาเรียมไปต้องเป็นแหล่งที่มีหญ้าทะเล มีกลุ่มพะยูนอยู่มาก และสำคัญที่สุดคือความความพร้อมของชุมชนในพื้นที่ ซึ่งต้องร่วมมือในการดูแล เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าเกาะลิบง จ. ตรัง มีความพร้อมในทุกด้านในการดูแลมาเรียม
การเคลื่อนย้ายมาเรียมมายังแหลมจุโหย บนเกาะลิบง มีขึ้นเมื่อวันที่ 29 เม.ย. โดยเจ้าหน้าที่ปล่อยให้มันว่ายน้ำอย่างอิสระ เพื่อหาจุดเหมาะสมที่สุดให้กับตัวเอง สามวันต่อมามาเรียมได้ย้ายที่อยู่ไปเรื่อย ๆ จนมาอยู่บริเวณหน้าเขาบาตูปูเต๊ะ ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลมาเรียมในปัจจุบัน
"พอมาอยู่ที่เกาะ ทีมสัตวแพทย์กับนักวิชาการ จะต้องประเมินวันต่อวัน ถึงแม้ว่าเขาจะกินหญ้าทะเลได้ แต่นมก็ยังเป็นอาหารหลักอยู่ ตอนนี้เขาต้องการพลังงานวันละมากกว่า 700 กิโลแคลอรี่ แต่เรายังทำได้ไม่ถึงเป้า จากเดิมที่ป้อนนมสองมื้อต่อวัน ก็ต้องเพิ่มไปเรื่อย ๆ จนกว่าเขาแข็งแรงพอที่จะกินหญ้าทะเลอย่างเดียว"
มาเรียมถือเป็นพะยูนตัวแรกของไทยที่มนุษย์ให้นมในสภาวะธรรมชาติ โดยก่อนหน้านี้ ทช.ก็เคยช่วยเหลือลูกพะยูนในลักษณะเดียวกัน แต่นำมาเลี้ยงในบ่ออนุบาลสัตว์น้ำ และเมื่อนำกลับไปปล่อยสู่ธรรมชาติไม่นานก็ตาย ด้วยไม่สามารถเอาตัวรอดในธรรมชาติได้ นั่นเป็นบทเรียนสำคัญของเจ้าหน้าที่
ด้วยความต้องการน้ำนม ทำให้มาเรียมยังคงว่ายเข้าฝั่งอยู่เรื่อย ๆ ตามสัญชาตญาณเรียนรู้ แต่เจ้าหน้าที่เองก็มีมาตรการจำกัดจำนวนคนที่จะสัมผัสกับมาเรียมโดยตรง เพราะโดยธรรมชาติเมื่อถึงวัยหย่านมจากแม่ พะยูนจะแยกตัวออกไปเอง การเลี้ยงดูในสภาวะธรรมชาติ ให้ว่ายน้ำอย่างอิสระ ก็เพื่อให้ลูกพะยูนเข้าหาฝูง และเรียนรู้ที่จะเอาตัวรอด
"พะยูนเขาฉลาดนะ เขารู้ว่าเรือไหนที่จะเป็นอันตรายกับเขา อย่างถ้าเป็นเรือประมงชาวบ้านวิ่งผ่าน พะยูนก็เฉย ๆ แต่เมื่อไหร่เป็นเรือนักท่องเที่ยว เขาจะรู้ได้ว่ากำลังไล่ตามเขา เขาจะพยายามออกห่างทันที"
ก่อนหน้านี้ชาวบ้านในชุมชน และเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ได้หารือและมีมติร่วมกันว่าจะทำแนวทุ่นเขตอนุรักษ์ ด้วยมีชาวบ้านร้องเรียนเรื่องการเดินเรือของนักท่องเที่ยว ที่เข้าใกล้พะยูนมากเกินไป จนอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
"พอดีกับที่มาเรียมมาอยู่ เราเลยเร่งวางทุ่นแนวเขตเนื้อที่เกือบ 1,000 ไร่ เวลาที่นักท่องเที่ยวมาดูพะยูนต่อไปนี้ก็ต้องจอดหลังแนวทุ่น ซึ่งเป็นแนวร่องน้ำที่พะยูนจะว่ายผ่านทุกวันอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องวิ่งเข้าใกล้ เพราะใบพัดเรืออาจอันตรายกับพะยูนได้"
