หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ระลึกถึงความยิ่งใหญ่จากภาพในอดีตของ "หอคำหลวง"

โพสท์โดย blogescape

ระลึกถึงความยิ่งใหญ่จากภาพในอดีตของ "หอคำหลวง"

เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ใน พ.ศ.2549 และทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2546 เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

จัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (พื้นที่ 468 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา) โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2550 รวม 92 วันภายใต้ชื่อ

“มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549”

ซึ่งเป็นงานที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

จากความสำเร็จของการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ที่ได้รับการตอบรับทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างดี คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2551 ให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เข้ามาบริหารจัดการและใช้ประโยชน์พื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการและปฏิบัติงานด้านต่างๆ มีภารกิจหลักในการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้พืชสวนและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรและวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่และประเทศไทย

ดยได้รับการถ่ายโอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ และงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2552 และมีการส่งมอบสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2552

สำหรับการตั้งชื่ออุทยานหลวงราชพฤกษ์นั้น หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ได้มีลายพระหัตถ์ที่ ล. 01/358 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2552 ขอพระราชทานชื่อสวนซึ่งเป็นสถานที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ว่า “สวนหลวงราชพฤกษ์”

 

ต่อมาท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ ปฏิบัติราชการแทนราชเลขาธิการ ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนดังกล่าวว่า “อุทยานหลวงราชพฤกษ์” ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2553 และได้รับพระราชทานชื่อภาษาอังกฤษว่า “Royal Park Rajapruek” ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการที่ รล. 003.4/55045 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2553

ชื่ออุทยานหลวงราชพฤกษ์ หมายถึง สวนของพระมหากษัตริย์

ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูน(ลมแล้ง ภาษาพื้นเมืองภาคเหนือ) นั้น ได้รับการยกให้เป็น ดอกไม้ประจำชาติไทย และด้วยชื่ออันเป็นมงคลยิ่ง(ราชพฤกษ์ : ต้นไม้ของพระราชา) ประจวบเหมาะกับงานพืชสวนโลก "เฉลิมพระเกียติ" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้จัดในสถานที่นี้ ชื่อดอกราชพฤกษ์จึงถูกใช้เป็นชื่อของอุทธยานหลวงแห่งนี้นั่นเอง

หอคำหลวง

“หอคำหลวง” เป็นส่วนแสดงสำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในงาน เป็นพื้นที่จัดแสดงส่วนกลางที่โดดเด่นและสง่างามที่สุด เพื่อจัดแสดงพระอัจฉริยภาพด้านการเกษตร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเป็นกษัตริย์นักการเกษตรเอกของโลก เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ที่ทรง อัจฉริยภาพและ ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดในโลก ภายใต้แนวคิดว่า “พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัว คือ ศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทย”

นั่นคือที่มาของอภิมหาสถาปัตยกรรมล้านนา “หอคำหลวง” โดย หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นประธานคณะอนุกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ“หอคำหลวง”

หอคำหลวง สถาปัตยกรรมล้านนาที่สง่างาม เป็นอาคารครึ่งไม้ครึ่งตึก 2 ชั้น สีน้ำตาลแดง ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าบนเนินดิน พื้นที่ประมาณ 3,000 ตารางเมตร ท่ามกลางเนื้อที่กว่า 470 ไร่ ของศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สองข้างทางเดินสู่หอคำหลวงเต็มไปด้วยสีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์ ส่งให้หอคำหลวง เป็นพื้นที่จัดแสดงส่วนกลางที่โดดเด่นและสง่างามที่สุดอีกทั้งตระการตากับพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ประดับตกแต่งในบริเวณเสาซุ้ม ซึ่งออกแบบได้สวยงามตามอย่างสถาปัตยกรรมล้านนาแท้ ๆจำนวนมากถึง 30 ซุ้ม

หอคำหลวง ที่งดงามตระการตานี้ ผ่านกระบวนการคิด การออกแบบ จากช่างสิบหมู่พื้นบ้านล้านนานับสิบคน ถ่ายทอดผลงานอภิมหาสถาปัตยกรรมล้านนา ให้งามสง่าท่ามกลางงาน มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 และหนึ่งในทีมงานสร้างครั้งนี้มี คุณรุ่ง จันตาบุญ หรือ ช่างรุ่ง สล่าล้านนา ผู้ชำนาญการด้านสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่นล้านนา

