เจ้าของร้านกาแฟใช้เวลาว่างปลูก ‘เมล่อน’ สายพันธุ์ญี่ปุ่น ออร์เดอร์สั่งจองทางโซเซียลเพียบ ส่งขายทั่วประเทศ
เจ้าของร้านกาแฟใช้เวลาว่างปลูก ‘เมล่อน’ สายพันธุ์ญี่ปุ่น ออร์เดอร์สั่งจองทางโซเซียลเพียบ ส่งขายทั่วประเทศ
วันที่ 26 ก.ย. 63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีเจ้าของร้านกาแฟ Golden Bowl Coffee ตั้งอยู่เลขที่ 102 หมู่ 12 ตำบลสบบง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ใช้พื้นที่ว่างหลังร้านทำฟาร์มปลูกเมล่อนสายพันธ์ุ จากประเทศญี่ปุ่น มีพันธุ์ อิซิบะโคจิ และ นิฮาโรกิ ซึ่งนำเข้าเมล็ดจากฮ็อกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ขายเป็นลูกเป็นกิโลและทำเมนูต่างๆให้กับลูกค้าในร้าน ยอดสั่งจองออนไลน์มีออร์เดอร์สั่งเพียบ
เจ้าของร้านกาแฟ Golden Bowl Coffee ในพื้นที่ ต.สบบง อ.ภูซาง จ.พะเยา นำผู้สื่อข่าวเข้าชมแปลงปลูกเมล่อนในโรงเรือนที่ทำไว้หลังร้านกาแฟของตนเองโดยเป็นโรงเรือนปิดเพื่อป้องกันแมลงและปลูกแบบไฮโดรโปรนิคส์ที่ไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ และให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ สำหรับการปลูกเมล่อนใช้พื้นที่ 1 งานในการทำโรงเรือน 2 โรงเรือนและปลูกต้นเมล่อนประมาณ 100 ต้น
นางขันทอง สบบง อายุ 55 ปี บ้านเลขที่ 102 หมู่ 12 ตำบลสบบงอำเภอภูซางจังหวัดพะเยา เจ้าของร้านกาแฟ Golden Bowl Coffee ใช้ชีวิตที่เรียบง่าย เดินตามรอยวิถีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ใช้พื้นที่หลังร้านลงทุนสร้างโรงเรือนปลูกเมล่อนญี่ปุ่นสายพันธ์ มีอิซิบะโคจิ และ นิฮาโรกิ ซึ่งนำเข้าเมล็ดจากฮ็อกไกโด ประเทศญี่ปุ่นมาทำการปลูกและเรียนรู้เอง จาก Google ในการศึกษาลองผิดลองถูก จนประสบความสำเร็จ และสามารถได้ผลผลิตเมล่อน ออกสู่ท้องตลาด สำหรับพื้นที่ปลูกเมล่อน แบบไร้ดิน หรือไฮโดรโปรนิคส์ และปลูกในโรงเรือนที่มิดชิด ปราศจากแมลงรบกวนทำให้เมล่อนที่ปลูกมีรสชาดหวานหอมกรอบอร่อย ลูกค้าส่วนใหญ่ จึงไว้วางใจ ว่าปราศจากสารเคมี 100 % ส่วนราคาขายจากปกติราคา 150 บาท ช่วงนี้ก็ตกอยู่ กิโลกรัมละ 120 บาท เนื่องจากสถานการโควิด 19 สำหรับการปลูกเมล่อนใช้เวลาในการเจริญเติบโตประมาณสองเดือนครึ่งและทำการผสมเกสรและนับไปอีก 45 วันลูกเมล่อนจะโตเต็มที่และเก็บลูกเลม่อนได้ สำหรับเมล่อนที่ลายไม่สมบูรณ์ ปริมาณความหวานจะน้อย รสชาติไม่อร่อย และ เลมอนญี่ปุ่นที่ตัดมาใหม่ๆขอแนะนำว่าอย่าผ่ากินทันที ต้องปล่อยให้ขั้วสีเขียวเหี่ยวแห้งลงสักเล็กน้อย จึงค่อยนำไปผ่ารับประทาน เนื้อเมล่อนจะมีเนื้อนุ่ม รสชาติหวานฉ่ำตามต้องการ