ด่าด้วยคำหยาบ ไม่เจ็บปวดอีกต่อไป
ด่าด้วยคำหยาบ ไม่เจ็บปวดอีกต่อไป
ด่าด้วยคำหยาบ ไม่เจ็บปวดอีกต่อไป สมัยก่อนเราอาจจะรู้สึกหน้าชา ไปกับคำด่า หรือคำหยาบคายที่รุนแรง คำสาปแช่งที่ไล่ให้ไปตาย หรือกลายเป็นสัตว์ตัวนั้นตัวนี้ แต่สมัยนี้การด่าได้ บียอนด์ไปมากกว่านั้น เพราะแม้ในรูปประโยค จะไม่มีคำหยาบใดๆ
แต่ก็ทำเอาเราจุก จนพูดไม่ออกไปทั้งวัน ทำไมเราเคยเจ็บปวดกับคำคำหนึ่ง แต่วันนี้ถึงไม่รู้สึกอะไร? แล้วสมัยนี้ต้องด่ากันแบบไหน ถึงจะเรียกว่าด่าแรง? จริงๆ คำด่าก็มีวิวัฒนาการ ตามยุคสมัยเหมือนกัน
คำด่าในฐานะเครื่องเยียวยาจิตใจ
แม้จะรู้ดีว่าคำด่าหรือคำหยาบคาย เป็นคำที่ไม่น่ารื่นหูเท่าไหร่ และคนโดนพูดใส่ ก็คงอดเสียสุขภาพจิตไม่ได้ แต่เวลาเดินเตะขอบโต๊ะ เราเลือกที่จะพูดคำไหนมากกว่ากัน ระหว่าง “เชี่ย” กับ “คุณพระช่วย” แน่นอนว่าส่วนใหญ่ ก็คงอุทานว่า เชี่ย กัน เพราะนอกจากจะสั้น และได้ใจความ ยังจะสามารถสื่อแทน ความเจ็บปวดขณะนั้นได้ดีที่สุด
หรือเวลาหงุดหงิด โกรธ โมโห แม้จะพยายามใจเย็นมากแค่ไหน แต่ก็ต้องมีบ้างแหละที่คำว่า “แม่งเอ๊ย” ผุดขึ้นมาในหัว หรือเผลอหลุดออกมาจากปาก นั่นก็เพราะคำหยาบคาย ช่วยระบายความเครียด ออกจากร่างกายได้พอๆ กับการร้องไห้ ซึ่งผลการวิจัยกล่าวว่า มนุษย์จะรับมือ กับสถานการณ์ตึงเครียดได้ดี เมื่อพวกเขาได้สบถออกมา
ในขณะเดียวกัน ถ้าบอกพวกเขาว่า อย่าพูดคำหยาบสิ นั่นจะทำให้พวกเขา เผชิญหน้ากับปัญหาได้ยากยิ่งขึ้น แต่นอกจากจะใช้ เพื่อระบายอารมณ์หรือเพื่อความสะใจ คำหยาบคายยังช่วยลด ความเจ็บปวดในทางกายภาพ ด้วยเช่นกัน โดยผลการวิจัยจาก ริชาร์ด สตีเฟ่น (Richard Stephen) ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา เผยว่า
การสบถหรือพูดคำหยาบ ช่วยต้านทานความเจ็บปวดได้ถึง 1 ใน 3 โดยสตีเฟ่นได้ทดลอง ให้นักศึกษาจุ่มมือลงไปในน้ำเย็น แล้วแช่ไว้ให้นานที่สุด ซึ่งจะทดลองทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งแรกให้สบถ คำหยาบออกมาได้ ส่วนครั้งที่สอง ไม่อนุญาตให้สบถคำหยาบ แล้วก็พบว่า นักศึกษาจะจุ่มมือ ในน้ำเย็นได้นานขึ้นถึง 50% เมื่อพวกเขาได้สบถ
ยิ่งไปกว่านั้น ตอนที่สบถคำหยาบออกมา อัตราการเต้นของหัวใจ ของพวกเขาได้เพิ่มสูงขึ้น และการรับรู้ความเจ็บได้ลดลง (หรือลองออกกำลังกาย ด้วยท่าแพลงกิ้งซัก 1 นาทีดู แล้วจะรู้เองว่าตอนที่หน้าท้อง กำลังเกร็งแบบสุดขีด สมองเราผลิตคำหยาบ ออกมาได้เยอะแค่ไหน) แม้จะยังไม่ได้ข้อสรุป ที่แน่ชัดว่าคำสบถ ได้สร้างสภาวะทางอารมณ์บางอย่าง ให้มนุษย์หายเจ็บจริงๆ หรือไม่