หอคำหลวง


“เมื่อครั้งที่ได้รับมอบหมายให้คิดและออกแบบก่อสร้างอาคารสำหรับแสดงนิทรรศการ พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติมายาวนานถึง 60 ปี และเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ทำให้นึกถึง หอคำหลวง ซึ่งเป็นที่ประทับของเจ้าเมืองเชียงใหม่ และพระราชวงศ์เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ในอดีตจึงคิดที่จะสร้างหอคำหลวง ขึ้นมาใหม่อีกครั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นศูนย์กลางจิตใจของประชาชนชาวไทย และทรงเป็นสถาบันสูงสุดที่คนไทยเคารพรักเทิดทูน ด้วยศิลปวัฒนธรรมแบบล้านนาว่ามีความงดงามและอ่อนช้อย”ระยะเวลาจากวันนั้นมาถึงวันนี้ผ่านไปเกือบสองปี อาคารหอคำหลวงเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น จากจินตนาการกลายมาเป็นแบบแปลน เรื่อยมาจนเป็นอาคารครึ่งไม้ครึ่งตึก 2 ชั้น ตั้งอยู่บนเนินดิน พื้นที่ประมาณ 3,000 ตารางเมตร ลักษณะตัวอาคารชั้นล่างจะใช้การก่ออิฐถือปูนเป็นฐาน ส่วนพื้นที่ชั้นบนจะใช้ไม้แดงและไม้สักเป็นองค์ประกอบหลัก

สำหรับจุดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมล้านนาหลังนี้คือ

วิหารซด (หลังคา) ซึ่งจะซ้อนเกยกันตามลักษณะของการก่อสร้าง หอคำหลวง เช่นในอดีต นอกจากนี้ วิหารซด ยังเป็นสิ่งปลูกสร้างที่บ่งบอกถึงความเป็นที่ประทับของกษัตริย์ผู้ปกครองเมือง ชาวบ้านทั่วไปไม่สามารถปลูกสร้างเรือนเช่นนี้ได้ คือ มีหน้า 3 หลัง 2 โดยที่โครงสร้างของวิหารจะไม่ใช้ตะปูในการยึดติด แต่จะใช้ลิ่มสลักให้ไม้เชื่อมติดกันโดยที่ไม่หลุด เรียกว่าขึ้น ม้าต่างไหม การขึ้น ม้าต่างไหม นั้น โดยช่างจะนำท่อนไม้มาเรียงซ้อนต่อตัวกันสามระดับ (รูปทรงคล้ายปิรามิด) และจัดวางให้สมดุลกัน โดยมีการลดหลั่นของหลังคาจากห้องประธานลงมาทางด้านหน้าและด้านหลัง เป็นชั้นเชิงที่สวยงาม

มีเสาไม้ขนาดใหญ่เป็นขารองรับน้ำหนัก ซึ่งเสาไม้นี้ก็มีชื่อเรียกในภาษาท้องถิ่นว่า เสาหลวง โดย เสาหลวง นั้นมีลักษณะทรงกลม ทาพื้นสีดำ และเขียนลวดลายรดน้ำปิดทองตลอดทั้งต้น

หมายเหตุ : ที่มาของชื่อนี้ “ม้าต่างไหม” มาจากลักษณะการบรรทุกผ้าไหมบนหลังม้าไปขาย ของพ่อค้าม้าในล้านนา (ต่าง แปลว่า บรรทุก) ส่วนที่เป็นหลังคาก็ใช้ ดินขอ (กระเบื้องดินเผา) มามุง ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถรื้อถอนนำไปประกอบใหม่ได้

นอกจากโครงสร้างของตัววิหารแล้ว สิ่งที่น่าชมอีกอย่างคือ สิ่งละอันพันละน้อยที่ประดับอยู่ตามตัววิหาร ได้แก่

ช่อฟ้า ซึ่งอยู่เหนือจั่วของวิหารจะมีรูปแกะสลักนกการเวกประดับอยู่ นกการเวกเป็นสัตว์ในวรรณคดีมีปากเป็นจะงอยสวยงามมาก

นาคทัณฑ์ หรือ คันทวย ซึ่งเป็นไม้ค้ำยัน ช่างแกะสลักเป็นรูปนกหัสดีลิงค์สวยงามและอ่อนช้อยมาก ผู้รักในงานศิลปะต้องไปชมด้วยตาตนเอง

