ลอยกระทงกับเศษซากที่เหลือหลังเทศกาลให้ต้องจัดการ
ถือเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงในทุกปีกับปัญหาการเก็บซากกระทงหลังเทศกาล ถึงแม้จะเป็นเทศกาลที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นประเพณีที่งดงามน่าสืบสานต่อ แต่ก็ต้องยอมรับว่ากระทงก็ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการจัดการขยะทุกปี โดยเฉพาะการลอยในพื้นที่เปิดอย่างแม่น้ำลำคลองที่แม้ว่าจะพยายามเก็บแค่ไหนก็ยังมีหลุดลอดไปสุดทะเล และชายหาดได้อยู่ดี
พิกัดภาพถ่าย : ใต้แท่นทางเดินออกกำลังกาย และหาดหินแหลมแท่น
ที่มา - ชอบจัง บางแสน
.
รวมไปถึงอันตรายแฝงที่มากับกระทงอีก อย่างพวกตะปู ลวด และเศษไม้ต่างๆ
น่ากลัวจัง ถ้าเผลอไปเก็บแบบไม่ทันระวัง อาจถูกตำได้
จากทางเชียงใหม่
ในส่วนที่ยังตามเก็บได้ และมีรายงานเฉพาะในกทม.
ลอยกระทงปี 2563 จัดในคืนวันที่ 31 ตุลาคม ตั้งแต่ช่วงค่ำคืนถึงเช้าวันที่ 1 พ.ย.เวลา 06.00 น. โดยหน่วยงานภายใต้สังกัดกทม.จัดเก็บกระทงได้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 492,537 ใบ
- กระทงทำจากวัสดุธรรมชาติและวัสดุที่ย่อยสลายง่าย จำนวน 474,806 ใบคิดเป็น 96.4%
- กระทงที่ทำจากโฟม จำนวน 17,731 ใบ คิดเป็น 3.6%
ปี 2562 จัดเก็บกระทงได้ จำนวน 502,024 ใบ
เขตลาดกระบัง มีปริมาณกระทงมากที่สุด จำนวน 29,957 ใบ และเป็นเขตที่มีกระทงโฟมมากที่สุด จำนวน 925 ใบ เขตราชเทวี เขตที่มีปริมาณกระทงน้อยที่สุดคือ จำนวน 258 ใบ
เขตลาดกระบัง มีกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติมากที่สุด จำนวน 29,032 ใบ
แม้ว่าปีนี้จำนวนกระทงในกทม.ประจำปี 2563 จะอยู่ที่ 492,537 ใบ ลดลงจากปี 2562 มากกว่า 9,400 ชิ้น คิดเป็น 1.89% แต่ประเด็นของการลอยกระทงไม่ใช่แค่ดูว่าปริมาณขยะเพิ่มหรือลดเท่านั้น เพราะสิ่งสำคัญคือขยะกระทงไปไหน
การห้ามลอยคงไม่ใช่การการปัญหา และการงด การลดขนาด การใช้กระทงเดียวกัน และการจำกัดจุดลอยเฉพาะในพื้น ไม่ให้ลอยในที่ที่เก็บและจำกัดกระทงได้ยากก็น่าจะเป็นทางออกที่พอทำได้ดีในตอนนี้