ปรึกษาชีวิตรักกับ พุธทอล์ค พุธโทร
ปรึกษาชีวิตรักกับ พุธทอล์ค พุธโทร
ปรึกษาชีวิตรักกับ พุธทอล์ค พุธโทร แอบชอบคนน่ารักที่ป้ายรถเมล์ แฟนเปลี่ยนไปเมื่อเห็นเรา ใส่น้ำแข็งลงในโจ๊ก ถูกบอกเลิก เพราะอีกฝ่ายไม่อยาก ให้ใส่ชุดว่ายน้ำ คบกันมาตั้งนาน อยู่ดีๆ ก็ส่งข้อความมาว่า เราจบกันเถอะ
นี่คือเรื่องเล่า ที่เกิดในรายการ ‘พุธทอล์ค พุธโทร’ เราส่งนักข่าวไปฟังรายการพุธทอล์ค พุธโทร’ แห่งคลื่น EFM ย้อนหลังกว่า 6 เดือน เพื่อสำรวจปัญหาความรักต่างๆ ผ่านสายโฟนอินในรายการ และวิเคราะห์ข้อมูลที่น่าสนใจ
รักแท้แพ้อะไรมากที่สุด? มีเรื่องราวแบบไหนบ้าง เกิดขึ้นในรายการ? นอกจากนาฬิกาปลุก ชุดว่ายน้ำ และผัดกระเพราแล้ว ยังมีอะไรอีกที่เป็น ‘ไอเท็มแห่งความร้าวฉาน’ ที่แทรกเข้ามา ทำให้เกิดเรื่องขัดแย้ง ในความสัมพันธ์? ติดตามได้จาก DATA ชุดนี้
65.82% โทรมาปรึกษาปัญหาหัวใจ
การสำรวจครั้งนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลจาก เพลย์ลิสต์ ‘พุธทอล์คพุธโทร’ (2018-2019) บนยูทูบช่อง AtimeOnline ระหว่างวันที่ 19 กันยายน 2561 – 6 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งรวมกันได้ทั้งหมด 18 คลิป ทั้งนี้ การสำรวจไม่ได้รวมหนึ่งเทปคือวันที่ 17 ตุลาคม 2561 เนื่องจากไม่มีคลิปตัวเต็ม บนช่องของ AtimeOnline ข้อมูลในภาพรวมๆ ที่เราพบจากทั้งหมด 18 คลิปคือ ยอดวิวทั้งหมด 5,742,012 (ข้อมูล ณ เวลา 10.50 น. วันที่ 14 กุมภาพันธ์)
มีโฟนอินเข้ามาบอกเล่า เรื่องราวทั้งหมด 79 ครั้ง ซึ่งเป็นสายที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องความรักทั้งหมด 52 ครั้ง (65.82 %) อย่างไรก็ดี จุดแข็งของรายการที่เป็น “พุธทอล์ค พุธโทร โทรฯ มานะ คุยได้ทุกเรื่อง” ก็ยังคงมีให้เราเห็นอยู่ สังเกตได้จากการโทร เข้ามาพูดคุยกันได้เรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่ความรัก เช่น คำถามคาใจในชีวิตประจำวัน ประมาณว่า ถ้ายีราฟตาย จะต้องทำศพอย่างไร และ เป็นริดสีดวงเลยลองใส่ผ้าอนามัย จนอาการดีขึ้น แต่กลายเป็นเสพติด การใส่ผ้าอนามัยไปแล้ว เป็นต้น
ต้นสายมาจากเพศไหนบ้าง
จากทั้งหมด 52 สาย แบ่งเพศได้เป็น
- -หญิง : 47 คน (90.38%)
- -LGBTQ : 3 คน (5.77%)
- -ชาย : 2 คน (3.85%)
จะเห็นได้ว่าสายส่วนใหญ่ จะเป็นผู้หญิง ซึ่งมีมากถึง 90.38% ถือว่าค่อนข้าง เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ของรายการนี้เลยก็ว่าได้ รองลงมาคือ LGBTQ คือ 5.77% และ ชาย 3.85% น่าสนใจว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? ในแง่มุมแรก เราอาจวิเคราะห์ได้ว่า รายการพุธทอล์คพุธโทร เป็นรายการที่มีแบรนด์ ที่ค่อนข้างชัดว่า มีคอนเทนต์ที่อยากสื่อสาร กับผู้ฟังกลุ่มนี้เป็นหลักอยู่แล้ว
ในขณะเดียวกัน จากสถิติที่เราพบคือ ผู้หญิงที่โทรมาโดยส่วนใหญ่นั้น มักตกอยู่ในสถานะของ ‘ผู้ถูกกระทำ’ ในความสัมพันธ์ ซึ่งมีทั้งถูกบังคับ ให้ต้องไม่เป็นตัวของตัวเอง ถูกทิ้ง จากอีกฝ่าย ตลอดจนเรื่องใหญ่มากๆ อย่างการตกเป็นเหยื่อ ของความรุนแรงทางเพศ เรื่องความรุนแรงทางเพศ มีให้เห็นในสายจากคุณบี (12 ธ.ค. 61)
ที่ถูกผู้ชายบังคับขืนใจ ให้มีเพศสัมพันธ์ และยังถูกกดดัน ให้ต้องถอดเสื้อโชว์ ในวิดีโอคอล และสายจากคุณเอ (31 ต.ค. 61) ที่ถูกอีกฝ่ายถ่ายคลิปไว้ ในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ และไม่กล้าที่จะบอกเรื่องนี้ ให้กับพ่อแม่ฟัง ขณะที่เรื่องของคุณบี ที่เป็น LGBTQ ก็นับว่าเจ็บปวดไม่น้อย เมื่อถูกแฟนที่คบกันมานานโกหก แถมยังพัวพันเงิน ที่ลงทุนไปในความสัมพันธ์ รวมถึงปัญหาที่อีกฝ่าย มีลูกกับผู้หญิง ทั้งที่ตัวเขากับบุคคลนี้ ก็กำลังเลี้ยงดูลูกให้เติบโตขึ้นมา ด้วยเหมือนกัน
ปัญหาเรื่องการคุกคามทางเพศ น่าจะบ่งชี้ให้เราเห็น ได้ไม่น้อยเลยว่า หลายครั้งที่ผู้หญิงตกอยู่ในฐานะ ถูกกระทำทางเพศ นอกจากความกลัว ที่ต้องเผชิญจากคำข่มขู่ จากอีกฝ่ายแล้ว พวกเธอยังเผชิญ กับช่วงเวลาที่ยากลำบาก ไม่กล้าสื่อสารให้กับคนใกล้ตัวได้ฟัง จึงหันมาขอคำปรึกษา จากพิธีกรที่เธอเชื่อว่า จะสามารถให้คำปรึกษา ที่ดีแก่เธอได้
อ้างอิงจาก: https://payoncebiz.com/