ไวรัสตับอักเสบซีคืออะไร?
ไวรัสตับอักเสบซี คือโรคเกี่ยวกับตับที่เชื้อแพร่กระจายได้ง่าย มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสคือเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (HCV) การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแบบเฉียบพลันเป็นภาวะเจ็บป่วยระยะสั้นที่เกิดขึ้นประมาณ 6 เดือนหลังจากที่ผู้นั้นสัมผัสเชื้อไวรัสตับอักเสบซีครั้งแรก โดยปกติการติดเชื้อแบบเฉียบพลันจะไม่กลายเป็นการติดเชื้อแบบเรื้อรังเสมอไป การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรังเป็นภาวะเจ็บป่วยระยะยาวซึ่งเกิดขึ้นเมื่อยังคงมีเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกายของผู้นั้น ภาวะการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีสามารถคงอยู่ได้ตลอดชีวิตและนำไปสู่สภาวะที่เป็นอันตรายต่อตับรวมถึงภาวะตับแข็งหรือมะเร็งตับ
ไวรัสตับอักเสบซีติดต่อทางไหน ?
ไวรัสตับอักเสบซี เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อได้จากการรับเลือดและส่วนประกอบของเลือด โดยอาจมาจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การสัก เจาะหู การฝังเข็ม ด้วยเครื่องมือที่ใช้ไม่สะอาดและไม่ได้รับการฆ่าเชื้อที่ถูกต้อง จึงเป็นสาเหตุของการติดต่อไวรัสตัวนี้
อาการของไวรัสตับอักเสบซี
ผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบซี อาจจะไม่มีอาการ หรือมีอาการแต่ไม่มาก อาการที่พบได้คือ
- อ่อนเพลีย
- เบื่ออาหาร
- คลื่นไส้อาเจียน
- ปวดชายโครงขวา
- ปวดกล้ามเนื้อและ ปวดข้อ
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเรื้อรังจะมีอาการ
- ตับ ม้ามโต
- ตัวเหลืองตาเหลือง
- กล้ามเนื้อลีบ
- ท้องมาน
- เท้าบวม
วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
- ห้ามใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
- สวมถุงมือถ้าต้องสัมผัสเลือด
- ห้ามใช้มีดโกนหนวด แปรงสีฟันร่วมกัน
- ห้ามใช้อุปกรณ์ในการสักร่วมกัน
- ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
วิธีการรักษาไวรัสตับอักเสบซี
ปัจจุบันยาที่ใช้มาตรฐานในการรักษา คือ การให้ยา 2 ตัวร่วมกัน ประกอบด้วย ยาฉีดในกลุ่มอินเตอร์เฟอรอน ร่วมกับยาไรบาไวริน ซึ่งได้รับประทานยาทั้งสองจะให้ผลดี คือ สามารถกำจัดไวรัสให้หมดไป และไม่เป็นซ้ำอีกหลังหยุดยา ซึ่งผลเฉลี่ยมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ บางสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงน้อย ให้ผลเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์