กระชายดำ..ดียังไงนะ
กระชายดำ ...สมุนไพรของไทย..ดีต่อร่างกายอย่างไรนะ..ไปดูกันเลยค่าาาา
ลักษณะใบของกระชายดำขอบใบมีสีแดง
ดอกของกระชายดำ
กระชายดำ มีชื่อเรียกต่างๆ ตามท้องถิ่นอื่นๆ เช่น กระชายม่วง ว่านเพชรดำ ขิงทราย(มหาสารคาม), กะแอน ระแอน ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัย ว่านจังงัง ว่าพญานกยูง(ภาพเหนือ)
กระชายดำ เป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกับกระชาย ข่า ขิง ไพรและขมิ้น ลักษณะเป็นเหง้าคล้ายกันจะถูกเรียกว่า โสมไทยหรือโสมกระชายดำ มีราคาที่ถูกมากกว่า
กระชายดำ ถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้มากในแถบมาเลเซีย สุมาตรา เกาะบอร์เนียว อินโดจีน และในประเทศไทย กระจายพันธ์ุทั่วไปในเอเชียเขตร้อน ในประเทศจีนตอนใต้ อินเดีย และพม่า
ในประเทศไทยจังหวัดที่ปลูกกระชายดำมาก เช่น จังหวัดเลย ตาก กาญจนบุรี และจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือ เป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน
เหง้ากระชายดำ มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม มีหลายเหง้า อวบน้ำ ผิวเหง้ามีสีน้ำตาลอ่อน ถึงสีน้ำตาลเข้ม ส่วนเนื้อในของเหง้ามีสีม่วงอ่อน สีม่วงเข้ม ไปจนถึงสีม่วงดำ เหง้ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสชาติขมเล็กน้อยสมุนไพรกระชายดำที่ดีนั้นจะต้องมีสีม่วงเข้มถึงสีดำ ในทางการค้าถ้าเนื้อกระชายเป็นสีม่วงอ่อนจะถูกคัดเป็นกระชายม่วง
ใบกระชายดำ เป็นใบเดี่ยว ปลายใบแหลม ขอบใบหยักตามเส้นใบ ผิวในเป็นร่องคลื่นตลอดใบตามแนวของเส้นใบ ใบกระชายดำมีสีเขียวสด ส่วนโคนก้านใบมีลักษณะเป็นกาบหุ้มลำต้นกระชายดำไว้ ขอบก้านใบมีสีแดงตลอดความยาวของก้าน
ดอกกระชายดำ ออกเป็นช่อแทรกขึ้นมาจากโคนกาบใบ ก้านช่อดอกมีความยาวประมาณ 5-6 ซม. กลีบดอกที่ส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาวประมาณ 3-3.2 ซม. ที่ปลายแยกเป็นแฉก เกสรตัวผู้เป็นหมัน มีสีขาว ลักษณะเป็นรูปขอบขนาดมีความกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 10-13 มิลลิเมตร ส่วนกลีบปลายมีสีม่วง
สรรพคุณของกระชายดำ
-จากการค้นคว้าเอกสารงานวิจัยพบว่า สมุนไพรกระชายดำนั้นมีสรรพคุณมากมาย และสามารถช่วยรักษาโรคต่างๆ ได้เกือบ 100 ชนิด
- ชะลอความแก่ เป็นยาอายุวัฒนะ โดยใช้เหง้ามาหั่นเป็นแว่น ตากแดดจนแห้ง นำมาบดเป็นผงละเอียด+น้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน ใช้กินเช้าเย็น
-เป็นยาบำรุงกำลัง โดยใช้เหง้าผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นเป็นยาดองเหล้า(เหง้า)
-ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย(เหง้า)
-บำรุงผิวพรรณของสตรีให้สวยสด ผุดผ่อง(เหง้า)
-บำรุงฮอร์โมนในเพศชาย
-หากสตรีรับประทานจะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนทางเพศ(เหง้า)
-เพิ่มสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย แก้กามตายด้าน ด้วยการใช้เหง้าสดนำมาดองกับเหล้าขาวและน้ำผึ้งแท้(กระชายดำ 1 กิโลกรัมต่อเหล้าขาว 1 ขวด และน้ำผึ้ง 1 ขวด) ดองทิ้งไว้ประมาณ 9-15 วัน แล้วนำมาดื่มวันละ 1-2 เป๊ก(เหง้า) กระชายดำไม่ได้เป็นยาปลุกอารมณ์ทางเพศ แต่ช่วยทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้ง่ายและบ่อยขึ้น มีระยะเวลาในการแข็งตัวที่นานขึ้น และสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีปัญหาดังกล่าวก็รับประทานได้เพื่อเพิ่มความแข็งแรง
