ข่าวปลอม ‼️ กินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปดิบดูดน้ำย่อยในลำไส้
ข่าวปลอม ‼️
กินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปดิบดูดน้ำย่อยในลำไส้
จากที่ได้มีข้อความถูกเผยแพร่อยู่ในสื่อโซเชียลออนไลน์ต่างๆ ถึงประเด็นเรื่อง " กินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปดิบดูดน้ำย่อยในลำไส้ "
ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ไปยัง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขพบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็น " ข้อมูลเท็จ " ‼️ ค่ะ
เนื่องจาก ที่มีการส่งต่อข้อความว่า " กินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปดิบ จะทำให้ไปดูดน้ำย่อยในลำไส้ และทำให้ร่างกายเกิดอาการขาดน้ำ จนเกิดภาวะช็อกได้นั้น "
ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้การชี้แจงว่า การกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปดิบ ไม่สามารถดูดน้ำย่อยในลำไส้ได้ และไม่ทำให้ร่างกายขาดน้ำ ค่ะ
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ทำมาจากแป้ง กรรมวิธีคืออาจนำไปทอดในน้ำมัน หรือนำไปอบแห้ง ก่อน เมื่อจะรับประทานจึงจะนำมาต้ม หรือเติมน้ำร้อนอีกที
เมื่อนำมาเติมน้ำร้อน หรือต้มเส้นบะหมี่จะดูดน้ำ และพองตัวในระดับหนึ่ง รวมทั้งมีความอ่อนนุ่ม เหมาะแก่การรับประทาน
หากเพื่อนๆ นำมารับประทานดิบๆ เมื่อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเข้าสู่ร่างกาย ก็เหมือนกับการกินแป้ง หรือขนมปัง นั่นเองค่ะ ไม่สามารถไปดูดน้ำย่อยในลำไส้ และทำให้ร่างกายขาดน้ำ อย่างที่มีการแชร์ข้อความสื่อให้คนเข้าใจไปแบบนั้น
หากแต่ว่า การกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปดิบ อาจทำให้มีอาการท้องอืด , ท้องเฟ้อ , จุกเสียดแน่นท้องได้ ทั้งนี้ก็เพราะว่าบะหมี่สำเร็จรูปต่อ 1 ซอง มีปริมาณโซเดียมที่สูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณโซเดียมที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน
โดยปริมาณโซเดียม ที่แนะนำให้รับประทาน คือ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หากกินมากเกินไปจะทำให้เกิดอาหารกระหายน้ำ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต , ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจได้นั่นเองค่ะ
ดังนั้น เพื่อนๆ ไม่ควรรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเกินวันละ 2 ซอง
เพราะฉะนั้น ขอให้เพื่อนๆ อย่าได้หลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมืออย่าส่งต่อ หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อออนไลน์ต่างๆ
และหากเพื่อนๆ ต้องการได้รับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เพื่อนๆ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือโทร. 1556 ค่ะ
สรุปคือ การกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปดิบ ไม่ได้ทำให้บะหมี่ไปดูดน้ำย่อยในลำไส้แต่อย่างใด และไม่ทำให้ร่างกายขาดน้ำ ( dehydration )
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
อ้างอิงจาก: https://www.antifakenewscenter.com/ข่าวปลอม-อย่าแชร์-กินบะ/
www.fda.moph.go.th