ญี่ปุ่นทำการทดลอง ให้หมูหายใจทางรูก้น!!
ทีมนักวิจัยญี่ปุ่นพบว่า "การนำออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือด ผ่านรูทวารหนัก สามารถช่วยชีวิตสัตว์บางชนิดได้ เช่น หมูและหนูทดลอง โดยพวกมันมีโครงสร้างร่างกาย คล้ายคลึงกับมนุษย์"
วิธีการดังกล่าวเรียกว่า "การหายใจทางรูก้น" วิธีนี้ถูกนำมาพิจารณา ให้เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง ในการช่วยชีวิตผู้มีภาวะขาดออกซิเจน แต่ไม่สามารถใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือ เครื่องปอดเทียมในการรักษาได้ เนื่องจากคนผู้นั้นตกอยู่ในสถานการณ์ ที่ขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือ เครื่องช่วยหายใจ และ ยาสลบที่ต้องใช้ร่วมกันนั้น ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อปอด ของผู้ป่วยคนนั้น
นายแพทย์ "ทาคาโนริ ทาเคเบะ" ผู้นำทีมวิจัย จากมหาวิทยาลัยแพทย์ฯโตเกียว กล่าวว่า "ผมได้แนวคิดเรื่องการนำออกซิเจน เข้าสู่ร่างกายทางลำไส้ จากปลาน้ำจืดบางชนิด ซึ่งปลาดังกล่าวสามารถดำรงชีวิต ด้วยการหายใจแบบนี้ได้!!"
เริ่มแรกก็ทำการผ่าตัดใส่เครื่องช่วยหายใจขนาดเล็ก เข้าไปในรูทวารของหนูทดลอง แต่วิธีนี้จะต้องมีการขัดถูผนังลำไส้ เพื่อนำเมือกที่เคลือบอยู่ออกเสียก่อน ออกซิเจนจึงจะสามารถซึมผ่าน เยื่อบุผนังลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดได้ ซึ่งวิธีรุนแรงนี้ทำให้หนูทดลอง มีอัตราการรอดชีวิตต่ำมาก!!
ทีมวิจัยจึงหันมาทดลองวิธีใหม่ โดยนำของเหลว "เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน" มาสวนทวารแทน เนื่องจากก่อนหน้านี้สารดังกล่าว ถูกนำมาใช้รักษาปอดของทารก และ ถูกใช้ในการทดลองให้มนุษย์หายใจ ด้วยของเหลวมาแล้ว!! โดยไม่เป็นพิษ หรือ มีอันตรายแต่อย่างใด ต่อร่างกายมนุษย์
คราวนี้มีการทดลองนำหมู 4 ตัว มาใส่เครื่องช่วยหายใจ เพื่อปรับให้พวกมันมีอัตราการหายใจ ที่ต่ำลงกว่าปกติ จากนั้นจึงทดลองสวนทวาร หมู 2 ตัว ด้วยสาร "เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน" ที่มีออกซิเจนอยู่เข้มข้น โดยเปลี่ยนถ่ายของเหลวทุกชั่วโมง...
ผลปรากฏว่าหมูที่ได้รับการสวนทวาร มีระดับออกซิเจนในกระแสเลือดสูงขึ้น หลังจากสาร "เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน" เข้าสู่ลำไส้ทุกครั้ง ส่วนหมูอีก 2 ตัว ที่ได้รับการผ่าตัดใส่หลอดบรรจุสาร "เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน" ในลำไส้โดยตรง ก็มีระดับออกซิเจน ในร่างกายสูงขึ้นเช่นกัน ผิวหนังของหมูทั้ง 4 ตัว ดูมีเลือดฝาดมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด!!
หนูทดลองที่อยู่กล่องปิด ซึ่งมีอากาศหายใจเบาบาง กลับมีระดับออกซิเจนในร่างกายสูงขึ้น วิ่งไปมาได้นานขึ้น และ ออกซิเจนยังเข้าสู่หัวใจมากขึ้น เมื่อได้รับการสวนทวารด้วย สาร "เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน"
แต่ตอนนี้ยังจะต้อง ทำการศึกษาทดลองกันต่อไป เพื่อยืนยันว่าวิธีการนี้จะได้ผล และ ปลอดภัยสำหรับมนุษย์หรือไม่?
ที่มา: https://scitechdaily.com/






