หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

“คุก" ของใคร ครอบทับไว้เหนือ "หอคำ"

โพสท์โดย seeyounexttime

อิดอก ช่วงที่โดนแบน นั่งดู Twitter #ประวัติศาสตร์ปลดแอก เห็นโพสต์หนึ่งพูดเกี่ยวกับ คอก หรือ คุก เมืองเชียงใหม่สร้างทับเวียงแก้ว เลยนั่งทำรูปพวกนี้เก็บไว้ จริง ๆ เมืองอื่น ๆ ก็ตั้งอยู่ในพื้นที่สำคัญของเมืองทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น กลางเวียง หัวเวียง หรือวัดสำคัญ ล้วนแล้วแต่เป็นพื้นที่ทางจิตวิญญาณของคนที่อาศัยในเมืองค่ะ

อ่านความเห็นหลายคนบอกว่า น่าจะสะดวกสำหรับผู้ปกครองเมือง บางคุ้มก็มีคุกอยู่ใต้คุ้มอยู่แล้ว อันนี้จริง แต่ด้วยความที่คอกมีขนาดใหญ่กว่ามากและใช้ขังคนท้องถิ่นที่ทำผิดกฎหมายที่เขียนจากกรุงเทพจำนวนมาก มาตั้งหรากลางพื้นที่สำคัญของเมือง คนท้องถิ่นหลายคนเลยคิดว่านี่คือการ "ข่ม" ด้วยการเอาของต่ำมาไว้ในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นเสนียดจัญไร เรียกว่า "ขึด"

วันหลังไว้จะหาแผนที่ที่ตั้งของพระตำหนักต่าง ๆ กับที่ตั้งพระธาตุสำคัญของล้านนามาให้ดูค่ะ

#FACT เมืองต่าง ๆ มีคุกอยู่ตามสถานที่เหล่านี้จริง #OPINION ทำไมถึงตั้งอยู่ในที่เหล่านั้นคงต้องอภิปรายกันอีกยาว

สำหรับคนที่สนใจลองอ่านบทความของ อ.เพ็ญสุภา เป็นเพียงความเห็นหนึ่งที่เขียนไว้เมื่อ 9 ปีที่แล้วดูค่ะ

 

**********

“คุก" ของใคร ครอบทับไว้เหนือ "หอคำ"

by เพ็ญ ภัคตะ on Saturday, December 17, 2011 at 10:35pm

กรณีการสร้าง "คุก" หรือที่ภาษาเหนือเรียกว่า "คอก" ครอบทับ "หอคำ" ("คุ้มหลวง") กลางเวียงมหานครเชียงใหม่นั้น เปรียบเสมือน "หนามยอกอก" ที่คอยทิ่มแทงจิตใจชาวเมืองเหนือมาตลอดหนึ่งศตวรรษเศษ โดยเฉพาะในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา คนเชียงใหม่เริ่มเคลื่อนไหวรณรงค์ขอย้ายคุก ซึ่งยังคงเหลือเฉพาะในส่วนของ "ทัณฑสถานหญิง" ให้ออกไปนอกเมืองตามอย่างทัณฑสถานชาย ณ พื้นที่ที่เหมาะสม


ไม่ใช่เอาคุกมาตั้งประจานไว้เด่นหราท่ามกลางแหล่งอารยธรรมอยู่เช่นนี้!

ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ยุครัฐบาลอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร เคยวางแผนให้ย้ายคุกดังกล่าวออกไปสร้างใหม่ที่อำเภอแม่แตง พร้อมกับมีโครงการให้รื้ออาคารทั้งหมดภายในคุกเพื่อจัดทำเป็น "ข่วงหลวง" หรือสวนสาธารณะลานคนเมือง
แต่จนแล้วจนรอดเกิดอะไรขึ้นก็ไม่ทราบ ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ จากกรมราชทัณฑ์ ทั้งๆ ที่เคยมีการจัดสรรงบประมาณก้อนแรกให้ดำเนินการย้ายนักโทษชายไปก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ไฉนยังคงเก็บนักโทษหญิงไว้ที่เดิม


ปริศนาเรื่อง “คุก” กับ “หอคำ” นี้ โคจรมาพัวพันกันได้อย่างไร ทำไมอยู่ดีๆ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เคยเป็นถึง “หอคำ” หรือปราสาทพระราชวังหลวง จึงถูกปรับเปลี่ยนสภาพจนตาลปัตรจากหน้ามือเป็นหลังเท้า กลายเป็น “คุก” ได้ และนับต่อแต่นี้ คนเชียงใหม่ควรมีท่าทีอย่างไรกับคุกนั่น?