หน้าบันและเสาซุ้มประตูทางเข้า เป็นส่วนที่งดงามโดดเด่นที่สุด ซึ่งเป็นผลงานของช่างสิบหมู่พื้นบ้าน จากอำเภอต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือกว่า 60 คน ถือเป็นการรวมตัวกันครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปินสกุลช่างชาวล้านนา ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน ทุกคนต่างวาดลวดลายการแกะสลักและปิดทองกันอย่างสุดฝีมือ ยิ่งเมื่อพิจารณา ชิ้นงานอย่างละเอียด จะพบความงามบนความเหมือนที่แตกต่าง นั่นคือ ในกรอบงานที่เหมือนกัน แต่ลวดลายภายในกรอบนั้นต่างช่างก็ต่างลาย ดูไกล ๆ อาจเหมือนกัน แต่เมื่อพิศดูใกล้ ๆ จะไม่เหมือนกัน เป็นการแสดงออกถึงจินตนาการและความคิดของช่างสิบหมู่ล้านนาแต่ละสกุลนั่นเอง แม้ว่าลายละเอียดที่ปรากฏในผลงานจะบ่งบอกว่าเกิดจากช่างฝีมือคนละสกุลกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากพิจารณาในภาพรวมของผลงานที่ปรากฏต่อสายตา ผลงานทุกชิ้นก็ยังอยู่ในองค์รวมที่เป็นแบบฉบับล้านนาเดียวกัน

หน้าบัน (หน้าแหนบ) ของหอคำหลวงนั้นจะมีการตกแต่งที่สวยงามเป็นพิเศษ ซึ่งในส่วนนี้จะแตกต่างจาก เรือนไทยภาคกลางคือ บริเวณที่ต่ำลงมาจากหน้าบัน จะเป็นแผงเรียกว่า คอกีด ซึ่งช่างได้แกะสลักลวดลายต่าง ๆ อย่างสวยงามประดับประดาไว้ มีทั้งลวดลายดอกไม้ ลายประจำยาม รูปสัตว์ต่าง ๆ สุดแท้แต่จินตนาการของช่างสกุลล้านนา

โก่งคิ้ว คือส่วนที่ต่ำจากคอกีดลงมา เรียกว่ามีลักษณะคล้ายกับสาหร่ายรวงผึ้งของภาคกลาง ส่วนด้านข้างที่เป็นปีกนกก็มีการแกะสลักลวดลายไว้อย่างสวยงามเช่นเดียวกับบริเวณหน้าบันที่กล่าวมาใน

ตอนต้นเป็นเพียงความงามของตัวอาคารหอคำหลวงเท่านั้น ถ้าใครมีโอกาสมาเห็นด้วยตาตนเองจะสังเกตเห็นว่าบริเวณโดยรอบอาคารหอคำหลวงนั้น ยังมีความงดงามตระการตารอให้ชมอยู่อีกมากมาย ผลงานแต่ละชิ้นตั้งเรียงรายอยู่โดยรอบอาคารหอคำหลวง อันได้แก่

ปราสาทเฟื่องโคมไฟ ผลงานปูนปั้นที่ต้องการสื่อถึงความสว่างไสวโชติช่วง

พุ่มหม้อดอก ที่สื่อถึงความจงรักภักดี หรือแม้แต่รูปปั้นยักษ์ หรือ ช้างที่ยืนเฝ้าหอคำหลวงก็ยังมีหลากหลายอริยาบท

สถาปนิกชาวล้านนาจากอำเภอจอมทองท่านนี้ เล่าเพิ่มเติมให้ฟังว่า หอคำหลวง จะต้องเป็นอาคารที่ร่วมสมัย ด้วยรูปทรงและลักษณะการปลูกสร้างจะเป็นแบบล้านนาดั้งเดิม ภายในอาคารแบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็นสองส่วนคือ

ชั้นบน จะจัดให้เป็นหอเฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายในจัดให้มีการแสดงจิตรกรรมฝาผนังแบบล้านนาบอกเล่า เรื่องราวของพระองค์ท่าน อันเป็นพระราชกรณียกิจ ที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ตรงกลาง ห้องโถง กำหนดให้มีการสร้างต้นโพธิ์ทอง หรือ ต้นบรมโพธิสมภาร ประกอบด้วย ใบทั้งหมด 21,915 ใบ เป็น ต้นไม้แห่งทศพิธราชธรรมที่ใบมีการดูนอักษรนูนต่ำที่มีคำที่เป็นธรรม 10 ประการ เป็นภาษาบาลี อันหมายถึง ทศพิธราชธรรม อันเป็นธรรมะที่พระองค์ท่านยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้เหล่าพสกนิกรอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มพระบารมีตราบเท่าปัจจุบันจัดแสดงนิทรรศการภาพพระบรมฉายาลักษณ์ในเหตุการณ์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกวันที่ 5 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493 และ ปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และโครงการพระราชดำริเต็มรูปแบบสามมิติทั้ง แสง สี และ เสียง อลังการ แบ่งเป็น 9 โซน ได้แก่

