หนุ่มเครียด!!ลาออกนายจ้างไม่คืนเงินประกัน
หนุ่มคนหนุ่ม ทำงานแต่มีเหตุจำเป็นต้องลาออก โดนยืนล่วงหน้าไม่ถึง 30 วัน
นายจ้างเอาเหตุนี้มันเล่นแง่ ไม่คืนเงินประกันตอนเข้างาน
ซึ่งคงจะหลายบาท หนุ่มคนนี้จนหนทางอยากได่คำแนะนำเลย ถามที่เพจกระทรวงแรงงาน
มีคนมาแนะนำแนวทางเอาเงินประกันคืน
ตามหลักเงินประกันที่นายจ้างจะหักได้ การลาออกนั้นต้องเกิดความเสียหายต่องานหักเป็นเงินได้...
เช่นนายจ้างต้องจ้างฟรีแลนมาทำแทนคุณในงานนั้น...ทั้งที่เป็นหน้าที่คุณต้องทำให้เสร็จแต่คุณลาออกไปเฉยๆไม่รับผิดชอบ...แต่ถ้าไม่เสียหายอะไรหักไม่ได้ถ้าลูกจ้างไม่ยอมจ้า..
ลูกจ้างลาออกกระทันหัน หรือยื่นใบลาออกแล้วหายไปไม่มาทำงานอีกเลย (เพราะได้งานใหม่ หรือไปเรียนต่อ หรือประกอบอาชีพอิสระ ) ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย(ม.17 แห่งพรบ.คุ้มครองแรงงานฯ) และผิดระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง และอาจเป็นการทำผิดสัญญาจ้างหากมีข้อตกลงให้ลูกจ้างจะลาออกต้องบอกล่วงหน้าก่อน
กรณีเช่นนี้ หากเกิดความเสียหายแก่นายจ้าง ๆก็เรียกร้องค่าเสียหายจากลูกจ้างได้ แต่ถ้าไม่เกิดความเสียหาย ลูกจ้างก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้ให้นายจ้าง
(แต่ถ้าลูกจ้างยื่นใบลาออกต่อนายจ้างแล้ว นายจ้างให้อนุญาตหรือออกทันที เช่นนี้
ก็ไม่ถือว่าลูกจ้างทำผิดระเบียบ หรือผิดสัญญา ลูกจ้างก็ไม่ต้องรับผิดเพราะถือว่ามีข้อตกลงกันใหม่ให้ลูกจ้างลาออกไปทันที)
ส่วนหลักประกันหรือเงินประกันความเสียหายจากการทำงานที่นายจ้างเรียกหรือรับไปจากลูกจ้างที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้างตามม.10 แห่งพรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ประกอบประกาศกระทรวงแรงงานฯปี 2551ที่ให้เรียกได้ 60 เท่าของค่าจ้างเฉลี่ยต่อวัน นายจ้างจะต้องคืนให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วันนับแต่วันที่ลูกจ้างลาออก
ประเด็นคือ นายจ้างจะเอาเงินประกันที่เรียก
รับไว้มาหักกับค่าเสียหายที่เกิดจากลูกจ้างลาออกกระทันหันได้ หรือไม่
อันนี้ ต้องพิจารณาว่า การลาออกกระทันหัน เกิดความเสียหาย(เป็นตัวเงินหรือคิดคำนวณเป็นเงิน)ต่อนายจ้างหรือไม่
ถ้าไม่เกิดก็ไม่มีความเสียหาย
จะมาหักจากเงินประกันความเสียหายจากการทำงานของลูกจ้างได้ (ไม่มีหนี้เงินที่จะมาหักกลบลบกันกับเงินประกัน)
แต่ถ้าเกิดความเสียหาย ก็ต้องดูความเสียหายคิดเป็นเงินจำนวนเท่าใด ลูกจ้างมีข้อโต้แย้ง จำนวนเงินค่าเสียหายหรือไม่ ถ้าไม่ยินยอมหรือมีข้อโต้แย้งว่าไม่เสียหาย นายจ้างก็จะนำมาหักไม่ได้ นายจ้างต้องคืนเงินประกันให้ลูกจ้างภายใน 7 วัน ถ้าไม่คืนต้องเสียดอกเบี้ย 15 % และอาจมีโทษทางอาญาตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ส่วนความเสียหายหรือค่าเสียหายจากการลาออกไม่ถูกต้องของลูกจ้าง นายจ้างต้องไปฟ้อง เเละนำสืบพยานพิสุจน์ให้ศาลเห็นว่าเกิดความเสียหาย ศาลจึงจะพิพากษาให้ลูกจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้นายจ้าง
ขอบคุณข้อมูล