Pretty Privilege สิทธิพิเศษของคนหน้าตาดี
Pretty Privilege สิทธิพิเศษของคนหน้าตาดี
Pretty Privilege สิทธิพิเศษของคนหน้าตาดี ท่ามกลางบรรยากาศสนุกสนาน ของกิจกรรมรับน้องในมหาวิทยาลัย เด็กใหม่หน้าตาสวยหล่อ มักสร้างความฮือฮา ให้กับบรรดารุ่นพี่ไม่น้อย เชื่อว่าสิ่งที่หลายคน คุ้นชินกันในทุกๆ ปี คงจะเป็นรูปถ่าย ของน้องเฟรชชี่หน้าตาน่ารักสดใส ขณะกำลังทำกิจกรรม และถูกแชร์ต่อๆ กันไปทั่วเฟซบุ๊ก
ภายใต้เสียงรัวกลองสันทนาการ ความไม่เท่าเทียมได้ค่อยๆ ดังขึ้นตามในกิจกรรม สานสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง น้องใหม่หน้าตาดี กลายเป็นที่ชื่นชอบ และได้รับความสนใจจากคนในคณะ ทั้งรุ่นพี่และรุ่นเพื่อนด้วยกันเอง แต่หากลองเงี่ยหูฟังดีๆ จะแอบได้ยินเสียงแว่วขึ้นมา ตัดพ้อถึงการถูกมองข้าม และได้รับการปฏิบัติ อย่างไม่เท่าเทียม
“คนหน้าตาดี มักได้รับโอกาสมากกว่า ทั้งๆ ที่คนธรรมดาแบบเรา ก็อยากออกไปร่วมกิจกรรมเหมือนกัน แต่ไม่เคยได้รับโอกาสเลย จนบางครั้งทำให้กิจกรรมไม่สนุก เพราะรู้อยู่แล้วว่าใคร จะได้เป็นตัวแทน ไปทำกิจกรรมต่างๆ”
“เราเคยอยู่ในเหตุการณ์นั้น มันแย่มาก ขนาดรูปถ่ายยังไม่มีเลย มีแต่รูปสตาฟกับคนหน้าตาดี ส่วนคนอื่นก็กลายเป็นอากาศไป” ข้อความถกเถียงบางส่วน ถูกหยิบยกมาจากทวิตเตอร์ สะท้อนให้เห็นถึงปัญหา ความไม่เท่ากันที่เกิดขึ้น จากการเข้าร่วมกิจกรรมรับน้อง ที่มักจะเกิด จากการปฏิบัติกับรุ่นน้อง ที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ จะเกิดขึ้นระหว่างรุ่นน้อง ‘หน้าตาดี’ กับรุ่นน้องคนอื่นๆ
ปัญหาความไม่เท่าเทียม ในกิจกรรมรับน้อง ได้เวียนมาให้เห็นทุกปี เพียงแต่เป็นเสียงเล็กๆ ที่ลอยมาแล้วก็หายไป จึงทำให้เกิดเป็นภาพซ้ำอยู่เรื่อยๆ อัลบั้มรูปถ่ายกิจกรรม ที่เต็มไปด้วยรูปของน้องๆ เด็กใหม่หน้าตาดี ส่วนน้องๆ ที่ไม่โดนเด่นอะไรมาก ก็ดูจะต้องเลื่อนหารูปตัวเองกันจนนิ้วล็อก บางทีหาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ นอกจากนี้ การถูกตัดโอกาส จากการเข้าร่วมกิจกรรมบางประเภท
ที่ให้ความสำคัญกับหน้าตา หรือรูปลักษณ์เป็นหลัก ก็ยิ่งทำให้น้องๆ หลายคนรู้สึกถึงความไม่เสมอภาค ว่าทำไมเขาถึงไม่ได้รับโอกาสเหล่านั้น เพียงเพราะหน้าตาไม่โดดเด่น ซ้ำยังทำให้พวกเขา รู้สึกว่าถูกลดคุณค่า หรือไม่ได้รับการยอมรับในสังคม เหตุการณ์นี้จึงเกิดภาวะสองแบบขึ้น นั่นก็คือ
สิทธิพิเศษของคนสวยหล่อ
แม้จะบอกว่าคุณค่าที่แท้จริงของคน อยู่ที่ศักยภาพ ความสามารถ ทัศนคติ หรือจิตใจ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘หน้าตา’ หรือ ‘รูปลักษณ์ภายนอก’ เป็นสิ่งที่ดึงดูดเราเป็นอันดับแรก เพราะประสาทสัมผัส ด้านการมองเห็น มักจะทำหน้าที่ได้รวดเร็ว กว่าการเดินเข้าไปพูดคุย
