หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เมื่อเกิดช่องว่างในครอบครัว บ้านไม่ใช่เซฟโซนเสมอไป

โพสท์โดย Ploy Kaawiin

เมื่อเกิดช่องว่างในครอบครัว บ้านไม่ใช่เซฟโซนเสมอไป

เมื่อเกิดช่องว่างในครอบครัว บ้านไม่ใช่เซฟโซนเสมอไป คุณสามารถเลิกราหย่าร้างกับคู่รักได้ คุณสามารถเลิกคบเพื่อน ที่สร้างความไม่สบายใจให้ชีวิตได้ แต่คุณจะทำอย่างไรต่อไป ถ้าความทุกข์ที่เกิดขึ้นมาจากพ่อแม่ หรือคนในครอบครัว… แน่นอนว่าประเด็นครอบครัว เป็นประเด็นที่บอบบาง และละเอียดอ่อนพอสมควร เราเติบโตมากับครอบครัว ใช้ชีวิตกับครอบครัว

ครอบครัวในอุดมคติ คือบ้านที่พร้อมโอบรับและเยียวยา เป็นบ้านที่มีแต่ความอบอุ่น แต่บางครั้งพื้นที่ภายในบ้าน ที่ควรจะเป็นพื้นที่ปลอดภัยของเด็กๆ มากที่สุด กลับกลายเป็นสถานที่ ที่สร้างบาดแผลทางจิตใจ ได้บาดลึกที่สุดเช่นเดียวกัน และหากเด็กๆ เติบโตมาพร้อมกับ ครอบครัวที่ไม่ได้เปิดโอกาสให้ลูกๆ แสดงความคิดเห็น กับพ่อแม่ได้อย่างตรงไปตรงมา

ด้วยขนบหรือวัฒนธรรมบางอย่าง ที่ทำให้กำแพงระหว่างวัย สูงขึ้นเรื่อยๆ ก็ยิ่งส่งผลให้บ้าน ไม่ใช่ที่ที่สบายใจ สำหรับทุกคนอีกต่อไป

ว่าด้วยสาเหตุของช่องว่างระหว่าง ‘พ่อแม่-ลูก’

พ่อแม่ คือบุคคลทรงอิทธิพลกับลูกๆ มากที่สุด และพ่อแม่ ก็มักจะถูกแปะป้ายมาพร้อมกับ การมอบความรักแบบ ไม่มีเงื่อนไขต่อลูกๆ ด้วย ซึ่งบางครั้งความรักแบบไม่มีเงื่อนไข และลำดับชั้นระหว่างพ่อแม่และลูก ก็กลายเป็นสาเหตุสำคัญ ที่เข้าไปลดทอน ความพยายามในการทำความเข้าใจกัน

จนส่งผลถึงพฤติกรรม การเลี้ยงดูที่บังคับให้ลูกๆ ต้องเคารพคำสั่ง และการตัดสินใจของพ่อแม่ โดยที่พวกเขา ไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วม ได้อย่างที่ควรจะเป็น บทความจาก life labs ชวนเราไปทำความเข้าใจ ถึงลักษณะของพ่อแม่ที่พวกเขาเรียกว่า ‘parent toxic’ ว่า จริงๆ แล้วสาเหตุ ที่ทำให้พ่อแม่เหล่านี้ ส่งต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูก ที่ขาดความเข้าอกเข้าใจ

มีสาเหตุมาจากวัยเด็กของพวกเขาที่ถูกทำร้าย ทอดทิ้ง หรือเกิดจากบาดแผลทางจิตใจ จากความเครียดในภายหลัง บางคนเกิดจากพฤติกรรม การใช้แอลกอฮอล์ หรือสารเสพติด และบางครั้งพวกเขา ก็หยิบเอาประสบการณ์ การเลี้ยงดูที่ได้รับในวัยเด็กมาใช้กับลูกๆ ของตัวเอง โดยที่ไม่ได้ชั่งน้ำหนัก ถึงบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

ความน่าสนใจอยู่ที่พ่อแม่หลายๆ บ้านเลือกหยิบรูปแบบ การอบรมที่เคยได้รับมาใช้ กับบุตรหลานของตัวเอง ซึ่งในบทความระบุว่า สิ่งนี้เป็นปัจจัยหลัก ที่ส่งผลกระทบ กับพฤติกรรมของเด็กๆ โดยตรง การที่พวกเขา เลือกใช้วิธีการเดิม ที่อาจจะไม่ได้ดีมากนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะขาดทักษะ ในการตัดสินที่จะเปลี่ยนแปลง แพทเทิร์นการเลี้ยงลูก

เพราะไม่กล้าฉีกกรอบรูปแบบเดิมที่เคยได้รับมา สิ่งที่น่าเป็นกังวลมากไปกว่านั้นก็คือ พ่อแม่ที่เคยผ่านช่วงวัยเด็ก และเคยสัมผัส ช่วงเวลาอ่อนแอเปราะบางในวัยนั้นมาก่อน เมื่อวันหนึ่งพวกเขา ต้องมารับบทบาทพ่อแม่ จึงไม่อยากให้ลูกๆ อ่อนแอ และต้องการให้เด็กๆ มีความแข็งแกร่ง และผิดพลาดให้น้อยที่สุด

