เมื่อ FAKE News กับเรื่อง IO ทางการเมือง
เมื่อสงครามข่าวสารกำลังมีบทบาทสำคัญในโลกออนไลน์ แล้วทำไม “ปฏิบัติการข่าวสาร” หรือ “ไอโอ” (IO) ที่มาจากคำว่า Information Operation ถึงถูกนำมาใช้ชิงความได้เปรียบในการทำสงครามข่าวสารในยุคปัจจุบัน
คำว่า “ไอโอ” : IO ในประเทศไทย เริ่มเป็นที่สนใจของประชาชนทั่วไป หลังจากที่เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา เมื่อทางทวิตเตอร์ (Twitter) ได้มีการเปิดเผยข้อมูลเครือข่ายของปฏิบัติการไอโอ ที่มีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐบาล ซึ่งมีทั้งหมด 5 ประเทศ คือ อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย คิวบา รัสเซีย และไทย
บัญชีทวิตเตอร์ที่ถูกตรวจพบ พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาล ทั้งข้อมูลที่อวยตัวเองและรัฐบาล และโจมตีตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม ถึง 926 บัญชี
ถึงแม้ว่าทางกองทัพบกของไทยจะรีบออกมาปฏิเสธ และยืนยันว่า "บัญชี TWITTER ใช้สำหรับประชาสัมพันธ์เท่านั้น" โดยเป็นการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการช่วยเหลือของกองทัพบกในสถานการณ์ต่างๆ เช่น การช่วยชาวบ้านจากภัยพิบัติ หรืออื่นๆ เท่านั้น
"พลโท สันติพงศ์ ธรรมปิยะ รองเสนาธิการทหารบก/โฆษก.ทบ. ยืนยันว่าใช้ทวิตเตอร์เพื่อการประชาสัมพันธ์งานของกองทัพบก โดยเฉพาะงานช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะช่วงเวลาวิกฤติ เช่นภัยพิบัติทีเกิดขึ้นจากพายุ และมีการใช้งานแบบเปิดเผยชัดเจน"
ส่วนการทำ ปฏิบัติการข่าวสาร / IO ในโลกออนไลน์ของประเทศไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากน่าจะประมาณ 5-6 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น เนื่องจากกระแสการใช้งานสมาร์ทโฟน และการเข้าถึงข้อมูลผ่านสื่อโซเชียลต่างๆ ของคนไทยพึ่งเฟื่องฟูขึ้นมา จนทำให้การไหลของข้อมูลข่าวสารจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปล่อยข้อมูลเท็จ หรือ fake news หรือ ข้อมูลที่มีความจริงเพียงบางส่วนเพียงครั้งเดียว ก็จะมีคนหยิบไปแชร์ต่อๆ กัน โดยไม่คิดว่า เรื่องดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องที่สมควรทำและเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายหรือไม่
ม็อบคนดี ทำร้ายผู้หญิง
เค้าเรียกว่าอะไรนะ ...
เราเป็นม็อบที่มีอารยะ
ไม่ใช่ม็อบที่ทำร้ายคน
หรือทำลายสถานที่
เหมือนม็อบกลุ่มอื่น