หอคำ คุ้มหลวง เวียงแก้ว

ที่ตั้งของทัณฑสถานหญิงเมื่อครั้งอดีตย้อนกลับไปสู่ปี พ.ศ.๑๘๓๙ พระญามังรายปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา ได้ใช้พื้นที่นี้เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ จากแผ่นดินว่างเปล่าได้สถาปนาให้เป็นเขตพระราชฐาน หรือที่เรียกว่า "เวียงแก้ว"

ภายในเวียงแก้วเป็นที่ตั้งของ "คุ้มหลวง" หรือ "หอคำ" ซึ่งกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายทุกพระองค์ทรงประทับอยู่ที่นี่อย่างต่อเนื่องมาตลอด จนแม้กระทั่งช่วงที่เชียงใหม่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าและสยามสมัยต้นรัตนโกสินทร์แล้วก็ตาม บริเวณนี้ยังคงเป็นที่ตั้งของคุ้มหลวงอยู่

คำว่า "หอคำ" กับ "คุ้มหลวง" ตกลงจะใช้คำไหน เหมือนหรือต่างกันอย่างไรหรือไม่ ผู้รู้หลายท่านอธิบายไว้ชัดเจนว่า สมัยก่อนนั้น ที่อยู่ของเจ้าเมืองในล้านนาเดิมเคยเรียกกันง่ายๆ ว่า "โรง” (อ่าน "โฮง”) อาจทำด้วยเครื่องไม้ หรือโรงดิน ค่อยๆ พัฒนามาเป็นอาคารที่ก่ออิฐถือปูน จึงเปลี่ยนไปเรียกว่า "หอ"

ไม่เพียงแต่ชาวไทในล้านนาเท่านั้นที่เรียกวังว่า "หอ" แม้แต่คนไทอาหมแห่งรัฐอัสสัมของอินเดียตะวันออกซ่ึงติดกับพม่า ก็เรียกที่อยู่ของเจ้าผู้ครองเมืองว่า หอนอน หรือ หอหลวง ด้วยเช่นกัน ต่อมาคำว่า "โรง" ก็ดี หรือ "หอ" ก็ดี ถูกนำไปใช้เรียกอาคารอื่นๆ จนสับสนปนเปไปหมด เช่น โรงพระ หมายถึงกุฏิ หรือหอเจ้าที่ หอผี จึงทำให้มีการเปลี่ยนจาก "หอ" เฉยๆ เพิ่มฐานานุศักดิ์ขึ้นอีกนิดเพื่อแสดงความแตกต่างจากอาคารอื่นเป็น "หอคำ" หมายถึง "ปราสาททอง" ส่วนคำว่า “คุ้มหลวง” ก็ใช้ในความหมายเดียวกันกับ "หอคำ" ทั้งเป็นคำที่ปรากฏในเอกสารตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ด้วย ซึ่งหมายถึง พระบรมมหาราชวัง นั่นเอง


หากใช้ว่า “คุ้ม” คำเดียว หมายถึงที่ประทับของเจ้านายองค์อื่นๆ ด้วยนอกเหนือจากกษัตริย์ คำว่าคุ้ม จึงหมายถึง “วัง” ในภาษาไทย กล่าวคือคุ้มหรือวังมีได้หลายแห่งเพราะมีเจ้านายหลายคน

ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ระบุว่าพระญามังรายได้สร้างอาคารต่างๆ หลายหลัง กอปรด้วย หอนอน ราชวังคุ้มน้อย โรงคัล (สถานที่เข้าเฝ้า) โรงคำ (ท้องพระโรงที่เสด็จออกราชการ) เหล้ม (พระคลังมหาสมบัติ) ฉางหลวง (ที่เก็บเสบียง) โรงช้าง โรงม้า ฯลฯ แต่ทั้งหมดนี้รวมกันอยู่ในบริเวณหอคำ

ฉะนั้นคำว่าหอคำ จึงมีความหมายสองนัย นัยแรกหมายถึงเฉพาะหอที่ประทับ (คุ้มหลวง) ส่วนอีกนัยหมายถึงบริเวณทั้งหมดที่เป็นเขตพระราชฐานของกษัตริย์ (เวียงแก้ว)


สรุปแล้ว "คุ้มหลวง" กับ "หอคำ" มีความหมายเดียวกัน ชาวเชียงใหม่ ลำปาง (นครขนาดใหญ่) นิยมเรียกว่า "หอคำ" ตามภาษาเดิม ส่วนชาวล้านนาในนครขนาดเล็กลงมา เช่น ลำพูน แพร่ น่าน นิยมเรียกว่า "คุ้มหลวง" หรือ "คุ้มเจ้าหลวง"

คอกทับคุ้ม เท่ากับ "ขึด"!

และแล้วการเข้ามาของระบอบการปกครองหัวเมืองประเทศราชในยุคมณฑลเทศาภิบาล สมัยรัชกาลที่ ๕ ก็ได้จัดการรื้อคุ้มเจ้าหลวงหรือหอคำในล้านนาทิ้งลงหลายแห่ง เมื่อเจ้าหลวงองค์สุดท้ายของแต่ละเมืองถึงแก่พิราลัย รัฐสยามได้ถือโอกาสส่งผู้ตรวจราชการมณฑลเทศาภิบาลเข้ามาดูแลหัวเมืองเหล่านี้แทนที่การแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครองค์ถัดไป


การปิดฉากบทบาททางด้านการบริหารบ้านเมืองของเจ้านายฝ่ายเหนือ ย่อมทำให้เกิดการอวสานของหอคำหรือคุ้มหลวงตามไปด้วย แต่แทนที่จะรื้อหอคำลงแบบธรรมดา หรือปรับเปลี่ยนไปเป็นศาลากลางจังหวัด ดังเช่นที่เมืองน่านและแพร่ แต่ในหลายเมืองกลับพบว่ามีการสร้าง "คุก" หรือ "คอก" ครอบทับพื้นที่หอคำเก่า

ปรากฏการณ์นี้ไม่น่าจะใช่เรื่องบังเอิญ เพราะไม่ได้เกิดขึ้นกับเชียงใหม่เพียงเมืองเดียวเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับนครลำปาง และลำพูนอีกด้วย


โชคดีที่นครลำปาง เทศบาลได้ทำการรื้อคุกที่มาตั้งประจานอยู่กลางเวียงเยื้องกับหอคำนั้นลงเสีย แล้วปรับพื้นที่ใหม่เป็นย่านตลาดร้านค้าทำให้พ้นจากสภาพทัศนอุจาดไปได้แล้ว


ส่วนลำพูนนั้น คุกมิได้สร้างครอบทับ "คุ้มหลวง" หากแต่เลวร้ายยิ่งกว่านั้น คุกยุคมณฑลเทศาภิบาลตั้งเด่นหราอยู่ตรงข้ามกับพระบรมธาตุหริภุญไชย ศูนย์รวมจิตใจชาวเหนือทั้งมวล โดยการรื้อ "วัดแสนข้าวห่อ" ซึ่งรัฐบาลยุคโน้นอ้างว่าบริเวณใจกลางเมืองเก่าลำพูนนั้นมีวัดเบียดแน่นมากเกินไป จึงได้วิสาสะทำการเปลี่ยนวัดให้กลายเป็นคุก


