หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

นิทานราชาศัพท์

โพสท์โดย royaldictionary

วันนี้ผมมีนิทานเกี่ยวกับการใช้ราชาศัพท์เรื่องหนึ่ง ซึ่งอยากจะเล่าสู่กันฟัง ดังต่อไปนี้


ครั้งหนึ่งยังมีพระราชาพระองค์หนึ่ง ซึ่งโปรดการเสด็จเยี่ยมชาวเมืองที่อยู่ห่างไกลในชนบท เพื่อตรัสถามถึงทุกข์สุข เมื่อตรัสถามทุกข์สุขเขาเหล่านั้น ก็ทรงพบว่าชาวชนบทมักใช้ราชาศัพท์ผิด ๆ พลาด ๆ อยู่เสมอ ซึ่งพระองค์ ก็มิได้ถือสาหาความ เพราะทรงตระหนักดีว่าเขาเหล่านั้นเป็นคนบ้านนอก

แต่ครั้นแล้ววันหนึ่งพระราชาเสด็จเยี่ยมอาณาประชาราษฎรที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารตามเคย เมื่อตรัสถามทุกข์สุข ชายผู้หนึ่งกลับปรากฏว่าเขาผู้นั้น ทูลตอบใช้ราชาศัพท์ได้อย่างคล่องแคล่วและถูกต้อง เป็นเหตุให้พระราชาทรงรู้สึกแปลกพระทัย เลยตรัสถามออกไปว่า

“เป็นยังไงจึงพูดจาใช้ราชาศัพท์ได้ถูกต้องดี ผิดกับคนอื่น ๆ ?”

ชายผู้นั้นยกมือขึ้นถวายบังคมพร้อมกับทูลตอบอย่างคล่องแคล่วทันทีว่า

“ข้าพระองค์เล่นลิเกเป็นอาชีพ พระเจ้าข้า”

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การแสดงลิเก ซึ่งสมัยหนึ่ง เรียกว่านาฏดนตรีก็นับว่ามีประโยชน์ไม่น้อย

ยังมีนิทานอีกเรื่อง ซึ่งอยากจะเล่าสู่กันฟังต่อไป

พระราชาพระองค์หนึ่งโปรดเสด็จประพาสป่าเป็นส่วนพระองค์ เพื่อทอดพระเนตรนกและสิงห์สาราสัตว์ เวลาเสด็จประพาสก็มีข้าราชบริพารโดยเสด็จตามสมควร

วันหนึ่งขณะเสด็จประพาสชมนกอยู่ในป่า โดยมีขุนนางผู้หนึ่งซึ่งมีความรู้ความชำนาญในเรื่องนกตามเสด็จไป อย่างใกล้ชิดเพื่อกราบทูลชี้แจงเมื่อตรัสถาม ขณะที่เสด็จ พระราชดำเนินห่างไกลจากคนอื่น ๆ ออกไปทุกที่ พระราชาเผอิญเหลียวไปทอดพระเนตรเห็นเด็กผู้หนึ่งเดินตามเสด็จมา ห่าง ๆ จึงตรัสถามขุนนางผู้นั้นขึ้นว่า

“เอ๊ะ นั่นใครมาด้วยล่ะ ?”

ด้วยความรู้สึกที่ยึดมั่นอยู่ตลอดเวลาว่า ขณะโดย เสด็จเช่นนี้จะต้องพูดจาใช้ราชาศัพท์ ขุนนางผู้นั้นเมื่อถูกถาม จึงทูลตอบโพล่งออกไปทันที่ว่า

“โอรสของข้าพระองค์เอง พระเจ้าข้า”

คำตอบของขุนนางผู้นั้นยังความขบขันได้บังเกิดแก่ พระราชาไม่น้อย และพระองค์ใคร่ที่จะสัพยอกให้ขบขันยิ่ง ขึ้น จึงรับสั่งพร้อมกับทรงพระสรวลน้อย ๆ ว่า

“ขอบพระทัย ที่ตรัสบอกให้ทราบ”

กลับมาพูดถึงการบรรยายเหตุการณ์ในเวลาถ่ายทอด ทางโทรทัศน์ต่อไปเป็นการปิดท้ายบทความตอนนี้

เท่าที่ผมเคยได้ยินได้ฟังและจดบันทึกไว้ในการเสด็จ พระราชดำเนินไปยังมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ขณะเสด็จพระราชดำเนินผ่านแถวนิสิตนักศึกษาทางมหาวิทยาลัยซึ่งตั้งแถว เรียงรายรับเสด็จอยู่ได้ยินโฆษกบรรยายว่า

“นิสิตนักศึกษาต่างก็ถวายคำนับขณะที่เสด็จพระราชดำเนินผ่าน”

ในกรณีเช่นนั้นน่าจะใช้ถวายบังคม เพราะนิสิตนักศึกษาเหล่านั้น ทั้งชายและหญิงล้วนแต่งกายแบบพลเรือน อันเป็นเครื่องแบบของมหาวิทยาลัยแห่งนั้นกันอยู่ทั้งสิ้น ไม่มีใครแต่งกายแบบทหารเลยสักคนเดียว

ก่อนจบ ต้องขอแถมท้ายด้วยเรื่อง “อย่า” ซึ่งมี คลาดเคลื่อนด้วยเข้าใจผิดคือที่ผมเขียนไว้ว่าหาคำว่า “หย่า” ในพจนานุกรมไม่พบนั้น ความจริงในพจนานุกรมมีคำนี้ หย่า หมายถึง ร้าง, เลิกเป็นผัวเมียกัน หย่ากัน หมายถึง คู่ขาการพนันซึ่งไม่กินกัน ฉะนั้นผู้ที่ใช้ผัวเมียอย่ากัน นั้นผิดแน่ครับ

ที่มา: www.tewfree.com

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://sites.google.com/site/kanthima241258/
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
royaldictionary's profile


โพสท์โดย: royaldictionary
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
"ไข่ผำ" พืชจิ๋ว ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก"กองปริศนา" ปริศนาของเวทมนตร์ที่อาจอยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"ไข่ผำ" พืชจิ๋ว ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมากคลังฟันธง! "ดิไอคอน" เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชน ต้องครบ 3 เงื่อนไข ร่วมวง DSI สรุปสำนวนคดี"กองปริศนา" ปริศนาของเวทมนตร์ที่อาจอยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิดใครบอกว่า สัตว์น้ำไม่นอน วาฬนอน พิสูจน์ว่าปลาก็นอนเหมือนเรา
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
เลือกรสชาติไอศครีม บอกนิสัย"สยามเมืองยิ้ม" ไม่แพ้ชาติใดในโลก! ไทยติดอันดับ 8 ประเทศที่ร่ำรวยมรดกทางวัฒนธรรมมากที่สุด7 เคล็ดลับซักผ้าขาวให้ขาวเหมือนใหม่ ง่าย ๆบุหรี่ VS บุหรี่ไฟฟ้า ศึกแห่งควัน ใครอันตรายกว่ากันแน่?
ตั้งกระทู้ใหม่