ยะลาผังเมืองสวยติดอันดับโลก
“ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามชายแดน” บ่งบอกถึงความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดยะลาได้เป็นอย่างดี
ถ้าพูดถึงจังหวัดยะลา คุณจะนึกถึงอะไร?
หลายคนคงนึกถึงสถานการณ์ความไม่สงบใช่มั้ย..
แต่รู้มั้ยว่า ยะลา ถือเป็นเมืองที่สร้างชื่อให้ประเทศไทยในเรื่อง ผังเมืองที่สวยติดอันดับโลกเลยนะครับ
จากการที่เทศบาลนครยะลาได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทย ได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการพิจารณาในส่วนของโซนเอเชียและแปซิฟิค เมื่อปี พ.ศ.2546 จนผ่านการตัดสินชนะเลิศจากกรรมการตัดสินชุดใหญ่ของ UNESCO ได้รับรางวัล UNESCO Cities และมีเว็บไซต์ชื่อดัง จัดอันดับ "ยะลา" ให้เป็นผังเมืองที่ดีที่สุด อันดับที่ 23 ของโลกในปี 2560
เมืองยะลา เป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองใหญ่ในประเทศไทยที่มีการวางผังเมืองตั้งแต่ก่อนเริ่มก่อร่างสร้างเมือง
จุดเริ่มต้นของการวางผังเมืองยะลา การวางผังเมืองยะลานั้นริเริ่มโดยพระรัฐกิจวิจารณ์ (สวาสดิ์ ณ นคร) อดีตข้าหลวงคนที่ 10 ของจังหวัดยะลา (พ.ศ.2456-2458)
ซึ่งเมื่อลาออกจากราชการแล้วได้รับสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล ได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีเมืองยะลาถึงสองสมัย (พ.ศ.2480-2488)
พระรัฐกิจวิจารณ์ได้ร่วมกับสหาย ข้าราชการ วางผังเมืองยะลาโดยได้รับการเสนอแนะจากแผนกผังเมือง กรมโยธาเทศบาล วางผังเมือง ยะลา โดยเรียกว่า ผังเค้าโครงเมืองยะลา ปี 2485 โดยพระรัฐกิจวิจารณ์ (สวาสดิ์ ณ นคร) มีการวางแผนการกำหนดพื้นที่การใช้ที่ดินในเขตเมือง และการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ภายในเมือง ในการริเริ่มดำเนินงาน พระรัฐกิจวิจารณ์และสหายข้าราชการ ได้ร่วมกันหาศูนย์กลางของเมืองแล้วจึงปักหลักก้อนใหญ่และมีก้อนหินไว้เป็นเครื่องหมาย ซึ่งภายหลังได้เป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง และได้วางแผนผังเมืองเป็น วงเวียนรอบศูนย์กลางเมือง ทั้งสิ้น 3 วง โดยเตรียมที่ดินในบริเวณนี้ไว้เป็นสถานที่ราชการ คือ บริเวณวงในสุด เป็นสถานที่ราชการต่าง ๆ เช่น ศาลากลาง จังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานที่ดิน สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วงเวียนที่สอง คือ บ้านพักข้าราชการ และวงเวียนที่สาม ซึ่งเป็นวงเวียนสุดท้ายเป็นที่ตั้งของ โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล และที่อยู่อาศัยของประชาชน