เรื่องการทำประมงท้องถิ่นในพื้นที่ ผู้ใหญ่ประชุมเล่าว่า ชาวบ้านในพื้นที่ค่อนข้างตระหนักกับเรื่องนี้ดี มีการขอความร่วมมือไม่วางอวนทิ้งข้ามคืน หรือวางในเขตที่หมิ่นเหม่จะทำอันตรายต่อลูกพะยูน ซึ่งชาวบ้านก็ให้ความร่วมมือดีมาตลอด อีกทั้งมีการให้ความรู้ชาวบ้านเรื่องการช่วยเหลือพะยูนกรณีติดอวนอีกด้วย
โดยพื้นที่เกาะลิบงนั้นไม่ได้มีเพียงพะยูน ที่เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวเท่านั้น ยังมีเต่าทะเล เต่ากระ และเต่าตนุอีกด้วย
https://www.bbc.com/thai/thailand-48494062
และไม่น่าเชื่อว่าหลังจากที่พยูนที่ชื่อว่า มาเรียมพยูนได้กลับคืนสู่ท้องทะเลแต่หลังจากนั้นก็เป็นข่าวที่สะเทือนใจคนทั้งประเทศเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เมื่อ“มาเรียม” พะยูนน้อยกำพร้าแม่ที่มีมนุษย์เป็นแม่นมนำมาเลี้ยงดูที่เกาะลิบงตายแล้ว เมื่อช่วงเที่ยงคืน หลังสัตวแพทย์พยายามยื้อชีวิตนาน 1 ชั่วโมง ทั้งนี้ทีมชันสูตรระบุสาเหตุจากภาวะช็อกตาย โดยพบมีถุงพลาสติกหลายชิ้นอุดตันลำไส้จนอักเสบ
ทำให้ปลุกกระแสให้คนไทยจำนวนไม่น้อย ได้ตระหนักถึงการจัดการถุงขยะพลาสติก และการแก้ไขปัญหาขยะในทะเล ทำให้ในหลายๆรัฐบาลที่ผ่านมามีการวางแผนและป้องกันปัญหาดังกล่าวอาจผ่านมาเกือบสัปดาห์สำหรับเหตุการณ์ สำหรับการตายของเจ้ามาเรียม วันนี้เราให้ทุกท่านย้อน รำลึกถึงเจ้ามาเรียมพยูนสัตว์โชคร้ายที่ตายจากความมักง่ายของมนุษย์
วันนี้ถือว่าเป็นปีที่ 2 ที่มีการรำลึกถึงพยูนที่ชื่อว่ามาเรียมทำให้หลายฝ่ายตระหนักถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลและการกำจัดปัญหาขยะที่จะถูกกระแสน้ำพัดออกไปสู่ทะเลโดยหลักๆ ได้แก่ถุงพลาสติก และสารเคมีอันตราย
โดยความเคลื่อนไหวล่าสุดจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่รับผิดชอบต่อเรื่องนี้โดยตรงก็ออกมาเคลื่อนไหว และออกมากำหนดแนวนโยบายในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่ชื่อว่า มาเรียมโปรเจค
https://www.komchadluek.net/news/today-in-history/479019
นับว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่หลายฝ่ายไม่ได้เห็นแค่การตายของมาเรียมสูญเปล่า แต่ทำให้หลายองค์กรหลายภาคส่วน ได้หาหนทางแก้ไขและดำเนินการแก้ไขอย่างเป็นระบบ และมีแผนการที่แน่ชัดและชัดเจนมากขึ้น















