ประเทศไทยควรจะเดินหน้าเปิดประเทศ ในขณะที่ยังมีการระบาดแบบนี้จริงไหม
ประเทศไทยควรจะเดินหน้าเปิดประเทศ ในขณะที่ยังมีการระบาดแบบนี้จริงไหม
Phuket Sandbox โครงการนำร่องของการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจมวลรวมหลังจากเผชิญสภาวะการณ์ pandemic วันนี้ภูเก็ตน่าจะฉีดเข็มแรกไปอย่างน้อย 300,000 คนแล้ว และเข็มที่สองภายในเดือนมิถุนายนนี้ น่าจะทันการณ์ 1 กรกฎาคม ตามแผนงานของ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ถ้าเป็นไปตามคาดการณ์ แปลว่า ภายในสิ้นปี ภูเก็ตน่าจะเป็นพื้นที่สำหรับ ชาวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนครบ 2 โดส และเป็นพื้นที่ที่ไม่ต้องกักตัวตามนิยามของรัฐ และขยายโมเดลนี้ไปยังพื้นที่อื่น ๆ อันจะทำให้สภาพเศรษฐกิจของไทยน่าจะเติบโตได้
การท่องเที่ยวในหลาย ๆ พื้นที่ของโลก มีความพยายามที่เปิดรับนักท่องเที่ยวชาติต่าง ๆ เพราะเชื่อว่าภายในสองปีที่ผ่านมา ความกระหายเรื่องการท่องเที่ยวน่าจะมีมาก demand น่าจะมากมาย เพียงแต่รอ supply side ให้พร้อมเท่านั้นเอง
อียูเตรียมเปิดรับนักท่องเที่ยวเช่นกัน สำหรับนักท่องเที่ยวหลากหลายประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่ฉีดวัคซีนครบ 2 โดสแล้วเช่นกัน แสดงให้เห็นว่า การท่องเที่ยวน่าจะเป็นปัจจัยในการแก้ปัญหาระยะสั้นของการเติบโตเศรษฐกิจมวลรวมของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่ไม่ได้มีจำนวนประชากรมากมาย เพราะหากมีจำนวนประชากรมากมายอย่าง สหรัฐ หรือ จีนที่เป็น ประเทศที่มีประชาชนจำนวนมาก การผลักดันให้เกิดการบริโภคในประเทศยังสามารถพอทำให้เศรษฐกิจในประเทศเติบโตได้ ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย QE ต่าง ๆ หรือง่าย ๆ คือ การใส่เงินเข้าไปในระบบนั้นเอง แต่ประเทศที่มีจำนวนประชากรน้อย การผลักดันลำพังภายในประเทศอาจจะไม่เพียงพอ เนื่องจากเคยได้รับเงินจากท่องเที่ยวแล้วไปผลักดันการบริโภคภายในประเทศเป็นลำดับถัดมา
การฉีดวัคซีนน่าจะเป็นแนวทางการแก้ไข้เศรษฐกิจที่รัฐบาลต้องทำอย่างเร็วที่สุด ตอนนี้มีวัคซีนอะไรก็ต้องฉีดนำไปก่อน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ เป็นแนวต้านโรคติดต่อ ก่อนที่จะนำวัคซีนทางเลือกอื่น ๆ มาเพิ่มเติม ส่วนตัวยังเชื่อว่าทุกวัคซีนมักจะมีผลข้างเคียงไม่ทางใดก็ทางนึง ไม่ว่าจะเป็นผลในระยะสั้น กลาง หรือ ยาว แต่ที่แน่ ๆ ทุกวัคซีนมีหลักฐานการผ่อนหนักเป็นเบา เมื่อมีการติดเชื้อ แต่ยังไม่มีผลการศึกษาในเชื้อกลายพันธุ์ต่าง ๆ อย่างมากเพียงพอ แต่ ณ เวลานี้ ประเทศไทยน่าจะไม่มีทางเลือกมากนัก (ส่วนตัวเชื่อว่า วัคซีน เป็นเรื่องการเมืองของประเทศต่าง ๆ ไม่ใช่แค่เพียงประเทศเรา การนำทีมเพื่อเจรจาต่อรองน่าจะเป็นความสามารถของการบริหารของรัฐจริง ๆ)
มีข่าวหนึ่งใน มติชน https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2736925
“รัฐบาลควรใช้โมเดลของอังกฤษสำหรับแผนการฉีดวัคซีน ….เริ่มด้วยวัคซีนแอสตร้าฯและไฟเซอร์ (10ล้านโดส) แล้วเพิ่มปริมาณด้วยตัวอื่นอีกหลายๆ ตัว ..สำคัญอยู่ที่ความสามารถของทีมงานรัฐบาลที่จะไปเจรจาหาวัคซีนเพิ่มให้ได้..อย่าจัดเกรดแล้วเรียกเป็นวัคซีนทางเลือกเลย..ควรเป็นวัคซีนสำหรับทุกคน…”
“หัวใจสำคัญในการต่อสู้โควิดคือการจัดหาวัคซีนให้เพียงพอ..อังกฤษทำได้ดีส่วนนึงเกิดจากหญิงเก่งคนนี้ Kate Bingham ที่รัฐบาลมอบให้เป็นผู้นำทีมเฉพาะกิจจัดหาวัคซีนสำหรับอังกฤษ.. Kate เป็นผู้นำบริษัทกลุ่มทุนที่เน้นลงทุนด้านสุขภาพ จึงมีคอนเน็กชั่นและเข้าใจกลไกของธุรกิจนี้เป็นอย่างดี..”
“ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของอังกฤษคืนสู่สภาพก่อนโควิดระบาดแล้ว เร็วกว่าที่คาดไว้มาก”
ในขณะที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อในประเทศไทย น่าจะยังคงตัวเลขแบบนี้ไปอย่างน้อยอีก 1 เดือน จนถึงปลาายเดือนมิถุนายน (มองโลกในแง่ดี) กรกฎาคม ตัวเลขน่าจะเริ่มลด แต่ตัวเลขที่ภูเก็ตไม่ได้เพิ่มขึ้น และ Phuket Sandbox เกิดขึ้นได้จริง และการระดมฉีดวัคซีนในกทม เป็นไปตามแผน ในเนื้อข่าวมีการแบ่งวัคซีน ASTRA ให้กับกรุงเทพ 2.5 ล้านโดส ในเดือนมิถุนายน และยังไม่ทราบจำนวนในเดือนกรกฎาคม แปลว่า ถ้าสามารถแก้ปัญหาที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของเศรษฐกิจไทยได้ รวมถึงเป็นเมืองเห็นการท่องเที่ยว ภายในเดือน กันยายน เราอาจจะเห็นแผนการณ์เปิดประเทศแบบลดจำนวนวันกักตัวได้อีกทีก็ได้ หรือถ้าเป็นได้ อาจจะขยับเหมือนอียูในปลายปีซึ่งเป็นช่วงเวลาทองของการท่องเที่ยวประเทศไทย และ ต้นปี 2565 สำหรับรับนักท่องเที่ยวจีนก็เป็นไปได้
ได้แต่หวังเพื่อที่จะเห็นแสงสว่างที่ปลายทางอุโมงค์