ทำไมจึงใช้พระโคเสี่ยงทาย ในพระราชพิธีพืชมงคล ?
พระโค ในทางศาสนาพราหมณ์ หมายถึงเทวดาผู้ทำหน้าที่เป็นพาหนะของพระอิศวร ซึ่งเปรียบกับการใช้แรงงาน และความเข้มแข็ง เป็นสัตว์เลี้ยงที่พระกฤษณะและพลเทพดูแล ซึ่งเปรียบได้กับความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นในราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (พิธีไถหว่าน) หรือพระราชพิธีพืชมงคล อันเป็นพิธีพราหมณ์ จึงกำหนดให้ใช้พระโคเพศผู้เข้าร่วมพระราชิพิธีเสมอมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1
ในพระราชพิธีจะมีการเสี่ยงทายผ้านุ่ง โดยพระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐานหยิบผ้านุ่งแต่งกาย เป็นผ้าลาย มี 3 ผืน คือ 4 คืบ 5 คืบ และ 6 คืบ
ถ้าหยิบได้ผ้า 4 คืบ ทำนายว่า ปีนั้น น้ำจะมาก นาในที่ดอนจะได้ผลดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหาย ได้ผลไม่เต็มที่
ถ้าหยิบได้ผ้า 5 คืบ ทำนายว่า ปีนั้น นำ้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลดี ผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
ถ้าหยิบได้ผ้า 6 คืบ ทำนายว่า ปีนั้น น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลดี แต่นาในที่ดอน จะเสียหาย ได้ผลไม่เต็มที่
นอกจากนี้ จะมีการเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่งที่ตั้งเลี้ยงพระโค ประกอบด้วย ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ำ และหญ้า
ถ้าพระโคกินข้าว หรือข้าวโพด ทำนายว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี ถ้ากินถั่วหรืองา ทำนายว่า ผลาหาร ภักษาหาร
จะอุดมสมบูรณ์ดี ถ้ากินน้ำ หรือหญ้า ทำนายว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ ถ้ากินเหล้า ทำนายว่า การคมนาคม จะสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น เศรษฐกิจจะรุ่งเรือง
สำหรับปี 2564 นี้ ไม่ได้จัดงานพระราชพิธีพืชมงคล ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19