-ช่วยกระตุ้นระบบประสาท บำรุงประสาท ทำให้ร่างกายกระชุ่มกระช่วย(เหง้า)
-ช่วยในการนอนหลับ แก้อาการนอนไม่ค่อยหลับในตอนกลางคืน หลับดีขึ้น(เหง้า)
-บำรุงหัวใจ ขยายหลอดเลือดหัวใจ แก้โรคหัวใจ(เหง้า)
-บำรุงโลหิตของสตรี(เหง้า)
-ช่วยระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกาย ทำให้โลหิตไหวเวียนได้ดีขึ้น(เหง้า)
-ทำให้เจริญอาหาร(เหง้า)
-รักษาโรคความดันโลหิต รักษาสมดุลของความดันเลือด(เหง้า)
-รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด(เหง้า)
-รักษาโรคภูมิแพ้(เหง้า)
-แก้หอบหืด(เหง้า)
-แก้อาการใจสั่นหวิว ลมวิงเวียน(เหง้า)
-รักษาแผลในช่องปาก ปากเป็นแผล ปากเปื่อย ปากแห้ง(เหง้า)
-แก้โรคตานซางในเด็ก แก้ซางตานขโมยในเด็ก(เหง้า)
-แก้อาการแน่นหน้าอก(เหง้า)
-รักษาโรคในช่องท้อง มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียในลำไส้(เหง้า)
-ช่วยขับลม แก้อาการจุกเสียด(เหง้า)
-แก้อาการปวดท้อง ปวดมวนในท้อง อาการท้องเดิน(เหง้า) หากว่ามีอาการท้องเดินให้ใช้เหง้ามาปิ้งไฟให้สุกแล้วนำมาตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำปูนใสแล้วคั้นเอาแต่น้ำดื่มครั้งละ 5 ช้อนแก้ง หลังจากการถ่ายเนื่องจากมีอาการท้องเดิน(เหง้า)
-รักษาท้องร่วง(เหง้า)
-ช่วยในการย่อยอาหาร รักษาระบบการย่อยอาหารให้เกิดความสมดุล(เหง้า)
-แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ(เหง้า)
-รักษาโรคบิด แก้อาการบิดเป็นมูกเลือด(เหง้า)
-รักษาโรคกระเพาะอาหารเนื่องมาจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา(เหง้า)
-ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา แก้ปัสสาวะพิการ(เหง้า)
-แก้อาการตกขาวของสตรี(เหง้า)
-ช่วยขับประจำเดือน แก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี(เหง้า)
-ใช้เหง้าโขลกกับเหล้าขาวคั้นเป็นน้ำดื่ม แก้โรคมดลูกพิการ มดลูกหย่อนได้(เหง้า)
-แก้ฝีอักเสบ(เหง้า)
-รักษากลากเกลื้อน(เหง้า)
-แก้อาการปวดหลัง ปวดเมื่อยร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อ และมีอาการเหนื่อยล้า(เหง้า)
-ช่วยรักษาโรคปวดข้อ(เหง้า)
-ช่วยรักษาโรคเก๊าต์(เหง้า)
-แก้อาการเหน็บชา(เหง้า)
-ช่วยขับพิษต่างๆ ในร่างกาย(เหง้า)
-แก้อาการเหน็บชา(เหง้า)
-ช่วยขับพิษต่างๆ ในร่างกาย(เหง้า)
-รักษาอาการมือเท้าเย็น(เหง้า)
-กระชายดำมีฤทธิ์ในการช่วยรักษาเชื้อราที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคผิวหนัง(เหง้า)
-ใช้เหง้าต้มกับน้ำให้สตรีหลังคลอดบุตรดื่ม ช่วยขับน้ำนม รักษาอาการตกเลือด และทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น(เหง้า)
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ได้ระบุว่า "กระชายดำ" มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมากๆ จำพวกแบคทีเรีย หรือแม้แต่ไวรัส ช่วยต้านทานการอักเสบ เทียบได้กับยาหลายๆ ชนิด เช่น แอสไพริน อินโดเมธาซิน และเพรดนิซิโลน
ปัจจุบัน มีการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาแปรรูปกระชายดำ เช่น ชาชง แคปซูล ยาน้ำ กาแฟกระชายดำ ไวน์กระชายดำ
แต่มีบางรายงานว่า กระชายดำอาจทำให้ตับผิดปกติถ้าใช้ปริมาณมากเกินไป หรือใช้ติดต่อเป็นเวลานาน ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับ ควรปรึกษาแพทย์