หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

การรับรองบุตรมีผลดีต่อลูก+++

Share แชร์บอร์ด ถามตอบ พูดคุย เนื้อหาโดย LOVE

การมีลูกเราคนเป็นพ่อก็ต้องรับรองบุตร..เพื่อสิทธิประโยชน์ของลูกในภายภาคหน้าๆ

ถ้าละเลยในการรับรองบุตร ผลก็จะตกที่บุตร สมมุติ บิดา สิ้น บุตรจะมีสิทธิทรัพย์สินบิดา หรือรับมรดกได้ ต้องขึ้นศาลเรียกร้องแสดงต่อศาลว่าเป็นบุตรจริง...

เหตุผลหลักที่บุคคลเป็นพ่อไม่ได้เซ็นรับรองบุตร

#บุตรเกิดหลังพ่อแม่แยกทาง

#บุตรเป็นลูกเมียนอกสมรส

#ไปวางไข่ไว้แล้วหายจากไป

ฯลฯ

การรับรองบุตรมีผลดีต่อลูก+++

การรับรองบุตรมีผลดีต่อลูก+++

โอ้ยยยมันยุ่งยากนะ  นั้นจงทำให้เป็นเรื่องง่าย เซ็นรับรองบุตรซะตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ครับ

กฎหมายถือว่าเด็กซึ่งเกิดจากหญิงที่มิได้จดทะเบียนสมรสกับชาย เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้หญิงแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น(ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546) ทีมสำนักงานกฎหมายลำพูน และ ที่ปรึกษาทนายความลำพูน ขอเรียนว่า การรับรองบุตร เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาได้

สามารถทำได้ 3 วิธี (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547)

1. เมื่อบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง

2. บิดาจดทะเบียนรับรองว่าเด็กเป็นบุตร ซึ่งวิธีการนี้ไม่ต้องจดทะเบียนสมรสกับมารดาของเด็ก แต่กฎหมายกำหนดเงื่อนไขในการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรต้องได้รับความยินยอมจากเด็กและมารดาของเด็ก โดยทั้งสองคนต้องไปให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน ทีมสำนักงานกฎหมายลำพูน และ ที่ปรึกษาทนายความลำพูน ขอเรียนว่า แต่หากบุคคลทั้งสองไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น มารดาถึงแก่ความตายแล้ว หรือกรณีเด็กไม่อาจแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ เช่น อายุยังน้อยเกินไป เป็นต้น กรณีนี้บิดาจะต้องมาร้องขอให้ศาลมีคำสั่งรับรองบุตร

3. ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

ทั้งนี้เพื่อเป็นการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของบิดาและบุตร ตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป

ผลเสียการไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

1. เสียสิทธิต่างๆตามที่กฎหมายกำหนดไว้

2. ไม่สามารถเรียกให้บิดาจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู เว้นแต่ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย

3. หากบุคคลภายนอกทำละเมิดให้บิดาตาย บุตรไม่สามารถฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้

4. บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 คือบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ทีมสำนักงานกฎหมายลำพูน และ ที่ปรึกษาทนายความลำพูน ขอเรียนว่าแต่ในความเป็นจริงมักจะถูกผู้จัดการมรดกปฏิเสธว่าไม่ใช่บุตร จึงต้องมีการพิสูจน์ความเป็นบุตรที่แท้จริง

5. หากบิดาเป็นข้าราชการ เมื่อบิดาตาย บุตรมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอด แต่เมื่อบุตรไปขอรับเงินจากทางราชการ แต่ทางราชการจะปฏิเสธว่าต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ทีมสำนักงานกฎหมายลำพูน และ ที่ปรึกษาทนายความลำพูน ขอเรียนว่าทำให้บุตรต้องมายื่นคำฟ้องต่อศาลก่อน ซึ่งจะทำให้ถูกทายาทเจ้ามรดกคัดค้านว่าไม่ใช่บุตร

6. การลดหย่อนภาษี

เอกสารประกอบ มีดังนี้

1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง(บิดา) และมารดา

2. ทะเบียนบ้านของผู้ร้อง, มารดา และบุตร

3. สูติบัตรของบุตร

4. ใบมรณบัตรของมารดาของบุตร (กรณีมารดาของเด็กเสียชีวิต)

5. ใบเปลี่ยนชื่อตัว / ชื่อสกุล (ถ้ามี) ของผู้ร้อง(บิดา), เด็ก หรือ มารดาของเด็ก

6. หนังสือให้ความยินยอมของมารดาของเด็กและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีมารดายังมีชีวิต)

7. ภาพถ่ายแสดงความสัมพันธ์ ของ บิดา, มารดา และเด็ก

8. หนังสือรับรองการเรียนของบุตร จากโรงเรียน

เอกสารเพิ่มเติม (กรณีบิดาเป็นชาวต่างชาติ)

9. หนังสือเดินทาง(Passport) พร้อมแปลภาษาไทย

10. VISA แสดงการเข้า-ออกราชอาณาจักร

ระยะเวลาดำเนินการ

นับแต่วันที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้อง ศาลจะนัดไต่สวนคำร้องไม่น้อยกว่า 45 วัน และภายในเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องแล้ว ทีมสำนักงานกฎหมายลำพูน และ ที่ปรึกษาทนายความลำพูน ขอเรียนว่าผู้ร้องต้องนำบุตรและมารดาของบุตรไปให้ถ้อยคำต่อผู้อำนวยการสถานพินิจ เพื่อรายงานข้อเท็จจริงเสนอความเห็นต่อศาลประกอบในการพิจารณาคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร (ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว มาตรา 117)

ในวันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องพร้อมมารดาผู้เยาว์ และผู้เยาว์ต้องมาศาล โดยต้องนำเอกสารพยานหลักฐานต่างๆ เพื่อทำการไต่สวนคำร้อง เมื่อพ้นกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง ผู้ร้องสามารถขอคัดถ่ายคำสั่งศาล และขอหนังสือสำคัญแสดงคดีถึงที่สุด ทีมสำนักงานกฎหมายลำพูน และ ที่ปรึกษาทนายความลำพูน ขอเรียนว่าแล้วนำเอกสารดังกล่าว ไปดำเนินการจดทะเบียน ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอใดก็ได้

หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อ เมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก ถ้า เด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในหกสิบวันนับแต่การ แจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ทีมสำนักงานกฎหมายลำพูน และ ที่ปรึกษาทนายความลำพูน ขอเรียนว่าให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทยให้ขยายเวลานั้นเป็นหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตร ต้องมีคำพิพากษาของศาล เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้

ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทีมสำนักงานกฎหมายลำพูน และ ที่ปรึกษาทนายความลำพูน

1. สำหรับกรณีมารดาเด็กและตัวเด็กเองไม่ได้ให้ความยินยอม บิดาต้องยื่นคำฟ้องทั้งมารดาและบุตรเป็นจำเลยในคดีเดียวกัน

2. กรณีบุตรฟ้องให้บิดารับตนเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย หากอายุเกิน 21 ปี บิดาสามารถปฏิเสธการรับเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายได้

3. การจดทะเบียนรับรองบุตรต่อนายทะเบียน กรณีไม่ได้ร้องขอต่อศาล เด็กที่สามารถให้ความยินยอมได้ ต้องอายุเกิน 8 ปีบริบูรณ์

4. การตรวจDNAต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าตัว ถ้าเจ้าตัวฝ่ายใดไม่ให้ความยินยอม กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่อีกฝ่ายกล่าวอ้าง

5. ภายหลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนของศาล บิดาต้องนำเอกสารอันได้แก่ คำพิพากษาและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดไปประกอบการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอที่บุตรมีภูมิลำเนา จึงที่ถือว่าสมบูรณ์

6. เมื่อได้จดทะเบียนเด็กเป็นบุตรแล้วจะถอนมิได้ (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1559)

7. สิทธิต่างๆของบุตร มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่เด็กเกิด โดยไม่คำนึงว่าเด็กจะกลายเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่เมื่อไหร่ (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557)

8. การให้ถ้อยคำต่อนักสังคมสงเคราะห์หรือนักจิตวิทยา ณ สถานพินิจ บิดามารดาต้องแสดงหลักฐานต่างๆเช่นเดียวกับที่ต้องแสดงต่อศาล

9. บิดาสามารถเลือกยื่นคำร้องต่อศาลได้ทั้งภูมิลำเนาของตน หรือที่อยู่กินกันกับมารดาของบุตร

10. การจดทะเบียนรับรองบุตร จะสมบูรณ์เมื่อนำคำพิพากษาไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ(ใดก็ได้) พร้อมพยาน 2 คน

11. กรณีตรวจ DNA ต้องตรวจที่โรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น ค่าบริการคนละ 6,500 บาท

12. กรณีพ่อหรือแม่เป็นชาวต่างชาติ ไม่สามารถพูดและอ่านภาษาไทยได้ ต้องใช้ล่ามในการให้ถ้อยคำสถานพินิจและชั้นศาลด้วย

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

เนื้อหาโดย: LOVE
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
LOVE's profile


โพสท์โดย: LOVE
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ฟังธง!! 3 ตัว หาซื้อเลขนี้ไว้เลย 1 เมษายน 2567ถ้าเราดื่มน้ำน้อย หรือมาเกินไป จะเกิดอะไรกับร่างกายของเรา?ปรี๊ดเลย! "ครูไพบูลย์" โดนแซวว่าเล็ก..โต้กลับทันที "ผมเล็กหรือคุณโบ๋" กันแน่สุสานวัดดอน. สุสานกลางกรุง!ลุงเปิดพัดลมคลายร้อนทั้งวันทั้งคืน จนช็อตไฟไหม้บ้านทั้งหลัง 🥺นักดื่มกระทิงแดง กำลังมองหากระป๋อง ที่มีจุดสีน้ำเงินอยู่ข้างใต้แดนเซอร์ "ลำไย ไหทองคำ" หล่อระดับพระเอก..ค่ายเตรียมดันเป็นศิลปินแล้วอึ้ง! ลาวขุดค้นพบ "พระเจ้าแสนแซ่" องค์พระที่มีวิธีการสร้างไม่เหมือนพระพุทธรูปทั่วไป หล่อแยกเป็นชิ้นๆ?ยลโฉมความงดงามของนครวัดก๊อปเกรดเอจากฝีมือจีน อลังการไม่แพ้นครวัดของกัมพูชา!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
รถไฟเหาะที่เร็วสุดในโลก! ประกาศปิดถาวร หลังมีคนกระดูกคอหักหลายรายส่วยเว็บwนัน: สะเทือนวงการตำรวจไซเบอร์ หลังการแฉของทนายตั้มของฟรีที่ไม่อยากได้!! เมื่อซื้อข้าวตามสั่ง เเล้วเจอเส้นผมมาเป็นกระจุก อวสานอาหารมื้อนี้!🥴9 วิธีเด็ดแก้ปัญหา แอร์กินไฟช่วงหน้าร้อน
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ถามตอบ พูดคุย
แต่งงานได้ทุกเพศ ผ่านแล้วใส่ชุดนักเรียนไทย เทรนด์ใหม่ในเวียดนามชายสองคนเพิ่งพบว่าถูกสลับตัวกันตั้งแต่แรกเกิดเมื่อเกือบ 70 ปีที่แล้วทำไมคนอีสานถึงถูกเหยียด ?
ตั้งกระทู้ใหม่