โซน 1.บทนำ “ ธ ทรงมุ่งหวังที่จะเห็นความฟาสุขของประชาชนชาวสยาม” เป็นการแสดงภาพ การเสด็จเยี่ยมราษฎรในท้องที่ต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่เป็นภาพแห่งความทรงจำที่ประทับใจ เป็นต้น

โซน 2.“จากจิตรลดาสู่พสกนิกร” นำเสนอพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในส่วนของโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ได้แก่ ป่าไม้สาธิต นาข้าวทดลอง ปลานิลปลาหมอเทศ โรงโคนม ไบโอดีเซล สาหร่ายเกลียวทอง ผลิตภัณฑ์จากหนังปลานิล เป็นต้น

โซน 3.“น้ำพระทัยอาทรชาวสยาม” นำเสนอเรื่อง น้ำ การจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร โครงกาฝายชะลอความชุ่มชื้น และพระราชดำริให้จัดทำฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภาวะแห้งแล้ง โครงการกังหันชัยพัฒนาสำหรับเรื่องของขจัดน้ำเสีย การแก้ปัญหาการเกิดน้ำท่วมภายใต้โครงการแก้มลิง เพื่อแก้ปัญหาการระบายน้ำ ซึ่งสามารถบรรเทาความเดือดร้อนให้กับราษฎรได้เป็นอย่างมาก

โซน 4.“พืชผลงามด้วยดินดี” พระราชดำริเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรดินโดยไม่ลอกหน้าดิน และยังทรงสร้ารูปแบบระบบอนุรักษ์ดินในพื้นที่พรุ โดยใช้วิธีการแกล้งดิน และปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้นำหญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เปรียบเสมือนกำแพงที่มีชีวิตในการอนุรักษ์ และคืนธรรมชาติสู่แผ่นดิน รวมทั้งปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นด้วย

โซน 5.“ปลูกป่าไม้เพื่อชีวีสำนึกดีในใจคน” พระราชทานพระราชดำริหลายประการ คือ ปลูกป่า 3 อย่าง แต่ประโยชน์ 4 อย่าง ปลูกป่าเปียก การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก การปลูกป่าในที่สูง และการปลูกป่าในใจ รวามถึงโครงการฝายชะลอความชุ่มชื้น ที่เอื้อผลประโยชน์ที่ดีต่อกัน ของธรรมชาติกับธรรมชาติอีกด้วย

โซน 6.“ขจัดต้นสิ่งเสพติด เพื่อชีวิตราษฎร” เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของราษฎร โดยมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขา ทรงพระกรุณาให้จัดตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และช่วยขจัดปัญหายาเสพติด โดยปลูกพืชที่เป็นประโยชน์ทดแทนฝิ่น ให้ความรู้เรื่องถางป่าและปลูกโดยไม่ถูกต้อง รวมทั้งการรักษาป่า รักษาดินให้เป็นประโยชน์ต่อไปและยั่งยืน และเรื่องราวเกี่ยวกับ สวนสองแสน สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป

โซน 7.“เพิ่มศักยภาพเกษตรกรด้วยการศึกษา” แนวพระราชดำริให้ตั้งศูนย์การศึกษาการพัฒนาอันเรื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้นตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวม 6 แห่ง โดยทำหน้าที่เสมือน “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” เพื่อทำการทดลองวิจัย แสวงหาวิธีการแก้ปัญหาและแนวทางการพัฒนา เช่น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้น

โซน 8.“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และทฤษฎีใหม่ นำมาสู่ผลผลิตแห่งความสำเร็จ ในส่วนนี้ เปรียบเสมือนบทสรุปของโครงการทั้งหมดที่กล่าวไว้ในส่วนจัดแสดง ซึ่งนำเสนอบทสรุปของเนื้อหาทั้งหมดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยพสกนิกรและทรงงานมาโดยตลอดระยะเวลาที่ทรงครองราชย์สมบัติ เป็นเวลา 60 ปี และการเดินตามรอยพระราชดำรัสปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงตรัสไว้สำหรับประชาชนทุกคน เพื่อประโยชน์สุข และชีวิตที่พอเพียงสำหรับประชาชนทุกกลุ่มชั้น

