หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร

เนื้อหาโดย tonporkung

วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ตั้งอยู่ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณท้ายเกาะลอย ด้านทิศตะวันตกของพระราชวังบางปะอิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่บำเพ็ญพระราชกุศลใกล้พระราชวังบางปะอิน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวถึง “ตำนานพระราชวังบางปะอิน” ไว้ในพระนิพนธ์ “เที่ยวตามทางรถไฟ” ความตอนหนึ่งว่า “ที่บางปะอินนี้เดิมมีเกาะใหญ่เกาะหนึ่งอยู่ในแม่น้ำ สกุลวงศ์ฝ่ายข้างพระราชมารดาของพระเจ้าปราสาททอง ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เกาะนั้น กล่าวกันว่าพระเจ้าปราสาททองก็สมภพที่นั่น ครั้นพระเจ้าปราสาททองได้ครองกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.๒๑๗๓-๒๑๙๘) จึงทรงอุทิศถวายที่บ้านนั้นเป็นพุทธบูชาให้สร้างวัดขึ้นที่ตรงนั้นชื่อว่า “วัดชุมพลนิกายาราม” ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ แล้วให้ขุดสระสร้างวังใหม่ขึ้นทางกลางเกาะ เป็นที่สำหรับเสด็จมาประพาส จึงได้มีวังขึ้นที่เกาะบางปะอินแต่นั้นมา...พระราชวังบางปะอินเป็นที่ประพาสของพระราชาธิบดีซึ่งครองกรุงศรีอยุธยาภายหลังพระเจ้าปราสาทต่อมาทุกรัชกาล....” หลังจากย้ายราชธานีมาที่บางกอก พระราชวังบางปะอินถูกทิ้งร้างไปกว่า ๘๐ ปี จึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสืบสานพระราชปณิธาน ในปีพุทธศักราช ๒๔๑๙ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายกำแพงพระราชวังบางปะอินให้มีอาณาเขตกว้างกว่าเดิม และได้มีพระราชศรัทธาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดนิเวศธรรมประวัติขึ้น เพื่อให้เป็นที่บำเพ็ญพระราชกุศลใกล้พระราชวัง โดยมีพระราชดำริให้สร้างตามรูปแบบลักษณะวัดในศิลปะตะวันตก ดังความบางตอนจากแผ่นศิลาจารึกบริเวณผนังด้านในสองข้างประตูทางเข้าพระอุโบสถ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระศรีสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ จารึกติดไว้เพื่อให้ชนภายหลังได้ทราบความ “ด้วยมีความประสงค์จะบูชาพุทธศาสนาด้วยของแปลกประหลาด แลเพื่อให้อาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงชมเล่นเป็นของแปลก ยังไม่เคยมีในพระอารามอื่น แลเป็นของมั่นคงถาวรสมควรเป็นพระอารามหลวงในหัวเมือง ใช่จะนิยมยินดีเลื่อมใสในลัทธิศาสนาอื่น นอกจากพระพุทธศาสนานั้นหามิได้” ภายหลังการก่อสร้างสำเร็จสมบูรณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๒๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอัญเชิญพระพุทธปฏิมากรที่โปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ ซึ่งได้รับนับถือว่าเป็นช่างอย่างวิเศษมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๔ หล่อขึ้น เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชร กาไหล่ทองคำทั้งพระองค์ ถวายพระนามว่า“พระพุทธนฤมลธรรมโมภาศ” ประดิษฐานในซุ้มเรือนแก้วเป็นพระประธานของวัดอยู่ภายในอุโบสถ ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเจดีย์หล่อด้วยสำริด ประดิษฐานบนยอดหอระฆัง ดังนั้น แม้รูปแบบอุโบสถจะเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตก แต่เนื้อหาและความหมายเป็นพุทธศิลปะสถาปัตยกรรมไทย นอกจากนี้ ทรงปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์หน่อเนื้อจากพุทธคยาไว้ ณ บริเวณมุมกำแพงแก้วหน้าพระอุโบสถด้านทิศตะวันตก และโปรดให้หล่อพระพุทธรูปคันธารราษฎร์ ประทับยืนพระหัตถ์ขวาแสดงอาการเรียกฝนเพื่อให้ชาวนามาขอฝนในฤดูทำนา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ภายหลังทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว ได้มาประทับจำพรรษาที่วัดนี้เพื่อสนองพระราชประสงค์รัชกาลที่ ๕ ภายหลังจากลาสิกขาได้ดำริให้สร้างสวนหินขึ้นที่วัดแห่งนี้ เพื่อใช้บรรจุอัฐิบุพการีและผู้อยู่ในราชสกุลดิศกุลทุกท่าน ซึ่งเป็นที่บรรจุอัฐิเจ้าจอมมารดาชุ่มในรัชกาลที่ ๔ พระมารดา รวมทั้งพระอัฐิของพระองค์เองด้วย สถาปัตยกรรมวัดนิเวศธรรมประวัติ มีรูปแบบเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนตามแบบศิลปะโกธิค เป็นศิลปะสมัยกลางของยุโรปที่ชาวตะวันตกนิยมสร้างเป็นศาสนสถานในศาสนาคริสต์ ลักษณะโดดเด่นของศิลปะยุคนี้คือโครงสร้างอาคารทรงสูง มียอดหอคอยรูปทรงแหลมอยู่ด้านบน ประตูหน้าต่างเปลี่ยนจากโค้งกลมขนาดเล็กเป็นโค้งแหลม นิยมประดับผนังด้วยกระจกภาพสี (stained glass) ผู้ออกแบบพระอุโบสถและหมู่กุฏิสงฆ์วัดนิเวศธรรมประวัติคือ สถาปนิกชาวอิตาเลียน มิสเตอร์ยูกิงแกรซี เข้ารับราชการในประเทศไทยสังกัดกรมโยธาธิการ ในตำแหน่งช่างสถาปนิก จากการขุดแต่งทางโบราณคดีพบว่าเดิมแนวทางเดินบริเวณด้านทิศเหนือของพระอุโบสถและด้านหลังพระอุโบสถปูพื้นทางเดินด้วยอิฐในแนวตั้งลายก้างปลา สร้างเชื่อมต่อกันกับอาคารทุกหลังเพื่อความสะดวกในการเดินไปมา ก่อนที่จะปรับพื้นที่และสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กทับแนวอิฐเดิมดังที่เห็นในปัจจุบัน ส่วนหลักฐานการเข้าอยู่อาศัยสอดคล้องกับประวัติศาสตร์คือมีชุมชนแรกเริ่มบริเวณวัดชุมพลนิกายารามตั้งแต่สมัยอยุธยา แล้วจึงค่อยขยายการใช้พื้นที่ตั้งวัดบริเวณเกาะลอยในภายหลังคือช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรดำเนินการบูรณะครั้งใหญ่เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพบอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี เมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๙ ตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนาวัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๔๙ ๒ ๒๕๕๓ และบูรณะซ่อมแซมต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน 