โดยหารู้ไม่ว่า การที่กลางเมืองลำพูนมีวัดชนวัดมากมายขนาดนี้ ก็เพราะคนในอดีตตั้งใจจะให้วัดพระธาตุหริภุญไชยเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์กลางศาสนจักรแห่งลุ่มแม่น้ำโขง-สาละวิน จึงได้สร้างวัดบริวารรายรอบองค์พระธาตุซึ่งเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุไว้แปดวัด แทนการเผยแผ่ศาสนาไปยังทิศทั้งแปด ได้แก่


วัดช้างสี-ทิศเหนือ วัดศรีบุญเรือง-ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ วัดแสนข้าวห่อ-ทิศตะวันตก วัดไชยมงคล-ทิศตะวันตกเฉียงใต้ วัดสุพรรณรังษี-ทิศใต้ วัดธงสัจจะ-ทิศตะวันออกเฉียงใต้ วัดเปลือกเต้า-ทิศตะวันออก (ถูกรื้อไปแล้วกลายเป็นบ้านพักของสรรพากรจังหวัด) และวัดช้างรอง-ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

เหตุที่ไม่มีการศึกษาข้อมูลอย่างถ่องแท้ จึงได้มารื้อวัดแสนข้าวห่อ (รวมทั้งวัดเปลือกเต้า) ลง ทำให้วัดบริวารที่รายล้อมพระธาตุหริภุญไชยควรมีครบ ๘ ทิศต้องเหลืออยู่เพียง ๖ ทิศ!


วัดแสนข้าวห่อตกอยู่ในสภาพคุกอยู่นานหลายสิบปี จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๑๘ กรมศิลปากรมีดำริจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชยขึ้น จึงได้มีการย้ายเรือนจำออกไปสร้างใหม่ที่นอกเมืองแถวตำบลริมปิง

การสร้างคุกครอบทับหอคำเก่าที่เชียงใหม่และลำปาง หรือการเอาคุกมาวางประชิดกับองค์พระบรมธาตุศักดิ์สิทธิ์เช่นกรณีของลำพูนนั้น รัฐบาลสยามอ้างเหตุผลว่า เนื่องจากมีความจำเป็นต้องจัดให้นักโทษอาศัยอยู่ในบริเวณที่ใกล้กับศาลและสถานีตำรวจ ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ล้วนมีที่ทำการอยู่กลางเวียง หากนักโทษจะหนีก็มิอาจรอดพ้นสายตาของทางการไปได้


แต่ทว่าในมุมมองของคนล้านนานั้นกลับเห็นต่าง คนที่มีอายุเกินครึ่งศตวรรษส่วนใหญ่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า คุกที่เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เหล่านี้ แท้ที่จริงแล้วชาวสยามสร้างขึ้นเพื่อต้องทำลายพระราชวังของกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายรวมไปถึงราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนของพระญากาวิละ

คนเหนือเรียกการกระทำเช่นนี้ว่า "ขึด"! กาลีบ้านกาลีเมือง หรือเสนียดจัญไร!

การเปลี่ยนหอคำให้กลายเป็นคุก ว่าไปแล้วก็คือการสร้างสัญลักษณ์ใหม่ขึ้นข่มขวัญคนพื้นเมือง เป็นการสาปให้เจ้าต้องกลายเป็นนักโทษชั่วนิรันดร์

คุกกลางเวียงจึงเท่ากับคมหอกที่ปักลงกลางอกของคนเมือง คือกรงที่ขังจิตวิญญาณของคนล้านนาไว้มิให้มีอิสรภาพ ในขณะที่ชาวลำปาง ลำพูน ได้แปรสภาพคุกเป็นตลาดและพิพิธภัณฑ์แล้ว แต่ทว่าชาวเชียงใหม่เล่า...


ประวัติศาสตร์กับความทรงจำ โบราณสถานที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์?

