หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

รู้หรือไม่? ท้องผูกบ่อย นั่งห้องน้ำนานเบ่งถ่ายเป็นประจำ เสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

เนื้อหาโดย jomjai1234

หลายคนมักมีอาการท้องผูกเป็นประจำ เวลาจะขับถ่ายทีต้องนั่งเบ่งถ่ายในห้องน้ำเป็นเวลานาน ๆ สาเหตุอาจเกิดจากพฤติกรรมการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้อง เช่น รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงแต่มีกากใยน้อย ไม่ค่อยดื่มน้ำ ชอบกลั้นอุจจาระบ่อย ๆ ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย หรือไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น ซึ่งอาการท้องผูกที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ เรื้อรังแบบนี้ หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่น่าต้องกังวลอะไร แต่ความจริงแล้ว การที่ท้องผูกบ่อย ๆ นั้นเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ เพราะอาการท้องผูกเป็นหนึ่งอาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยเช่นกัน

 

วันนี้เราจึงได้นำความรู้จากศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงบาลนครธนมาฝากกัน เกี่ยวกับอาการมะเร็งลำไส้ และแนวทางการตรวจรักษา ซึ่งมีถึง 3 วิธีด้วยกัน ทั้งการผ่าตัด การฉายแสงส่องกล้องลําไส้ใหญ่ และเคมีบำบัดแต่ละวิธีมีการรักษาอย่างไรบ้างนั้นตามมาอ่านเพิ่มเติมกันได้เลยค่ะ

 

 

มะเร็ง ถือเป็นอันดับหนึ่งในการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก ซึ่งมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็เป็น 1 ใน 5 อับดับของมะเร็งร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยในปัจจุบัน และจากสถิติสถานการณ์สุขภาพของคนไทย 10 ปีย้อนหลัง คนไทยมีแนวโน้มเสียชีวิตด้วยรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงขึ้น 2.4 เท่าทั้งเพศหญิงและชาย (อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ) ที่น่ากลัวไปกว่านั้น ผู้ป่วยในระยะเริ่มแรกมักจะไม่มีอาการแสดงให้เห็นเลย ดังนั้น การคัดกรองในรายที่ยังไม่แสดงอาการและตรวจพบในระยะแรกจึงมีโอกาสรักษาหายได้มากกว่า

 

สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่มักตรวจพบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งอายุเฉลี่ยของคนไทยที่ตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 60-65 ปี แต่โรคนี้ก็สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย และผู้ที่มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็จะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป ทั้งนี้ เชื่อว่าการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูงเพื่อป้องกันท้องผูก ทานอาหารที่มีไขมันน้อย ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะลดโอกาสการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

 

อาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการอะไรเลย ก็เป็นได้ และส่วนใหญ่อาการที่สังเกตได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มักจะคล้ายกับอาการของโรคลำไส้ทั่ว ๆ ไป ดังนั้นถ้ามีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์และไม่ควรปล่อยไว้นาน ได้แก่

 

  1. ท้องผูก สลับท้องเสียอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
  2. อุจจาระเป็นมูกเลือด เป็นเลือดสด หรือสีดำคล้ายสีถ่าน
  3. ปวดเบ่งเวลาถ่ายอุจจาระ
  4. ปวดท้องอย่างรุนแรง
  5. อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หรือซีดโดยไม่รู้สาเหตุ
  6. อาจคลำก้อนได้ในท้อง

 

 

การตรวจวินิจฉัย

การตรวจวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไม่นั้น เริ่มจากการซักประวัติ การตรวจร่างกายประกอบอาการและอาการแสดงของ ผู้ป่วย รวมทั้งการตรวจทางทวารหนักด้วย ซึ่งแพทย์จะพิจารณาตรวจเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เช่น การตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ ( CEA: Carcinoembryonic Antigen) การถ่ายภาพเอกซเรย์ด้วยการสวนแป้งทางทวารหนัก การส่องกล้องทางทวารหนักและการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางด้านพยาธิวิทยา เพื่อหาโรคมะเร็ง

 

ในการตรวจหาระยะของโรค แพทย์อาจมีการตรวจเพิ่มเติม ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ไม่จำเป็นต้องตรวจเหมือนๆกันในผู้ป่วยทุกราย เช่น การตรวจช่องท้องด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-Scan) การตรวจภาพเอกซเรย์ปอด การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการเพื่อดูการทำงานของตับ ไต การตรวจภาพของกระดูกด้วย (CT Scan หรือ MRI ตามความเหมาะสม ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดหลังมาก ) เพื่อตรวจว่าได้มีโรคแพร่กระจายไปกระดูกหรือไม่ และการตรวจอัลตราซาวด์ตับถ้าสงสัยว่ามีโรคแพร่ไปตับ

 

การรักษา

การรักษาขึ้นอยู่กับระยะของโรค ความพร้อมของร่างกายผู้ป่วยว่ามีความพร้อมมากพอและเหมาะสมกับวิธีใด ซึ่งการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่มี 3 วิธีหลักที่สำคัญได้แก่ การผ่าตัด รังสีรักษา และเคมีบำบัด