เนื้อหาโดย: tonporkung
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
tonporkung's profile


โพสท์โดย: tonporkung
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
25 VOTES (5/5 จาก 5 คน)
VOTED: IOTOKO, cyberboyofusa, Vaishya, มารคัส, ไปเซเว่นเอาอะไรไหม๊
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
7 ลักษณะหน้าตาของจิ๊มิ เรื่องปกติอวัยวะร่างกายกลัวอะไรลิงเหิมเกริมหนัก แม้แต่พระยังโดนผู้สูงอายุ ที่แท้จริง อายุเริ่มต้นที่เท่าไหร่?ซูเปอร์สตาร์ที่ไม่มีงานแสดง แต่เป็นเศรษฐีระดับพันล้านโรงงาน"มดลูกเทียม"แห่งแรกของโลกสเปกหนูรัตน์ ชอบรวย หล่อแบบเกาหลีของใช้ส่วนตัวควรซักหรือเปลี่ยนเมื่อไหร่กันดีประเทศที่นิยมใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุดในโลก
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ประเทศที่นิยมใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุดในโลกหมู่บ้านที่ไม่มีประตูสายตาไม่ปกติแบบนี้ เกณฑ์ทหารจับได้ใบแดง เจ้าหน้าที่บอกว่า ถ้าอยากได้ความเป็นธรรมให้ไปฟ้องเอาหากโลกนี้มีเวทมนต์จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
กระทู้อื่นๆในบอร์ด Review, HowTo, ท่องเที่ยว
แปรงสระผม ซิลิโคน แบบพกพาง่ายสิ่งที่คุณไม่ควรทำเด็ดขาดเมื่อมาท่องเที่ยวประเทศเกาหลีใต้!คนเกาหลีรู้จ้ก และพูดถึงไทยยังไง?เที่ยวอุทยานแห่งชาติสามร้อยยอด กางเต็นท์ริมทะเล หาดสามพระยา
ตั้งกระทู้ใหม่