เมื่อกลางปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้มีการจัดเสวนาของกลุ่มนักขับเคลื่อนวัฒนธรรมล้านนา เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าหากมีการย้ายทัณฑสถานหญิงออกไปอยู่ที่แม่แตงในอนาคตแล้ว จะปรับพื้นที่ ๑๗ ไร่ที่เคยกุมขังนักโทษหญิงหลายพันชีวิตแห่งนี้ไว้ทำอะไร

ตอนแรกเทศบาลนครเชียงใหม่เคยเสนอว่า หากได้รับการถ่ายโอนให้เป็นผู้ดูแลสถานที่จากกรมราชทัณฑ์แล้ว จะทำการรื้ออาคารออกทั้งหมดแล้วปรับเป็นสวนสาธารณะ เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความหวาดระแวงเวลาเดินผ่าน
แต่ทว่าความเห็นนี้กลับถูกตีแสกหน้ากลับมา

"สวนสาธารณะในเชียงใหม่มีอยู่เต็มบ้านเต็มเมืองแล้ว ไยจึงยอมจำนนอยู่แต่เพียงโจทย์เดิมๆ ที่พอพ้นจากคุกแล้วก็ต้องกลายมาเป็นสวน เหมือนคุกเก่าที่กลายเป็นสวนรมณีนาถกลางกรุงเทพ "

คำถามนี้ท้าทายให้นักประวัติศาสตร์และนักอนุรักษ์ท้องถิ่นต้องออกมาเสนอแนวคิดใหม่ว่า

"ไหนๆ คุกแห่งนี้ก็เป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ล้านนาไปแล้ว ความทรงจำแม้จะขมขื่นเจ็บปวดเพียงใด แต่มันก็คือประวัติศาสตร์ อาคารที่ขังนักโทษนี้ อย่างน้อยก็สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ถือเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่มีค่าแก่การรักษาไว้"

บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับหนึ่งเปิดเผยว่าเคยเข้าไปถ่ายทำสารคดี แล้วพบว่าด้านในคุกแห่งนี้มีอุโมงค์ใต้ดิน เป็นห้องขังนักโทษแบบขังเดี่ยวสำหรับนักโทษชาย ๕ ห้อง และยังมีคุกมืดใต้ดินที่อยู่ในสภาพค่อนข้างดี หากอนุรักษ์อาคารนี้ไว้แล้วเปิดให้คนเข้าไปชม คิดว่าเทศบาลน่าจะได้เม็ดเงินมากกว่าการทำเป็นสวนสาธารณะ เหมือนดั่งคุกในอิตาลีและคุกโบราณของยุโรปที่เปิดให้คนได้เยี่ยมชม


ตอกย้ำด้วยการโยนเผือกร้อนไปถามนักโบราณคดีของกรมศิลปากรว่า คุกแห่งนี้มีอายุเกินกว่า ๑๐๐ ปีแล้ว (นับถึง พ.ศ. ๒๕๕๔ ก็ครบ ๑๐๘ ปี) จัดเป็นโบราณสถานได้หรือไม่ มุมมองของนักโบราณคดีบางคนก็เห็นดีเห็นงามว่าสมควรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ให้อนุรักษ์เก็บไว้เป็นพิพิธภัณฑ์เรือนจำชั่วกาลนานให้ลูกหลานไว้ดู เพราะครั้งหนึ่งพื้นที่นี้ก็มีคุณค่าอันซ้อนทับทางประวัติศาสตร์หลายยุคสมัย

แต่ทำไมนักโบราณคดีกลับไม่มองให้ลึกลงไปถึงชั้นใต้ดินบ้างเล่า ว่าที่บริเวณนี้พบซากซุ้มประตูโขงอยู่ข้างคุก ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นงดงามสมัยล้านนา สร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.๑๙๘๔-๒๐๓๐) ส่วนล่างมีลายปูนปั้นรูปสิงห์สวยงามถูกทอดทิ้งเอาไว้ ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของหอคำ-เวียงแก้ว

คนที่คัดค้านแนวคิดของการอนุรักษ์คุกที่ครอบทับหอคำในทุกเวที ชัดเจนและเปิดเผยมากที่สุดก็คือ ศ. ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง แห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้วยเหตุผลที่ว่า