 

การผ่าตัด (Surgery) เป็นการรักษาหลักของมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ การผ่าตัดเอาลำไส้ส่วนที่เป็นโรคและต่อมน้ำเหลืองออกไป ในบางครั้งถ้าเป็นมะเร็งที่ลุกลามมาก หรือมะเร็งของลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่อยู่ติดกับทวารหนัก การผ่าตัดอาจมีความจำเป็นต้องทำทวารเทียมเอาปลายลำไส้ส่วนที่เหลืออยู่เปิดออกทางหน้าท้อง ( Colostomy ) เป็นทางให้อุจจาระออก

 

การฉายแสง (Radiation Therapy) เป็นการใช้รังสีพลังงานสูงในการกำจัดเซลล์มะเร็ง ปกติจะใช้การฉายแสงในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย จะรักษาร่วมกับการผ่าตัด อาจฉายรังสีก่อนหรือหลังการผ่าตัด ซึ่งแพทย์จะพิจารณาและประเมินจากลักษณะการลุกลามของก้อนมะเร็งและโอกาสการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง โดยทั่วไป การฉายรังสีรักษามักใช้ระยะเวลาประมาณ 5-6 สัปดาห์ โดยฉายวันละ 1 ครั้ง ฉายติดต่อกัน 5 วันใน 1 สัปดาห์

 

เคมีบำบัด (Chemotherapy) คือ การให้ยาสารเคมี ซึ่งอาจให้ก่อนการผ่าตัดหรือหลังผ่าตัดร่วมกับรังสีรักษาหรือไม่ก็ได้ โดยมีการศึกษาพบว่าการฉายแสงร่วมกับเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย สามารถลดการเกิดโรคขึ้นมาใหม่ และลดอัตราการผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่มาเปิดไว้ที่หน้าท้อง นอกจากนี้ยาเคมีบำบัดยังใช้ในการรักษาหลักในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแพร่กระจายหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับการผ่าตัดได้ การใช้ยาเคมีบำบัดจึงใช้เพื่อหยุดการกระจายตัวของมะเร็งไม่ให้ลุกลามต่อและเพิ่มอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยได้นานขึ้น ทั้งนี้ ก็จะขึ้นกับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ไม่จำเป็นต้องให้ในผู้ป่วยทุกราย แพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป

 

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลหรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

https://www.nakornthon.com/article/detail/โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
jomjai1234's profile


โพสท์โดย: jomjai1234
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สาวเครียด! โพสค์ระบาย เหมือนไร้ตัวตนในที่ทำงาน?มาแล้ว "หวยควายนำโชค" งวดวันที่ 2/5/2567เมืองเวนิช " เก็บค่าธรรมเนียม " เข้าชมเมืองเขมรเคลมอีก? อ้าง ข้าวเหนียวทุเรียน คือขนมดั้งเดิมของเขมรโบราณ!ช็อตฮาประชาชี : บ้านญาติบรรยากาศแบบนี้ ต้องหาคนมานอนเป็นเพื่อนหน่อยเน่อ ไม่งั้นหลอนแน่ๆแล้งหนัก...ประปาไร้น้ำ เกาะพีพีต้องซื้อน้ำใช้จีนล้ำ!"เสินโจว-18"ส่งนักบินถึงสถานีอวกาศเทียนกงมารู้จัก "แบม สราลี" ผู้รับบท "ม.ล.ปกเกศ"..ในดวงใจเทวพรหม ตอน "ขวัญฤทัย"
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
แล้งหนัก...ประปาไร้น้ำ เกาะพีพีต้องซื้อน้ำใช้ช็อตฮาประชาชี : บ้านญาติบรรยากาศแบบนี้ ต้องหาคนมานอนเป็นเพื่อนหน่อยเน่อ ไม่งั้นหลอนแน่ๆอดีตผู้บริหารหญิง Google ไทย เมาแล้วขับ ลาออกเมื่อต้นปี..ทั้งนี้ยังมาก่อเหตุซ้ำอีก!อดีตหัวหน้าพรรคคนดัง ย้ายซบ ปชป. ตอบแทนบุญคุณช่วยเป็น สส. สมัยแรกป่วน ! 3 จว.ใต้ ใบปลิวเกลื่อนยะลา ขณะที่ชาวบ้านไปละหมาดวันศุกร์
กระทู้อื่นๆในบอร์ด เพื่อสุขภาพร่างกาย
โรคไต การตรวจคัดกรองสำคัญอย่างไร? ตรวจอะไรบ้าง ใครบ้างควรไปตรวจ?ไปทดลองเครื่องออกกำลังกายที่ฟิตเนสแล้วชอบมาก อยากซื้อมาไว้ที่บ้านแนวทางการป้องกันและการรักษาซิฟิลิสความเข้าใจผิดเรื่องเอชไอวี
ตั้งกระทู้ใหม่