โซน 9.นิทรรศการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จัดทำให้ออกมาในรูปวีดิทัศน์ บทสัมภาษณ์ของประชาชนทุกกลุ่มชนชั้นที่นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จนนำพาซึ่งความสำเร็งในชีวิตที่ดีขึ้น ช่างรุ่ง สถาปนิกผู้ออกแบบผลงานชิ้นเอกนี้กล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า “หอคำหลวง” จะเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทย ให้ได้ซาบซึ้งถึงพระอัจฉริยภาพ ความอุตสาหะ และน้ำพระทัยของในหลวง ในฐานะที่ทรงเป็นกษัตริย์นักการเกษตรที่ยิ่งใหญ่ของโลก นอกจากนี้ หอคำหลวงจะเป็นอาคารมรดกของคนไทยทั้งชาติ ไว้สำหรับเรียนรู้และสืบสานงานศิลปะสกุลช่างล้านนาต่อไปในอนาคต และท้ายที่สุด หอคำหลวง จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศทั่วโลก ให้เดินทางมาชมความมหัศจรรย์ที่ยิ่งใหญ่แห่งใหม่บนผืนแผ่นดินไทย

ผู้ควบคุมการออกแบบ
นายรุ่ง จันตาบุญ สถาปนิกจากบริษัทช่างรุ่งคอนสตรัคชั่นจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคล วิทยาเขตภาคพายัพ มีผลงานการปลูกสร้างอาคารสถาปัตยกรรมล้านนามานานนับสิบปี ผลงานกล่าวขานในวงการช่างสกุลล้านนามากมาย อาทิ

- วิหารหลวงวัดป่าดาราภิรมย์พระอารามหลวงวรวิหาร
- วัดป่าดาราภิรมย์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
- หออินทขิลเสาหลักเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
- งานบูรณะพระตำหนักเจ้าดารารัศมี อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ผู้ออกแบบจิตกรรมฝาผนัง

อาจารย์ปรีชา เถาทอง ที่ปรึกษาโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ และศิลปินชั้นเยี่ยมสาขาจิตรกรรมปี พ.ศ. 2522

เครดิตที่มาของข้อมูล:
https://www.royalparkrajapruek.org/About

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://www.royalparkrajapruek.org/About
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
blogescape's profile


โพสท์โดย: blogescape
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
59 VOTES (4.9/5 จาก 12 คน)
VOTED: fangthanatchaya, ชตระกูล ศรีสวัสดิ์, zerotype, PaMok, lovejpth, Dhaas, topdm, บังไค, adoodee, อกหัก มารักกะลิง, Penjung, blogescape
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
นางเอกดัง จบป.เอกแล้ว ลุ้นเล่นการเมืองเตือนแล้วไม่ฟัง ต้องบังให้มิดนางงามอายุ60ปีคว้ามง!!เตรียมไปต่อMUArgentina👑👠🎉เลขเด็ด อ.โกย บ้านไร่ งวด 2 พฤษภาคม 2567ขำสุดซอย..ฮาก๊าก..คลายเครียด!สาวเครียด! โพสค์ระบาย เหมือนไร้ตัวตนในที่ทำงาน?ช็อตฮาประชาชี : บ้านญาติบรรยากาศแบบนี้ ต้องหาคนมานอนเป็นเพื่อนหน่อยเน่อ ไม่งั้นหลอนแน่ๆอดีตหัวหน้าพรรคคนดัง ย้ายซบ ปชป. ตอบแทนบุญคุณช่วยเป็น สส. สมัยแรก
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
แล้งหนัก...ประปาไร้น้ำ เกาะพีพีต้องซื้อน้ำใช้ช็อตฮาประชาชี : บ้านญาติบรรยากาศแบบนี้ ต้องหาคนมานอนเป็นเพื่อนหน่อยเน่อ ไม่งั้นหลอนแน่ๆอดีตผู้บริหารหญิง Google ไทย เมาแล้วขับ ลาออกเมื่อต้นปี..ทั้งนี้ยังมาก่อเหตุซ้ำอีก!อดีตหัวหน้าพรรคคนดัง ย้ายซบ ปชป. ตอบแทนบุญคุณช่วยเป็น สส. สมัยแรกป่วน ! 3 จว.ใต้ ใบปลิวเกลื่อนยะลา ขณะที่ชาวบ้านไปละหมาดวันศุกร์
กระทู้อื่นๆในบอร์ด Review, HowTo, ท่องเที่ยว
บรรยากาศยามเย็น ที่กว๊านพะเยา โอซาก้าจะเลียนแบบเวนิสในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้าญี่ปุ่นสั่งกั้นมุมภเขาไฟฟูจิ! เหตุ นนท. ทำพิษพฤติกรรมและวัฒนธรรมแปลกประหลาด แต่เป็นเรื่องปกติของผู้คนในอิตาลี ที่คุณอาจจะสงสัยและไม่รู้มาก่อน!
ตั้งกระทู้ใหม่