หรือทำความรู้จัก ที่จะต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง ในการรับรู้ ทำให้บางครั้ง การตัดสินที่รูปลักษณ์ภายนอก จึงเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยง บางกิจกรรมในมหาวิทยาลัย จึงไม่ได้มีไว้สำหรับทุกคน
เฉพาะคนสวยหล่อเท่านั้นที่มีสิทธิ์ ยกตัวอย่างกิจกรรม ประกวดดาวเดือน ผู้นำเชียร์ คฑากร หรือแม้กระทั่งถือพานวันไหว้ครู กิจกรรมเหล่านี้ ได้สร้างค่านิยมความสวยหล่อ ในสังคมให้ถูกจำกัดอยู่ เพียงแค่ไม่กี่รูปแบบ ทั้งยังสร้างช่องว่างขนาดใหญ่ ให้เกิดขึ้นกับบุคคลที่หน้าตาธรรมดาทั่วๆ ไปอีกด้วย
จึงทำให้สังคมตั้งคำถาม ว่ากิจกรรมเหล่านี้ ยังควรที่จะมีอยู่หรือไม่ เพื่อที่ต้องการจะลดความเท่าเทียม และการถูกแบ่งแยกชนชั้น ในสังคมมหาวิทยาลัย แม้บางกิจกรรม จะเน้นไปที่ความสามารถ แต่ความสามารถ เป็นสิ่งที่ฝึกฝนกันได้
จะเห็นได้จาก การที่มีพี่เลี้ยงคอยเทรน ผู้เข้าประกวดดาวเดือนให้ร้อง เต้น เล่นดนตรี หรือช่วยคิด การแสดงโชว์เพื่อไปแข่งกับคณะอื่น ดังนั้น เมื่อตัดเรื่องของความสามารถพิเศษออกไป จึงไม่แปลกที่ภาพลักษณ์ จะเป็นปัจจัยแรกที่ทุกคนมองหา
แดเนียล ฮาเมอร์เมช (Daniel Hamermesh) นักเศรษฐศาสตร์ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Beauty Pays: Why Attractive People are More Successful ได้ศึกษาเกี่ยวกับ beauty privilege
หรือ beauty premium ภาวะที่คนหน้าตาดี มักจะได้สิทธิประโยชน์หรือการยอมรับ มากกว่าคนหน้าตาธรรมดา และเขาก็พบว่า ภาวะนี้เกิดขึ้นในทุกวงการ หรืออุตสาหกรรม
ไม่เว้นแม้แต่การศึกษา หรือสาธารณกุศล โดยคนที่หน้าตาดี มีโอกาสที่จะถูกจ้างงานมากกว่า คนหน้าตาธรรมดา เนื่องจากสังคม มีความเอนเอียง และเชื่อว่าหน้าตากับความสามารถ มีความเชื่อมโยงกัน หลายคนมักจะคิดว่า คนหน้าตาดี เป็นคนไม่มีศักยภาพ หรือมีดีแค่ที่หน้าตา
แต่ความคิดนี้ก็ไม่ถูกเสียทีเดียว แม้แดเนียล ฮาเมอร์เมช จะบอกว่าความหน้าตาดี จะมาจากกรรมพันธุ์ของพ่อแม่ล้วนๆ แต่มีการพิสูจน์แล้ว ว่าความหน้าตาดีของคนเหล่านี้ มีส่วนมาจากองค์ประกอบอื่นๆ ที่ทำให้พวกเขา สามารถทำบางอย่างได้ดีกว่า คนหน้าตาธรรมดาทั่วไป นั่นก็คือ ‘ความมั่นใจ’ มีการศึกษาจากนักเศรษฐศาสตร์อีกสองคน ได้แก่ มาร์ค โมเบียส และแทนยา โรเซนแบลต
พวกเขาทดลองให้คนหน้าตาดี และคนหน้าตาธรรมดา เข้าสัมภาษณ์งานผ่านทางโทรศัพท์ และให้ผู้สมัครทั้งสองฝ่ายเล่นเกมพัซเซิลเพื่อเป็นการวัดศักยภาพในการทำงานของพวกเขา ปรากฏว่าผลที่ได้คือ
นายจ้างมีแนวโน้มที่จะรับคนหน้าตาดีเข้าทำงานมากกว่า เพราะคนหน้าตาดีเล่นเกมพัซเซิลได้ในจำนวนที่มากกว่าคนหน้าตาธรรมดา รวมไปถึงความมั่นใจที่แสดงให้เห็นออกมาผ่านน้ำเสียงในโทรศัพท์ ทำให้นายจ้างคิดว่าคนหน้าตาดีมีความสามารถในทำงานดีกว่าคนหน้าตาธรรมดา
อ้างอิงจาก: https://payoncebiz.com/