6 สารเสพติดที่เลิกยากที่สุดในโลก
1. นิโคติน
นิโคติน เป็นสารประกอบอัลคาลอยด์ชนิดหนึ่ง ไม่มีสี ซึ่งพบในต้นยาสูบทุกสายพันธุ์ และความเข้มข้นจะมีมากในใบยาสูบมากกว่าส่วนอื่นๆ เมื่อนำใบยาสูบมาตากแห้งแล้ว จะมีนิโคตินประกอบอยู่ 0.3-5% ของน้ำหนักทั้งหมด ปฏิกิริยาทางชีวเคมีจะเกิดขึ้นที่รากของต้น และเปลี่ยนมาสะสมที่ใบ นิโคตินมีฤทธิ์เป็นพิษกับระบบประสาท และถือเป็นยาฆ่าแมลงอย่างหนึ่ง แต่ถ้าได้รับในจำนวนไม่มาก จะก่อให้เกิดการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง แต่ถ้าได้รับในจำนวนมาก อาจจะถึงตายได้ โดยเมื่อได้รับมากถึงจำนวนหนึ่ง จะเปลี่ยนจากการกระตุ้นสมองเป็นการกดสมอง
2. เฮโรอีน
เฮโรอีน เป็นสารกึ่งสังเคราะห์ของโอปิออยด์ มันเป็นอนุพันธ์ 3,6-ไดอะซิทิล ของ มอร์ฟีน (เรียกว่า ไดอะซิทิลมอร์ฟีน) ซึ่งเป็นสารที่ได้จากฝิ่น และถูกสังเคราะห์โดยการอะซิทิเลชัน (acetylation) ในรูปเกลือไฮโดรคลอไรด์ เป็นผลึกสีขาว ซึ่งเรียกว่า ไดอะซิทิลมอร์ฟีนไฮโดรคลอไรด์ เป็นสารเสพติดอย่างรุนแรงเมื่อเทียบกับสารประกอบเคมีตัวอื่น ๆ เฮโรอีนจัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดประเภท Schedules I และ IV ของ อนุสัญญาว่าด้วยยาเสพติด (Single Convention on Narcotic Drugs) ในสหรัฐอเมริกาถูกผลิตและขายอย่างผิดกฎหมาย แต่เป็นยาตามใบสั่งแพทย์ในประเทศอังกฤษ เฮโรอีนมีชื่อเรียกกันในหมู่นักเสพดังนี้ dope junk smack และ H
3. โคเคน
โคเคน เป็นสารกระตุ้นอย่างเข้มที่มักใช้เป็นยาเพื่อนันทนาการ] ทั่วไปเสพโดยการสูด สูบควัน หรือละลายแล้วฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ฤทธิ์ต่อจิตประสาท เช่น การเสียการรับรู้ความเป็นจริง รู้สึกสุขยิ่งยิ่ง หรือกระสับกระส่าย อาการทางกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อตก และรูม่านตาขยาย ขนาดสูงอาจทำให้ความดันโลหิตหรืออุณหภูมิกายสูงมากได้ เริ่มออกฤทธิ์ภายในไม่กี่วินาทีหรือนาทีหลังใช้ และอยู่ได้ระหว่าง 5 ถึง 90 นาที มีการยอมรับให้ใช้โคเคนทางการแพทย์ในวงจำกัดให้เป็นยาชาและลดการตกเลือดระหว่างการผ่าตัดจมูก และการผ่าตัดท่อน้ำตา
4. แอลกอฮอล์
ในทางเคมี แอลกอฮอล์ คือสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิลหรือหมู่ที่แทนแอลคิล สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์แบบอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายตรง) คือ CnH2n+1OH
5. กาเฟอีน
กาเฟอีน เป็นสารแซนทีนอัลคาลอยด์ ซึ่งสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิดได้แก่ เมล็ดกาแฟ, ชา, โคล่า กาเฟอีนถือว่าเป็นยากำจัดศัตรูพืชโดยธรรมชาติ เพราะมันออกฤทธิ์ทำให้อัมพาต และสามารถฆ่าแมลงบางชนิดได้ กาเฟอีนยังมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวและลดความง่วงได้ เครื่องดื่มหลายชนิดมีกาเฟอีนเป็นส่วนผสม เช่นในกาแฟ น้ำชา น้ำอัดลม รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นประสาทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก
6. กัญชา
กัญชา หรือ ต้นกัญชา เป็นสารเสพติดโดยตั้งใจใช้เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและเป็นยารักษาโรค ในทางเภสัชวิทยา องค์ประกอบที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลักของกัญชา คือ เตตระไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ซึ่งเป็นสารประกอบหนึ่งจาก 483 ชนิดที่ทราบว่าพบในต้นกัญชา[2] ซึ่งสารอื่นที่พบมีแคนนาบินอยด์อีกอย่างน้อย 84 ชนิด เช่น แคนนาบิไดออล (CBD) แคนนาบินอล (CBN) เตตระไฮโดรแคนนาบิวาริน (THCV) และ แคนนาบิเจอรอล (CBG)
ที่มา: https://kknews.cc/health/bkaalln.html