ไฟฟ้าแรงสูง อันตราย อย่างไร และ ระยะห่างแค่ไหนถึงปลอดภัย
สวัสดีครับ ช่อง DIY BY ART เป็นช่องแห่งการเรียนรู้และลงมือทำได้ด้วยตัวเอง นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับงาน DIY งานระบบไฟฟ้า (สำหรับช่างมือใหม่) เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญและสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ สุดท้ายนี้ฝากกดติดตามช่องของผมด้วยนะครับ
ไฟฟ้า เป็นพลังงานที่มีประโยชน์ต่อการดำรงชีพของมนุษย์อย่างมาก เพราะถือเป็นต้นกำเนิดของความเจริญ ไม่ว่าจะเป็นของใช้ เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ล้วนแล้วแต่จะต้องขับเคลื่อนและอาศัยพลังงานไฟฟ้าด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับไฟฟ้า โดยเฉพาะไฟฟ้าแรงสูงจึงไม่ใช่สิ่งไกลตัวเลย
ไฟฟ้าแรงสูง คืออะไร
ไฟฟ้าแรงสูงคือ ไฟฟ้าชนิดที่สามารถส่งกระแสไปได้ในระยะที่ไกล โดยมีแรงดันสายไฟฟ้าระหว่างสายสูงเกิน 1,000 โวลต์ขึ้นไป ซึ่งมีคุณสมบัติในการสูญเสียทางไฟฟ้าในระหว่างการส่งกระแสไฟฟ้าต่ำกว่าระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ โดยสามารถกระโดดข้ามอากาศเพื่อเข้าหาวัตถุต่างๆ ได้โดยไม่ต้องแตะสายหรือสัมผัสไฟเลย เพียงแค่อยู่ในระยะที่สามารถกระโดดข้ามได้เท่านั้น ซึ่งมีระยะขึ้นอยู่กับระดับแรงดันจากไฟฟ้าแรงสูง จึงเป็นไฟชนิดที่นิยมใช้และจัดว่าเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูง เพราะได้ระยะทางไกลและมีการสูญเสียน้อยนั่นเอง
ลักษณะของไฟฟ้าแรงสูง
การจับยึดสายไฟฟ้าแรงสูงจะจับยึดด้วยการใช้วัสดุที่เป็นฉนวน เรียกว่า “ลูกถ้วย” โดยนิยมทำด้วยกระเบื้องซึ่งมีลักษณะเป็นชั้นๆ หากมีจำนวนชั้นมากคือ มีปริมาณไฟฟ้าแรงสูงมาก บวกกับเสาของไฟฟ้าแรงสูงมักจะอยู่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 9 เมตรขึ้นไป ดังนั้น เมื่อเห็นลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังกล่าวก็หมายความว่านั่นคือ ลักษณะของไฟฟ้าแรงสูงนั่นเอง
อันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง
>>>>>>>>>>>>>>>รับชมวิดีโอได้ที่นี่นะครับ<<<<<<<<<<<<<<<<<<
เนื่องจากไฟฟ้าแรงสูงเป็นไฟที่สามารถผ่านอากาศเข้าหาวัตถุได้โดยที่วัตถุนั้นไม่ต้องมาโดนสายไฟ หากอยู่ภายในระยะแรงดันไฟฟ้าก็สามารถเป็นอันตรายได้แล้ว ยิ่งมีระยะแรงดันไฟฟ้าสูง ยิ่งหมายถึงกระแสไฟฟ้ายิ่งสามารถผ่านข้ามเข้าหาวัตถุได้ไกล จึงเป็นกระแสไฟที่มีอันตรายโดยสามารถทำให้เสียชีวิตได้ในทันที ทั้งนี้ก็ได้พบว่าในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตรวมทั้งผู้บาดเจ็บและทุพพลภาพจากไฟฟ้าแรงสูงไม่น้อยกว่าปีละ 100 รายเลยทีเดียว
