ระทึก! 1 ธันวาคมนี้ ดาวเคราะห์น้อยเฉียดโลก สุดหวิวใกล้แค่ 50,000.- กม.
ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น หรือ เจพีแอล (Jet Propulsion Laboratory, JPL) ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาจากทุนของ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือนาซา ตั้งอยู่ในเมืองลาแคนาดา ฟลินทริดจ์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รายงาน การคำนวณ กรณีวัตถุใกล้โลกที่จะเฉียดโลกเร็วๆนี้ เฉพาะดวงที่จะเฉียด 10 เท่า ของระยะโลกกับดวงจันทร์ โดยโลกกับดวงจันทร์มีระยะห่างประมาณ 3.8 แสน กิโลเมตร โดยวัตถุที่จะโคจรใกล้โลกดวงดังกล่าว ถูกเรียกว่า 2020 SO คาดว่า น่าจะมีขนาดประมาณ 6-14 มตร ซึ่ง ในวันที่ 1 ธันวาคม 2563 นั้น 2020 SO จะพุ่งเข้าเฉียดโลกในระยะ 50,260 กิโลเมตร เท่านั้น ถือว่าใกล้มากที่สุดในรอบหลายปี โดยในรอบ 60 วันที่ผ่านมา มีวัตถุที่โคจรเฉียดโลกจำนวนมาก ดวงที่โคจรที่ ถือว่าเฉียดโลกมากมีทั้งหมด 13 ดวง โดยในวันที่ 29 ตุลาคม 2563 จะมีวัตถุเฉียดโลก 2 ดวง คือ 2020OK5 เข้าใกล้โลกที่สุดในระยะ 2.4 ล้านกิโลเมตร ในเวลา 15.54 น. และ 2020UD4 เข้าใกล้โลกที่สุดในระยะ 3.64 ล้านกิโลเมตร ในเวลา 16.12 น.
นอกจากนี้ JPL ยังรายงานอีกว่า วันที่ 30 ตุลาคม เวลา 00.32 น. จะมีวัตถุ ชื่อ 2020 TR2 โคจรเข้าเฉียดโลกในระยะ 3.3 ล้านกิโลเมตร วันที่ 2 พฤศจิกายน เวลา 18.33 น. วัตถุ ชื่อ 2018 VP1 โคจรเข้าเฉียดโลกในระยะ 4.2 แสน กิโลเมตร วันที่ 3 พฤศจิกายน เวลา 07.55 น.วัตถุ ชื่อ 2020 UA3 เข้าเฉียดโลกในระยะ 2.1 ล้านกิโลเมตร วันที่ 15 พฤศจิกายน วัตถุ ชื่อ 2019 VL5 เข้าเฉียดโลกในระยะ 3.2 ล้าน กิโลเมตร ในเวลา 17.26 น. วันที่ 23 พฤศจิกายน วัตถุชื่อ 2017 WJ16 เข้าเฉียดโลกในระยะ1.9 ล้าน กิโลเมตร ในเวลา 19.53 น. วันที่ 26 พฤศจิกายน เวลา 11.41 น.วัตถุชื่อ 2018 RQ4 เข้าเฉียดโลกในระยะ 3.1 ล้าน กิโลเมตร วันที่ 28 พฤศจิกายน เวลา 11.43 น. วัตถุชื่อ 2020KZ2 เข้าเฉียดโลกในระยะ 2.18 ล้านกิโลเมตร วันที่ 1 ธันวาคม เวลา 16.31 น.วัตถุชื่อ 2020SO เข้าเฉียดโลกในระยะ 5 หมื่น กิโลเมตร วันที่ 24 ธันวาคม เวลา 19.41 น.วัตถุชื่อ 2011 CL50 เข้าเฉียดโลกในระยะ 1.1 ล้านกิโลเมตร วันที่ 26 ธันวาคม เวลา 03.20 วัตถุชื่อ 501647 เข้าเฉียดโลกในระยะ 3 ล้าน กิโลเมตร และ วันที่ 27 ธันวาคม เวลา 14.44 น.วัตถุชื่อ 2016 AF2 เข้าเฉียดโลกในระยะ 2.8 ล้าน กิโลเมตร
ฝ่ายวิชาการสมาคมดาราศาสตร์ไทย กล่าวด้วยว่า การเฉียดโลก ของ 2020SO จะเป็นโอกาสอันดีที่จะให้นักดาราศาสตร์ได้ศึกษาวัตถุดวงนี้ ได้พิสูจน์ว่าเป็นชิ้นส่วนจรวดที่ทิ้งไว้จริงหรือไม่ ระยะที่ใกล้บวกกับความเร็วต่ำ อาจทำให้นักดาราศาสตร์ได้ทราบรูปร่าง การศึกษาสเปกตรัมอาจบอกได้ว่าเป็นวัตถุที่ถูกทาสีไว้หรือไม่ และอาจทราบถึงสภาพพื้นผิวว่าขรุขระผุพังไปมากเพียงใดจากการอาบรังสีและรับจุลอุกกาบาตอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานานถึง 54 ปี ซึ่งการศึกษาเหล่านี้จะช่วยให้นักดาราศาสตร์เข้าใจถึงสภาพแวดล้อมนอกโลกได้ดียิ่งขึ้นด้วย





















