ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน พื้นที่โดยส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ราบสูง จะมีภูเขาอยู่ทั่วไป เป็นแหล่งเกษตรกรรมผลิตข้าวหอมมะลิส่งขายไปทั่วโลก โดยแม่น้ำสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ แม่น้ำโขง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีประชากรมากคิดเป็นร้อยละ 33.33 ของประเทศไทย หรือประมาณ 21.59 ล้านคน จากผลสำรวจประเทศเมื่อปี 2559
ภาคตะวันเออกเฉียงเหนือ ประกอบไปด้วย 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครพนม จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดเลย จังหวัดสกลนคร จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี จังหวัดอุบลราชธานี และอำนาจเจริญ ซึ่งมีอาณาเขตทิศเหนือ และทิศตะวันออก ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งทิศใต้จะติดกับประเทศกัมพูชา และภาคตะวันออก ทิศตะวันตกจะติดกับภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมจะมีพื้นที่ประมาณ 105 ล้านไร่ ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นที่ราบสูง ทำให้มีความลาดเอียงไปทางทิศตะวันออก ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกระทะ โดยภาคอีสานจะแบ่งได้ 2 เขตใหญ่ ได้แก่ แอ่งที่ราบโคราช และแอ่งสกลนคร
แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีมากมาย เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ, วัฒนธรรม, ประเพณี, โบราณคดี ฯลฯ แหล่งท่องเที่ยวสำคัญเช่น อุทยานแห่งชาติภูกระดึง, อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย, อุทยานแห่งชาติภูเรือ, สวนหินผางาม, อุทยานภูเก้า-ภูพานคำ, ทิวทัศน์ลำน้ำโขง, เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูวัว, ภูฝอยลม ฯลฯ เป็นต้น
ด้านการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีนักท่องเที่ยวประมาณ 3 ล้านคนต่อปี มีรายได้ปีละ 6 พันล้านบาท มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้ม เช่น ทรัพยากรป่าไม้ มีพื้นที่ทั้งหมด 21 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ป่า 4 ล้านไร่ นอกจากนี้อุตสาหกรรมแร่ ยังสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างมาก เช่น แร่แบไรต์, แร่โปรแตส, แร่หินปู และแร่ตะกั่ว เป็นต้น
เส้นทางคมนาคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน มีทั้งการคมนาคมทางอากาศ, การคมนาคมทางรถไฟ, การคมนาคมทางบก โดยเชื่อมโยงกับภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย นักท่องเที่ยวสามารถโดยสารเครื่องบินจากสนามบินสุวรรณภูมิบินข้ามไปได้หลายจังหวัด