"คุกแห่งนั้นหาใช่อาคารที่มีคุณค่าในฐานะหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ล้านนาไม่ แต่มันคือเครื่องหมายของการทำลายหัวใจคนเชียงใหม่และล้านนาไปอย่างย่อยยับ ในอดีตผู้มีอำนาจขยายอาณาเขตเข้ามาครอบครองพื้นที่ในภาคเหนือ โดยจงใจใช้ที่คุ้มเจ้าหลวงเป็นคุกขังคน เหตุผลก็คือต้องการตัดไม้ข่มนาม มิให้คนชายขอบได้โงหัว"

เสียงขอร้องวิงวอนในเวทีประชาพิจารณ์ของคนเชียงใหม่เริ่มกลับมาดังก้องขึ้นอีกครั้ง กับว่าที่นายกรัฐมนตรีผู้เป็นแม่ญิงล้านนา พร้อมกับคำถามที่ควรได้รับคำตอบว่า

"ชาวเชียงใหม่อยากจะรักษาตึกอายุร้อยปีในเรือนจำต่างๆ เอาไว้เป็นคราบความทรงจำทางประวัติศาสตร์ ว่าครั้งหนึ่งเคยตกอยู่ภายใต้การกดขี่ชี้นำ หรือเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ควรเปิดซาก "หอคำ" ซึ่งเคยถูก "คุก" ครอบทับ ให้กลับคืนมา คืนจิตวิญญาณของชาวเชียงใหม่ที่ถูกกักขังนั้นด้วยการเปิดพื้นที่ "ข่วงหลวง" ให้เป็นสวนสาธารณะแก่ประชาชนชาวบ้าน"

จาก "ปริศนาโบราณคดีตอนที่ ๓๗" ในมติชนสุดสัปดาห์


ทัณฑสถานหญิงที่สร้างทับหอคำหลวง
หอคำหลวงที่ถูกรื้อทิ้ง

โพสท์โดย: seeyounexttime
อ้างอิงจาก: by เพ็ญ ภัคตะ
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
seeyounexttime's profile


โพสท์โดย: seeyounexttime
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: zerotype, มยุริญ ผดผื่นคัน
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
iPhone รุ่นประหยัดมาแล้ว!อยากให้หมาที่บ้านมาดู..จะได้รู้ "หมาที่ดี" ต้องทำอย่างไร ?ผ้าขี้ริ้ววัว หรือสไบนาง ส่วนที่มักถูกเอามาทำอาหารยอดนิยม คืออะไรและอยู่ตรงส่วนไหนของวัว"ออกัส วชิรวิชญ์" เผยอีกด้านก่อนถูก "กันสมาย" แฉพลังมหัศจรรย์ของ "เกลือ" เปลี่ยนการซักผ้าให้สะอาดง่ายล็อบสเตอร์ จากอาหารราคาถูก สู่สุดยอดอาหารหรูโหนกอูฐมีไว้ทำไม ?"กันสมาย" โพสต์สวน "วงการบันเทิงอะเนอะ!"..หลัง "ออกัส" ออกมาให้สัมภาษณ์รวมภาพความฮา แบบสร้างสรรค์ ของคนเขมร กับ นักท่องเที่ยวกับรูปปั้นม้าน้ำอันโด่งดังในโลกโซเชียลตอนนี้
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
วันนี้ที่รอคอย! กอดทั้งน้ำตา..หนุ่มตามหาแม่แท้ๆ นานกว่า 29 ปีจนเจอFB เตรียมเพิ่มโหมดใหม่ ให้ข้อความใน IB หายไปได้ตามเวลาที่ตั้งไว้โหนกอูฐมีไว้ทำไม ?"ออกัส วชิรวิชญ์" เผยอีกด้านก่อนถูก "กันสมาย" แฉ
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ถามตอบ พูดคุย
โคลอมเบียแล้งหนักมาก ถึงขั้นเรียกร้องไม่ให้อาบน้ำทายนิสัยจากรสไอศกรีมที่ชอบเขมรโป๊ะแตก! ทำเสื้อสงกรานต์ขายแต่สกรีนเสื้อก็อปลายนาฏศิลป์ไทย?😁เจอเด็กแบบนี้จะตอบกลับบยังไง??
ตั้งกระทู้ใหม่