ความกดดันและความคาดหวัง จึงตกไปอยู่กับลูกๆ หากลูกประสบความสำเร็จ ก็จะเป็นเหมือนเงาสะท้อน มาถึงพ่อแม่อีกทีหนึ่งด้วย นอกจากนี้ เรื่องของการทำข้อตกลง ภายในบ้านที่มองเผินๆ แล้วก็ดูจะเป็นการสร้างระเบียบ ให้กับพื้นที่ภายในบ้านดี แต่บางครั้งการที่เด็กๆ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ข้อตกลงตลอดเวลา ก็อาจทำให้พวกเขารู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว

ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ‘บ้าน’ ควรจะเป็นพื้นที่ที่เด็กๆ แสดงออกได้อย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น การเสนอเงื่อนไขว่า พ่อแม่จะให้สิ่งนี้กับลูกก็ต่อเมื่อลูกๆ ทำสิ่งที่พ่อแม่ขอให้ได้ก่อน ตรงนี้เอง ที่ทำให้พ่อแม่อยู่ในสถานะของผู้มีอำนาจ และสามารถควบคุมเด็กๆ ได้เบ็ดเสร็จทั้งความคิด ความรู้สึก อารมณ์ ภาษา และพฤติกรรม

วิธีการนี้ทำให้เด็กๆ อยู่ในกรอบอย่างที่พ่อแม่ต้องการก็จริง แต่อีกนัยหนึ่งการเข้าไปควบคุมชีวิต แทบทุกมิติก็ทำให้เด็กๆ ไม่กล้าคิด หรือแสดงความรู้สึกนอกเหนือ ไปจากที่พ่อแม่ขีดเส้นไว้ ผลกระทบถัดจากนี้คือ ทำให้พวกเขา ขาดวิจารณญาณในการกลั่นกรอง เรื่องถูกผิดด้วยตัวเอง เด็กๆ จะขาดความมั่นใจ หรือกล้าแสดงออกไปโดยปริยาย

ผลกระทบจากกรอบและเส้นแบ่งที่พ่อแม่วางไว้

เด็กๆ ที่เติบโตมาด้วยการเลี้ยงดูแบบนี้ มักจะเกิดความรู้สึก เหมือนตัวเองติดอยู่ในกับดัก และมีความกังวล ที่จะทำผิดพลาด ทำให้สิ่งที่พวกเขา คาดหวังจะได้รับ เมื่อตัดสินใจลงมือทำอะไรบางอย่าง กลับกลายเป็นการลงโทษ และการตัดสินแทนคำชื่นชม ซึ่งเด็กๆ จะให้ความหมาย สองสิ่งนี้เท่ากับความรัก และความสนใจที่พ่อแม่มีต่อตัวเขา

บทความจาก New Straits Times วิเคราะห์ไว้ว่า พฤติกรรมของพ่อแม่ ที่ส่งผลกับความมั่นใจ ในการตัดสินใจของลูกๆ มากที่สุดคือ เด็กๆ ต้องเคารพการตัดสินใจของพ่อแม่ ไม่ว่าพวกเขาจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม แม้พวกเขาโตขึ้นมากแล้ว แต่ความรู้สึกแบบนี้ จะยังไม่หายไปไหน ความทะเยอทะยาน ที่เป็นลักษณะอันโดดเด่นของวัยรุ่น ก็อาจจะถูกเบียดขับออกไป กับเด็กที่โตมาด้วยวิธีการเลี้ยงดูแบบนี้ด้วย

ส่วนผลกระทบในเชิงกายภาพ การเลี้ยงดูที่สร้างความทุกข์เรื้อรัง ให้กับเด็กจะส่งผลไปถึงการเปลี่ยนแปลง ของระดับฮอร์โมนอะดรีนาลีน (adrenalin) และคอร์ติซอล (cortisol) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล ที่มีผลกับความจำ ระบบกระตุ้นอารมณ์ และความสามารถ ในการรับมือกับเหตุการณ์ ที่ตึงเครียดหรือเจ็บปวด

หากเด็กมีความเครียดมากๆ ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล ก็จะหลั่งเพิ่มขึ้นผิดปกติทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง และอาจเกิดการอักเสบได้ อาการเจ็บปวดจากคำพูด หรือการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ที่มีผลกระทบกับจิตใจอย่างรุนแรงได้ส่งต่อมาจนถึงวัยผู้ใหญ่จนถึงวัยชราเลยก็มีเหมือนกัน

โพสท์โดย: Ploy Kaawiin
อ้างอิงจาก: https://payoncebiz.com/
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Ploy Kaawiin's profile


โพสท์โดย: Ploy Kaawiin
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
พลังมหัศจรรย์ของ "เกลือ" เปลี่ยนการซักผ้าให้สะอาดง่ายเขมรมาเหนือเมฆ เรียกประชาชนที่อยู่รอบนครวัดมาให้ทำการปรับปรุงบ้านใหม่ ให้เน้นรูปทรงบ้านให้เป็นทรงโบราณ นักท่องเที่ยวมาเที่ยวจะได้ฟินๆ
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ถามตอบ พูดคุย
ไม่มีเวลาว่างสำหรับคุณนำร่องสิทธิเสมอภาค!ห้องน้ำครูนักเรียนใช้ร่วมกันไม่แบ่งแยกเมื่อให้ชาวเน็ตตั้งชื่อลูกให้ลูกเป็นลูกครึ่งอยากได้ชื่อที่อังกฤษผสมอีสานแล้วชื่อที่ได้คือ??Best Samui Tattoo
ตั้งกระทู้ใหม่