สายไฟแบบไหนที่เรียกว่าปลอดภัย
ไฟฟ้าแรงสูง มักนิยมใช้ส่งกระแสไฟฟ้าไปตามถนนหรือทุ่งนา ซึ่งหากเป็นกรณีนี้จะไม่มีฉนวนหุ้มสายหรือหุ้มไว้เพียงบางๆ เท่านั้น นับว่าเป็นชนิดที่ไม่ปลอดภัย เพราะสายไฟที่ปลอดภัยจะต้องมีฉนวนหุ้มที่หนาแล้วพันทับด้วยชีลด์ (Shield) แล้วหุ้มด้วยเปลือกนอกอีกทีซึ่งจะทำให้มีน้ำหนักมาก จนไม่สามารถพาดไว้บนเสาไฟฟ้าทั่วไปได้ ปัจจุบันการจ่ายไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้านครหลวง มีระดับแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 12,000-115,000 โวลต์หรือที่นิยมเรียกกันว่า 12-115 กิโลโวลต์ ซึ่งบางครั้งก็มีการจ่ายถึง 23 กิโลโวลต์อยู่บ้าง แต่ก็ยังมีน้อย
การกำหนดระยะห่างมาตรฐานที่ปลอดภัย
การไฟฟ้านครหลวงได้มีการกำหนดมาตรฐานของระยะห่างไว้ ดังนี้
- ขนาดแรงดันไฟฟ้า 12,000-14,000 โวลต์ กำหนดให้อาคารหรือระเบียงอยู่ห่างจากสายไฟฟ้าในแนวนอนไม่น้อยกว่า 1.8 เมตร โดยอยู่ห่างจากป้ายโฆษณา 1.50 เมตร
- ขนาดแรงดันไฟฟ้า 69,000 โวลต์ กำหนดให้อาคารหรือระเบียงอยู่ห่างจากสายไฟฟ้าในแนวนอนไม่น้อยกว่า 2.13 เมตร โดยอยู่ห่างจากป้ายโฆษณา 1.80 เมตร
- ขนาดแรงดันไฟฟ้า 115,000 โวลต์ กำหนดให้อาคารหรือระเบียงอยู่ห่างจากสายไฟฟ้าในแนวนอนไม่น้อยกว่า 2.30 เมตร โดยอยู่ห่างจากป้ายโฆษณา 2.30 เมตร
หากในกรณีการทำงานที่มีเครื่องมือยื่นออกมานอกอาคาร เช่น เครน ได้มีการกำหนดเอาไว้ดังนี้
- ขนาดแรงดันไฟฟ้า 12,000-69,000 โวลต์ กำหนดให้ต้องมีระยะห่างที่ปลอดภัยคือ 3.05 เมตร
- ขนาดแรงดันไฟฟ้า 115,000 โวลต์ กำหนดให้ต้องมีระยะห่างที่ปลอดภัยคือ 3.20 เมตร
- ขนาดแรงดันไฟฟ้า 230,000 โวลต์ กำหนดให้ต้องมีระยะห่างที่ปลอดภัยคือ 3.90 เมตร
การใช้งานของไฟฟ้าแรงสูง นับว่ายังห่างหรือเกี่ยวกับคนทั่วไปอยู่น้อย ดังนั้นผู้ที่ได้รับอันตรายมักเป็นผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องเป็นหลักสำคัญ ดังนั้นผู้ที่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องจะต้องมีความรู้รวมทั้งต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เพราะไม่ใช่แค่ไฟฟ้าจะมีประโยชน์อย่างมหาศาลเท่านั้น แต่อันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงก็นับว่าคร่าชีวิตและทำลายทรัพย์สินไปได้มากพอสมควรเช่นกัน
🔥🔥 Follow me 🎮🎮
Youtube Chanel:https://bit.ly/2yraRhG
Facebook:https://bit.ly/2WUkqze
Facebook GROUP:https://www.facebook.com/groups/34184...
ขอบคุณครับ