เตือน!อย่าเซ็นค้ำประกันเพราะเชื่อใจ ชีวิตจะพินาศ
"อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน"
ยิ่งเรื่องช่วยเซ็นต์ค้ำประกัน หนี้สิน อย่าเด็ดขาด..
ซึ่งมีคนออกมาเป็นข่าว..มาโพสเตือนมากมาย
....................................................................
ละครในเฟสก็มี
ถ้าจำเป็นจริงๆควรอ่านรายละเอียดให้ดี ดังนี้
1.อ่านรายละเอียดให้ครบถ้วนว่าลูกหนี้ชำระหนี้ได้
- สิ่งแรกที่ต้องทำคือการดูรายละเอียดสัญญาให้แน่ชัดว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินหรือเงินซึ่งสามารถชำระหนี้ได้
2.จะเซ็นค้ำประกันต้องทำเป็นหนังสือและลายมือชื่อของคู่สัญญา
3.ห้ามเซ็นสัญญาโดยให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้
- ควรอ่านสัญญาทุกครั้งก่อนเซ็นค้ำประกัน และห้ามเซ็นสัญญาที่เขียนว่า “ให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้”
4.ผู้ค้ำจะรับผิดแทนลูกหนี้ตามที่ตกลงในสัญญาเท่านั้น
- สำหรับผู้ค้ำประกันจะรับผิดแทนลูกหนี้ ต่อเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ตามที่ตกลงในสัญญาเท่านั้น
5.เจ้าหนี้ลดหนี้ให้ลูกหนี้เท่าไรผู้ค้ำประกันก็ลดลงเท่านั้น
- กรณีนี้หากเจ้าหนี้ลดหนี้ให้ลูกหนี้เท่าไร ความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันก็ต้องลดลงเท่านั้นเช่นกัน
6.สัญญาต่อเป็นธรรมหากไม่เป็นทำถือว่าเป็นโมฆะ
- หากข้อตกลงในสัญญาเป็นภาระให้กับผู้ค้ำประกันเกินสมควร ข้อตกลงนั้นจะเป็นโมฆะ
7.ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นจากความรับผิดชอบทันที
- ผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นจากความรับผิดชอบ เมื่อยื่นขอชำระหนี้ตามกำหนดเวลา แต่เจ้าหนี้ปฏิเสธไม่ยอมรับการชำระหนี้นั้น
8.เจ้าหนี้ยอมขยายเวลาผ่อน ผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นจากความรับผิดชอบ
- กรณีที่เจ้าหนี้ยอมขยายเวลาผ่อนหนี้แก่ลูกหนี้ จะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดชอบทันที
9.ผู้ค้ำประกันไม่ต้องชำระดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนหากเจ้าหนี้ไม่แจ้งเป็นหนังสือบอกกล่าว
- ผู้ค้ำประกันไม่ต้องชำระดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน ค่าทวงถาม หากเจ้าหนี้ไม่แจ้งเป็นหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ ภายใน 60 วัน นับแต่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
10.ผู้ค้ำประกันมีสิทธิฟ้องลูกหนี้ได้หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้
- หลังชำระหนี้แทนลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันมีสิทธิฟ้องลูกหนี้ตามวงเงินที่ชำระแทน พร้อมดอกเบี้ย และค่าเสียหายอื่นๆ
ก่อนที่จะ “เซ็นค้ำประกันสัญญา” ใดๆ ให้กับผู้อื่น จึงควรที่จะคิดให้ดีก่อนตัดสินใจ ควรทำความเข้าใจถึงสิทธิ์ และผลผูกพันในการเซ็นสัญญาค้ำประกันให้กับผู้อื่น
.
ชีวิตไม่ใช่นิยาย โปรดใช้อย่างระวัง
ขอบคุณข้อมูลภาพ