แต่ที่แน่ๆ มันได้ส่งผลกระทบต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย อย่างการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งทำให้มนุษย์เราเกิด ‘ปฏิกิริยาตอบสนอง เมื่อตกอยู่ในอันตราย’ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้บางครั้งมนุษย์ ใช้ความก้าวร้าวเพื่อปกป้องจิตใจ และร่างกายของตัวเอง
จากสภาวะความเจ็บปวด หรือพูดได้ว่า ยิ่งเราด่าหรือสบถ ออกมาแรงเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เราเอาชนะ ความโกรธและความเจ็บปวด ที่โลดแล่นอยู่ในตัว ได้มากเท่านั้น และนั่นก็ทำให้คำหยาบ ไม่ได้ถูกมองในแง่ร้ายเสมอไป
คำด่าที่ถูกลดทอนให้เป็นคำทั่วไป
ทุกวันนี้ เราจะเห็นได้ว่าคำหยาบ ที่เคยสร้างความเจ็บแสบ ได้กลายเป็นคำทั่วไปในชีวิตประจำวัน อาจจะด้วยการที่เรา อยู่กับมันมานานจนแทบ ไม่รู้สึกอะไร แถมยังลดทอนพลัง ของคำเหล่านั้นด้วยการนำไปใช้ ในบริบทอื่นๆ นอกจากการด่า หรือทำร้ายจิตใจกัน “... ... อีเ...้ย” ถ้าคุณเคยโดนเรียกด้วยคำเหล่านี้ เราคือเพื่อนกัน
ใช่ ‘เพื่อน’ กัน เพราะบางครั้งเรา ก็ใช้คำหยาบเพื่อเข้าสังคม ทำลายกำแพงความสัมพันธ์ และลดความอึดอัดกับคนรอบตัว เพราะคงจะมีแต่คนที่สนิทใจด้วยจริงๆ ที่เรากล้าพูดแบบนั้น (นอกซะจากจะเป็นคนประเภท ที่ชอบหยาบคายไปทั่ว) ทำให้สมัยนี้ คำหยาบที่เคยใช้ด่ากัน กลายเป็นแค่สรรพนาม เรียกแทนคนคนหนึ่ง ที่แสดงถึงความสนิทสนม และไว้เนื้อเชื่อใจ
ไม่ได้หมายถึงพฤติกรรม ก้าวร้าวเพียงอย่างเดียว ซึ่ง เอมม่า เบิร์น (Emma Byrne) ผู้แต่งหนังสือชื่อ Swearing Is Good For You ได้กล่าวว่า “น่าเสียดายที่สังคมเรา มองคำหยาบหรือคำสบถ เป็นเรื่องไม่ดี แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า คนพูดจะเป็นคนก้าวร้าวซะทั้งหมด” นอกจากจะกลายเป็นคำสรรพนามแล้ว
บางครั้งเรายังใช้เป็น คำสร้อย คำอุทาน หรือคำขยายความ เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น เช่นเวลาเจออะไรน่ารักๆ การพูดว่า “น่ารักสัสๆ” อาจจะทำให้สิ่งนั้นดูน่ารักกว่า “น่ารักมากๆ” หรือเวลาเจออะไรตลกๆ การพูดว่า “...กกก ตลก” ก็อาจจะแสดงให้เห็นว่า เรารู้สึกตลกกับสิ่งนั้น มากกว่าการพูดว่า “ตลกจัง ตลกมากๆ”
อ้างอิงจาก: https://payoncebiz.com