7 ปีที่โดนแบน ราชิดา - ปิตุภูมิพรมแดนแห่งรัก เครื่องมือประกาศตัวตนประชาธิปไตยแบบ “ยุทธเลิศ” ?
#ราชิดา (#ปิตุภูมิ) หนังโรแมนติก-ดราม่าสะท้อนปัญหาชายแดนใต้ ถ้าได้ฉาย;จะเป็นหนังที่เราชอบและคิดว่าดีที่สุดของผกก.ต้อม! มีความเป็นหนังรางวัล บท-เรื่อง-งานสร้าง-การแสดงมาดีมาก พี่เวียร์ชนะนำชายได้สบาย! ฉากClimaxบู๊สะใจ (แต่รอบที่เราดูเหมือนCGยังไม่เสร็จดี) ถ่ายภาพโคตรสวย #movietwit pic.twitter.com/z8gCgpPbz6
— FilmClubRepublic (@FCRepublic) September 21, 2020
“ราชิดา” หนังปัญหาชายแดนใต้ที่ถูกแบน 7 ปี #ราชิดา (2563) #ปิตุภูมิพรมแดนแห่งรัก (2555) - เครื่องมือประกาศตัวตนประชา
รีวิวโดย Ob11Tu
หนังเก่าเก็บกระแสว่าโดนแบนของผู้กำกับ “ยุทธเลิศ สิปประภาส” นั่นก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เราแบกร่างเดินจากสนามหลวง ไปอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา (เมื่อ 19 กันยา) เพื่อไปดูหนังเรื่องนี้ในยามเที่ยงคืนเข้าสู่วันปักหมุดหมายใหม่ โดยทิ้งสนามหลวงที่กำลังคุกรุ่นไปด้วยไฟฝันของผู้คน
ความเข้มข้นแห่งความหวัง ความหนาแน่นของความฝัน การรวมคนหมู่มากที่มีความฝันความหวังเดียวกันที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงสิ่งเดียวกันในประเทศนี้ ห้องฉายหนังที่จุคนดูหลายสิบคน ไม่มีแอร์ อาศัยเพียงพัดลมไม่กี่ตัวหมุนไปมา ไม่ได้ทำให้ความอยากดูหนังเรื่องนี้ลดน้อยลง
เราแบกความหวังไปดูด้วยความคาดหวังว่าหนังจะมีอะไรที่สนองตอบความฝันในทิศทางเดียวกันของคนที่อยู่สนามหลวง ณ วันนั้น
และเราก็รอดูทุกฉากด้วยใจหวังว่ามันจะสะเทือนวงการสะท้านรัฐบาล
แต่สิ่งที่หนังทำให้เราได้เรียนรู้ก็คือ ความรู้สึกสงสารตัวเองมากมายที่ต้องมานั่งจ้องจอ (กำแพงขาวหม่น) อยู่อย่างเงียบเชียบและว่างเปล่า
พระเอกของเรื่องนายตำรวจหนุ่มไฟแรง (เวียร์ ศุกลวัฒน์) ที่ขอใช้อำนาจของนายทหารใหญ่ผู้เป็นพ่อเพื่อส่งตัวเองไปอยู่ใต้ เพื่อหลบหนีความเจ็บปวดบางอย่าง โดยมีพระพี่เลี้ยงคือนายตำรวจเก๋าเกม (อนันดา) ที่เล่นในบทบาทของเจ้าหน้าที่รัฐผู้อยู่นอกระบบ ทั้งการแต่งตัว-พูดจาเดินไปเดินมาสูบบุหรี่แสดงความเถื่อนถ่อยอย่างเต็มที่ นัยว่าเพื่อแสดงความจริงใจของตัวละครอินดี้นอกคอก...ว่างั้น
แต่แล้วจู่ๆ พระเอกก็เกิดมีอุดมการณ์ขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุผล ต้องการจะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ให้ดีขึ้น
ด็อกเตอร์สาวสวย (ใหม่ ดาวิกา-ในบทที่เป็นชื่อหนังชื่อใหม่) เลยโดนไหว้วานมาให้ความรู้เกี่ยวกับศาสนาอิสลามกับเหล่าตำรวจที่มาปฏิบัติงานในพื้นที่
ใช่ ต่อจากนั้น พระเอกพุทธกับนางเอกมุสลิมก็ตกหลุมรักกัน
แล้วภาษาพูดของพระเอกนางเอกในหนังนี่ก็หลุดจากความเป็นมนุษย์ ไปอยู่อีกโลก มีแต่อนันดาที่แม่งก็พูดเห้ย-ห่าอยู่คนเดียว
ใบหน้าของเด็กหญิงที่คลุมฮิญาบ ฉากการตายซ้ำแบบ ฉากการตายของอีกตัวละครที่พยายามเร้าอารมณ์ดราม่า
หนังไม่ได้มีประเด็นอะไรใหม่ ไม่ได้มีภาพที่ล่อแหลม หรือแสดงให้เห็นภาพความล้มเหลวของระบบ ตรงกันข้าม นี่น่าจะเป็นหนังที่เชิดชูระบบเจ้าหน้าที่รัฐไทย (ทหาร-ตำรวจ) ด้วยซ้ำไป
ทั้งหมดนี้จากหนังทำให้เราเรียนรู้ว่า หนังเรื่องนี้ของ “ยุทธเลิศ” ไม่ได้ไปไหนไกลเลย และไม่ได้นำพาเราไปสู่อะไรเลย
ขอแสดงความเสียใจกับตัวเองที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ในขณะที่เสียงของคนธรรมดานอกโลกสมมติแห่งศาสตร์ภาพยนตร์ และเสียงของ “ประชาธิปไตย” ในประเทศนี้กำลังเรียกร้องหาผู้คนที่มีแนวคิดเดียวกันดังกึกก้อง
ซึ่งแน่นอนว่า เราไม่ได้ค้นพบมันจากหนังเรื่องนี้เลย...
#Stopยุทธเลิศ ในขณะที่ยุทธเลิศมีการขอระดมทุนจากประชาชนฝั่งประชาธิปไตย (ที่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ดู “ปิตุภูมิ”) เพื่ออ้างความชอบธรรมในการสร้าง “หนังประชาธิปไตย” เราจึงขอแสดงความเห็นที่ “ไม่เห็นด้วย” กับการกระทำแบบนี้ เพราะหนัง “ปิตุภูมิ” ไม่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงตัวตนทางประชาธิปไตยได้เลยแม้กระผีกเดียว อีกทั้งยุทธเลิศก็ไม่ควรนำพาประชาชนมาเป็นตัวประกันไปสู่คำว่า “ประชาธิปไตย” (ในแบบยุทธเลิศ)
ราชิดา - ปิตุภูมิพรมแดนแห่งรัก